เนื่องด้วยฝ่ายเกษตรประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ได้ออกประกาศการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางด้านอาหารของไทย
ทั้งสิ้น 8 ราย และบัญชีรายชื่อสินค้าและสารตกค้างที่ต้องถูกตรวจสอบสำหรับพืชอาหารส่งออกจากไทยไปยังอินโดนีเซียที่ได้รับการปรับปรุงล่าสุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี โดย AMARC เป็นหนึ่งในเเล็บที่ได้รับการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการกับทางสาธารณรัฐอินโดนีเซียเช่นกัน
AMARC สามารถทดสอบวิเคราะห์สารตกค้างฆ่าแมลง โลหะหนัก และสารพิษจากเชื้อรา จากตัวอย่างพืชอาหาร 13 ประเภท ได้แก่ ข้าว หอมแดง พริกแห้ง ทุเรียน ลำไย ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะม่วง และแคนตาลูป
- สารพิษจากเชื้อรา
- ทดสอบยาฆ่าแมลง
- ทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร
- ทดสอบโลหะหนัก เช่น แคดเมียม, ดีบุก และตะกั่ว เป็นต้น
- ทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ เช่น จำนวนบักเตรี (Total Plate Count), อี.โคไล (Escherichia coli), แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), คลอสทริเดียมเพอรฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens), จำนวนจุลินทรีย์ (Total Plate Count), ยีสต์ (Yeast) และรา (Mold) เป็นต้น
- ทดสอบสารให้ความหวาน เช่น Acesulfame K และAspartame
- ทดสอบสารกันเสีย กรดซอร์บิก (Sorbic acid)
- ทดสอบสารฟอกสี ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
- บริการอื่นๆ
ที่มาข้อมูล https://www.doa.go.th/psco/?p=8183 (2022, April)