ความสำคัญของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ดิน น้ำ ปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกับผลผลิตทางการเกษตร หากเกษตรกรสามารถเลือกพื้นดินและแหล่งน้ำที่เหมาะสม ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและหากเมื่อมีศัตรูพืชมาทำลายผลผลิตจนไม่สามารถจัดการได้ ก็ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืชนั้นและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและผลผลิตสูง ซึ่งหากเป็นในส่วนของการทดสอบน้ำตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 และ 135 ไม่ได้กำหนดให้มีการตรวจหาเชื้อ Clostridium Perfringens อย่างไรก็ตามหากเป็นการตรวจน้ำเพื่อการบริโภค ตามมาตรฐานอุตสากรรม (มอก.) หมายเลข 257 เรื่องน้ำบริโภค จำเป็นต้องมีการตรวจหาเชื้อนี้

โดยการทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำหรับเกษตรกร เป็นการบริหารจัดการเพื่อเลือกใช้และใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นทดสอบคุณภาพน้ำ และดินก่อนการปลูกเพื่อดูความเหมาะสมในการเลือกพืชที่จะปลูกและจัดการปรับปรุงคุณภาพดินที่เกิดจากการเสื่อมคุณภาพที่เกิดจากการปลูกพืชแต่ละชนิดลงไป โดยการเลือกปุ๋ยที่ตรงกับการปรับสภาพฟื้นฟูดินแต่ละที่ให้เหมาะกับพืชที่จะปลูก ซึ่งเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในเวลาเดียวกัน

สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกปุ๋ยขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบการสามารถนำใบรายงานผลการทดสอบไปขออนุญาตขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยกับทางกรมวิชาการเกษตรได้เลย แต่ในส่วนที่สำหรับผู้ประกอบการที่จะผลิต/นำเข้าจำเป็นต้องทดสอบปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและมาตรฐาน

โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น
– ทดสอบวิเคราะห์ปุ๋ย เช่น ทางกายภาพ ได้แก่ ขนาดของปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์, ความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้, ความเป็นกรด-ด่าง
, ปริมาณอินทรีย์วัตถุ เป็นต้น ทดสอบธาตุอาหารหลัก ทดสอบธาตุอาหารรอง และธาตุปนเปื้อน เป็นต้น
– ทดสอบวิเคราะห์วัตถุอันตรายที่ใช้ทางการเกษตร เช่น สารออกฤทธิ์ ได้แก่ HPLC technique, GC Technique, Wet Chemistry Technique และสารอื่นๆ เป็นต้น ทดสอบทางกายภาพ ได้แก่ ปริมาณน้ำเจือปน, ความเป็นกรด, ความเป็นด่าง และค่า pH เป็นต้น
– ทดสอบวิเคราะห์ดิน เช่น ความเป็นกรด-ด่าง, ค่าการนำไฟฟ้า, อินทรีย์วัตถุ, ความชื้น, ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช, ธาตุที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน และสารปนเปื้อนอื่นๆ เป็นต้น
– ทดสอบวิเคราะห์น้ำ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง, การนำไฟฟ้า ด้านเคมี ได้แก่ Nitrogen, Zinc, Copper เป็นต้น ด้านสารปนเปื้อน ได้แก่ โลหะหนัก, Pesticide Residues, สารเคมีกำจัดแมลงOrganophosphate Group และPyrethroid Group เป็นต้น
– ทดสอบวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และสารพิษตกค้างของวัตถุ อันตรายทางการเกษตร เพื่อการขึ้นทะเบียน เช่น ทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และทดสอบสารพิษตกค้างสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
– บริการอื่นๆ

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC
ที่มาข้อมูล: AMARC Laboratory