ไข่ไก่ ปลอดสาร เลือกอย่างไรถูกวิธี

“ไข่ไก่” เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาซื้อง่าย เป็นวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งคาวและหวาน อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูงมากจนจัดได้ว่าโปรตีนจากไข่เป็นโปรตีนในอุดมคติทีเดียว

ไข่มีวิตามินและแร่ธาตุสำคัญหลายอย่าง เช่น สังกะสี ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ ดี อี บี 9 (โฟลิค) และบี12 ไข่แดงยังมีเลซิทินที่ช่วยในการบำรุงสมอง ระบบประสาท และผนังเซลล์ของร่างกาย การกินไข่ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จากที่ไข่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและมีความหนาแน่นของสารอาหารต่าง ๆ สูงมาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก (กินปริมาณน้อย แต่ได้รับสารอาหารครบ น้ำตาลต่ำมาก)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่รับประทานกันมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างซึ่งผู้บริโภคมักจะเลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยมารับประทานไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ออร์แกนิค ผักผลไม้ปลอดสาร เป็นต้น

สำหรับไข่ไก่ก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ผลิตไข่ไก่ต้องควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เข้มยิ่งขึ้น ตั้งแต่ควบคุมกระบวนการผลิตไข่ให้สดสะอาด ปลอดเชื้อโรค ปลอดสารเคมี และปลอดยาปฏิชีวนะ ดังที่จะได้เห็นว่าในปัจจุบันในท้องตลอดมีการจำหน่าย “ไข่ไก่ปลอดสาร” แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า ไข่ไก่ปลอดสารแท้จริงแล้วจะต้องปลอดสาร(พิษ)อะไรบ้าง

hen-egg

ซึ่งหากเราอ้างอิงตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6702-2553 (http://bit.ly/3QkSSx1) เรื่อง ไข่ไก่ นั้นมีการกำหนดควบคุมเรื่อง สารพิษ ไว้เพื่อควบคุมคุณภาพของไข่ไก่ที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค แต่มาตรฐานไข่ไก่ดังกล่าวเป็นเพียงมาตรฐานแบบสมัครใจ ไม่ได้มีผลบังคับใช้ จึงมีเพียงผู้ผลิตไข่ไก่จำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้ทำการตรวจสอบผลผลิตไข่ไก่ของตนว่าได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้กำหนดไว้ ซึ่งหากเข้าไปอ่านรายละเอียดของมาตรฐานดังกล่าว จะสามารถแบ่งสารพิษตกค้างออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1. สารพิษตกค้าง

สารตกค้างในสินค้าเกษตรที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เช่นสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งที่อนุญาตให้ใช้และไม่อนุญาตให้ใช้แล้วแต่ยังพบเจอการปนเปื้อนอยู่ ซึ่งถ้ามีการตรวจพบจะต้องไม่เกินปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดไว้ใน มาตรฐานสินค้าเกษตร 9002-2559 และ 9003-2547 สำหรับ “ไข่ไก่ปลอดสาร” มีกำหนดไว้ทั้งสิ้น 21 ชนิดได้แก่
  • 2,4-D
  • Chlorpyrifos
  • Carbaryl
  • Carbendazim/ benomyl
  • Carbosulfan
  • Carbofuran
  • Cypermethrin
  • Deltamethrin
  • Dicofol
  • Dithiocarbamates
  • Dimethoate
  • Diazinon
  • Paraquat
  • Pirimiphos-methyl
  • Fenitrothion
  • Methidathion
  • Profenofos
  • Methomyl
  • Acephate
  • Abamectin
  • Ethephon

2. สารปนเปื้อน

สารปนเปื้อน สารที่อาจมีการปนเปื้อนเข้ามาในไข่ไก่ได้จากกระบวนการผลิต หากไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง ระมัดระวัง และหากเป็นแบบสัมผัสกับอาหารได้ (Food Grade) ก็อาจจะมีการปนเปื้อนเข้ามาในไข่ไก่ได้ เช่นสารหล่อลื่นของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต โดยในมาตรฐานกำหนดชนิดของสารปนเปื้อนที่ต้องตรวจสอบ ใน “ไข่ไก่ปลอดสาร” คือ ตะกั่ว (Lead) ซึ่งหากปนเปื้อนในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหาร ตะกั่วจะกระจายตัวอยู่ในกระแสเลือด ตับและไต หากมีการสะสมจนถึงระดับอันตราย ก็จะแสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร, อาการทางระบบประสาทส่วนปลาย, อาการทางสมอง (ซึ่งมักพบในเด็ก) และ อาการทางโลหิต

3. ยาสัตว์ตกค้าง

ยาสัตว์ตกค้างที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับมนุษย์ เมื่อแม่ไก่มีอาการเจ็บป่วยในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษา ซึ่งตามหลักการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับ ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ (GAP) แล้วนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัดของสัตวแพทย์ประจำฟาร์มเท่านั้น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางชนิดที่แม่ไก่ใช้ เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในมนุษย์ซึ่งบางชนิดอาจมีการตกค้างอยู่ในไข่ไก่ได้ เมื่อเรารับประทานเข้าไปบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะชนิดนั้นได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้สัตวแพทย์เป็นผู้กำหนดชนิดของยา วิธีการใช้ยา ระยะเวลาการใช้ ระยะเวลาการหยุดยา ให้เหมาะสมกับอาการของโรคและอายุของไก่ไข่ โดยในมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับ ”ไข่ไก่ปลอดสาร” นั้นจะต้องทำการตรวจยาสัตว์ตกค้างทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่
  • Chloramphenical
  •  Nitrofurazone
  •  Nitrofurantoin
  •  Furazolidone
  •  Furaltadone
  •  Malachite green
  •  Chlortetracycline
  •  Oxytetracycline
  •  Tetracycline
  •  Colistin
  • Erythromycin
  • Flubendazole
  • Neomycin
  • Spectinomycin
  • Tylosin

นอกจากสารพิษตกค้างทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว “ไข่ไก่ปลอดสาร” ยังจำเป็นต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อแซลโมเนลลา (Salmonella spp) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีพบการปนเปื้อนบ่อยมากที่สุดในไข่ไก่ โดยแม่ไก่ที่มีเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลลาอาจส่งผ่านเชื้อโรคไปสู่ไข่ไก่ตั้งแต่เปลือกไข่ยังไม่ก่อตัว จึงทำให้การรับประทานไข่ดิบหรือรับประทานอาหารที่มีไข่ดิบเป็นส่วนผสมอาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการติดเชื้อแบคทีเรียที่พิษต่อระบบทางเดินอาหารและเป็นสาเหตุของอาการลำไส้อักเสบชนิดนี้ได้

จะเห็นได้ว่ากว่าไข่ไก่ฟองนึงจะมาเป็น “ไข่ไก่ปลอดสาร” ได้อย่างแท้จริงนั้นจะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยากที่จะบอกได้ว่าไข่ไก่ที่ซื้อมานั้นเป็น “ไข่ไก่ปลอดสาร” จริงหรือแค่คำกล่าวอ้าง ดังนั้นวิธีการสังเกตที่ง่ายที่สุด คือการตรวจสอบว่า “ไข่ไก่ปลอดสาร” ที่ซื้อมานั้น มีแหล่งที่มาอย่างไร เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์หรือไม่ ได้รับการรับรองระบบการผลิตในระดับสากลบ้างหรือไม่

hen-egg2

ในส่วนของผู้บริโภคการเลือกซื้อไข่ไก่ที่ถูกต้อง ช่วยให้ผู้บริโภคได้ไข่ไก่ที่ใหม่และสด โดยสังเกตเปลือกไข่ไก่ภายนอกเงาวาว ไม่สกปรก หรือมีสิ่งปนเปื้อนปนเปลือกไข่ และไม่มีรอยแตกร้าว เพราะจะเป็นสาเหตุให้ไข่ไก่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย แซลโมเนลล่า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ท้องเสีย รวมทั้งเลือกไข่ที่มีน้ำหนักมากกว่าขนาดฟอง เพราะ ไข่ที่ใหม่จะมีความหนาแน่น (มวลต่อปริมาตร) สูงกว่าไข่เก่า กล่าวคือ หากซื้อไข่เบอร์เดียวกัน ก็ให้เลือกไข่ที่มีน้ำหนักมากกว่าก็จะไข่ที่ใหม่กว่า  ผู้บริโภคควรเลือกซื้อไข่ไก่ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ติดสลากที่มีข้อมูลอย่างครบถ้วน มีวันผลิตและวันหมดอายุอย่างชัดเจน มีระบบคิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ด สำหรับใช้ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของไข่ไก่ได้

อย่างไรก็ตาม การบริโภคไข่ไก่ให้ได้ประโยชน์ควรปรุงสุกโดยวิธีการต่าง ๆ หากต้องการทานไข่ดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบให้เลือกจากแหล่งผลิตที่รับรองความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันไทยมีความสามารถที่ผลิตไข่ไก่ให้สะอาดจนปลอดเชื้อโรคและสารตกค้างอย่างที่ได้กล่าวมา ควรซื้อไข่ไก่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้ครั้งละมากๆ เพราะความสดของไข่จะลดลง ไข่ขาวเหลวและมีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงขึ้น จึงควรเก็บรักษาไข่ไว้ในตู้เย็นเพื่อยืดอายุความสดของไข่ไว้

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ไข่ไก่ อ้างอิงมาตรฐานสินค้าเกษตร ไข่ไก่ เลขที่ มกษ.6702-2553

1. สารพิษตกค้าง ที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (Pesticide residue) 

  • Chlorpyrifos
  • Cypermethrin
  • Deltamethrin
  • Pirimiphos-methyl
  • Methidathion
  • Profenofos
  • Aldrin&Dieldrin
  • Chlordane
  • DDT
  • Endrin
  • Heptachlor

1.2 ตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว (Lead) เป็นต้น

1.3 ตรวจวิเคราะห์หายาสัตว์ตกค้างเช่น

  • Chloramphenical
  • Erythromycin
  • Nitrofuran (Parent Drug) มีสาร Nitrofurazone (NFZ), Nitrofurantoin (NFT), Furazolidone (FZD), Furaltadone (FTD)
  • Nitrofurans (Metabolite) มีสาร Semicarbazide (SEM), 1-Aminohydantoin (AHD), 3-Amino-5-Methyl-morpholino-2-oxazolidinone(AMOZ), 3-Amino-2-oxazolidinone (AOZ)
  • Malachite green & Leucomalachite green
  • Tetracycline group (Chlortetracycline / Oxytetracycline/ Tetracycline)

1.4  ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แซลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นต้น

2. บริการตรวจวิเคราะห์ อ้างอิงมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ดังนี้

– ตรวจวิเคราะห์หายาสัตว์ตกค้าง รายการ Sulfonamides group

*หมายเหตุ : เพิ่มเติมรายการจากข้อ 1.3 ตรวจวิเคราะห์หายาสัตว์ตกค้าง

– ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ รายการ จุลินทรีย์ทั้งหมด (Aerobic Plate Count), โคลิฟอร์ม (Coliform), อี.โคไล (Escherichia coli), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), ยีสต์และรา (Yeast & Mold) เป็นต้น

*หมายเหตุ : เพิ่มเติมรายการจากข้อ 1.4 ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์

3. ตรวจวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อมูลโภชนาการ (Nutrition Labelling) เช่น พลังงานทั้งหมด (Total energy), โปรตีน (Protein), ใยอาหาร (Total dietary fiber), คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate), แร่ธาตุ (Mineral), วิตามิน (Vitamin)

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : ©2020 Sanguanfarm
: CPF
: มาตรฐานสินค้าการเกษตรเรื่องไข่ไก่