หมวดอาหารประเภทที่ 4 ผลไม้ ผัก สาหร่าย นัทและ เมล็ด โดย อย.

จากการที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดหมวดอาหารแบ่งเป็น 17 ประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารประเภทที่สี่คือ ผลไม้และผัก (ซึ่งรวมทั้งเห็ดและรา หัวและรากของพืช พืชตระกูลถั่ว ว่านหางจระเข้ สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด) ทั้งชนิดสด และผ่านการแปรรูป

โดยจะแบ่งประเภทและชนิดอาหารดังนี้

  1. ผลไม้
    • ผลไม้สด
      • ผลไม้สด ที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ
      • ผลไม้สด เคลือบหรือปรับสภาพผิว
      • ผลไม้สด ปอกเปลือกหรือตัดแต่ง
    • ผลไม้แปรรูป
      • ผลไม้แช่เยือกแข็ง
      • ผลไม้แห้ง
      • ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ
      • ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง
      • แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด
      • ผลิตภัณฑ์ที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อใช้สำหรับ
        ทาหรือป้าย หรือเป็นวัตถุดิบ
      • ผลไม้แช่อิ่ม เชื่อม หรือเคลือบด้วยน้ำตาล
      • ผลไม้แปรรูปอื่น ซึ่งรวมถึงผลไม้บด น้ำเชื่อมผลไม้ กะทิ
        และมันกะทิ
      • ขนมหวานที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก
      • ผลไม้หมักดอง
      • ไส้ขนมที่ทำจากผลไม้
      • ผลไม้ปรุงสุก
  2. ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด
    • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ชนิดสด
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ชนิดสดที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ชนิดสดที่เคลือบหรือปรับสภาพผิว
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ชนิดสดที่ปอกเปลือกตัดแต่งหรือหั่นฝอย
    • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ชนิดแปรรูป
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด แช่เยือกแข็ง
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ดที่แห้ง
      • ผัก สาหร่ายทะเล ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน น้ำเกลือ หรือซอสถั่วเหลือง
      • ผัก สาหร่ายทะเล ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ด ที่บดละเอียดและสำหรับใช้ทาหรือป้าย
      • ผัก สาหร่ายทะเล นัท และเมล็ดที่บดและเพื่อใช้ประกอบอาหาร
      • ผัก สาหร่ายทะเลดอง
      • ผัก สาหร่ายทะเลปรุงสุกหรือทอด

 

โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น
– ทดสอบยาฆ่าแมลง
– ทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร
– ทดสอบโลหะหนัก เช่น แคดเมียม, ดีบุก, ตะกั่ว เป็นต้น
– ทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ เช่น จำนวนบักเตรี (Total Plate Count), อี.โคไล (Escherichia coli), แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), คลอสทริเดียมเพอรฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens), จำนวนจุลินทรีย์ (Total Plate Count), ยีสต์ (Yeast), รา (Mold) เป็นต้น
– ทดสอบสารให้ความหวาน เช่น Acesulfame Kและ Aspartame
– ทดสอบสารกันเสีย กรดซอร์บิก (Sorbic acid)
– ทดสอบสารฟอกสี ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
– บริการอื่นๆ

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3rPoYGS (2022, February)