หมวดอาหารประเภทที่ 15 ขนมขบเคี้ยว (Ready-to-eat Savouries)

จากการที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดหมวดอาหารแบ่งเป็น 17 ประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารประเภทที่ 15 ขนมขบเคี้ยว (Ready-to-eat Savouries) ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมบริโภคทันที เพื่อรับประทานเล่นระหว่างมื้ออาหารหลักและบริโภคปริมาณที่น้อย กว่าอาหารหลัก โดยมีมันฝรั่ง ธัญชาติ แป้งหรือสตารช์ (จากหัว และรากของพืช) หรือพืชตระกูลถั่ว หรือสัตว์น้ำเป็นองค์ประกอบหลัก ผ่านกระบวนการอบ ทอด หรืออัดพอง (เอ็กซ์ทรูชัน (Extrusion)) และอาจมีการปรุงแต่งกลิ่นรสหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่เป็น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ตามหมวด 07.0 หรือเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ตามหมวด 08.0 หรือสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตาม หมวด 09.0

  1. ขนมขบเคี้ยว
    • ขนมขบเคี้ยวที่มีมันฝรั่ง ธัญชาติ แป้งหรือสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก
    • ขนมขบเคี้ยวที่มี ถั่ว เป็นส่วนประกอบหลัก หรือเมล็ดพืชที่ผ่านกระบวนการแปรรูปและแต่งกลิ่นรส เป็นส่วนประกอบหลัก
    • ขนมขบเคี้ยวที่มีปลาหรือสัตว์น้ำอื่นเป็นส่วนประกอบหลัก
    • อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
    • อาหารมีวัตถุประสงค์เฉพาะทางด้านโภชนาการ
    • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น

  • ทดสอบหาสารปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic arsenic), สารหนูทั้งหมด (Arsenic, total), แคดเมียม (Cadmium), ตะกั่ว (Lead) และปรอททั้งหมด (total mercury)
  • ทดสอบเมลามีน (Melamine) และกรดซัยยานูริก (Cyanuric Acid)
  • ทดสอบหาวัตถุเจือปนอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid), กรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ สีผสมอาหาร ได้แก่ ซันเซตเยลโลว์เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF) และตาร์ตราซีน (Tartrazine) เป็นต้น
  • ทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และคลอสทริเดียม เพอรฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens)
  • ทดสอบหาบักเตรีชนิด อี.โคไล (Escherichia coli)
  • ทดสอบหาวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามิน B ได้แก่ B1 (ไทอะมีน) B2 (ไรโบฟลาวิน), แคลเซียม (Calcium), แมกนีเซียม (Magnesium), ฟอสฟอรัส (Phosphorus), โซเดียม (Sodium) และโพแทสเซียม (Potassium) เป็นต้น
  • จัดทำข้อมูลโภชนาการ เช่น พลังงานทั้งหมด (Total energy), คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate), โปรตีน (Protein) และน้ำตาล (Total sugar) เป็นต้น
  • บริการอื่นๆ

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3rPoYGS (2021, December)