ทำไมต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือ

เคยลองสังเกตตัวเลขบน ถุงขนม น้ำอัดลม เครื่องชั่งน้ำหนัก เตาอบ หรือตู้เย็น ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมือทั้งหมด อาทิเช่น ถุงขนมที่มีน้ำหนักระบุสุทธิกี่กรัม ซึ่งเกิดจากการสอบเทียบเครื่องมือเพื่อให้ทราบถึงค่าความถูกต้องของเครื่องชั่งน้ำหนัก เพราะฉะนั้นจะสรุปได้ว่า การสอบเทียบเครื่องมือ คือการที่ตรวจสอบเครื่องมือว่า ตรงตามมาตรฐานและค่าไม่มีความคลาดเคลื่อน ตรงกับค่าจริงที่เกิดขึ้น

การสอบเทียบมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็น ตลาดสด โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ อุตสาหกรรมขนาดย่อม โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการขอการรับรองระบบมาตรฐานคุณภาพ ครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมทุกประเภท เนื่องจากการสอบเทียบ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผลการวัดของ เครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเปรียบเสมือนหลักประกันที่ใช้ในการควบคุม คุณภาพในกระบวนการผลิตนั่นเอง ฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้า ระหว่างประเทศ การสอบเทียบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือ

วัตถุประสงค์ของการสอบเทียบ
1. เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องมือวัดนั้นๆว่ายังเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
2.เพื่อให้ทราบค่าผลการวัดที่แท้จริงของเครื่องมือ และนำค่าแก้ (correction) ไปใช้งาน หรือไปประเมินผล
3. เพื่อนำผลการสอบเทียบที่ได้มายืนยันความใช้ได้ของเครื่องมือ
4. เพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือทำเกิดความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งานเครื่องมือวัด

ปัจจุบันการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นกระบวนการหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้สร้างความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่นั้น ยังคงคุณภาพและมาตราฐานถูกต้องแม่นยำ เหมาะสมแก่การใช้งาน ในกระบวนการผลิต เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่โรงงานกำหนด โดยการสอบเทียบเครื่องมือวัด คือการเปรียบเทียบค่าของเครื่องมือวัดตัวนั้นๆ กับค่ามาตราฐานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ หรือมาตรฐานระหว่างชาติได้ โดยการสอบเทียบนั้นห้องปฏิบัติการสอบเทียบจะต้องรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty) ด้วยทุกครั้ง ในปัจจุบันทุกมาตราฐานสากล จะมีข้อกำหนดที่กล่าวถึงการสอบเทียบเครื่องมือวัดอยู่ทั้งสิ้น เช่น ISO 9000, ISO 14000, ISO/TS 16949, มอก.18000 เป็นต้น

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เครื่องมือวัดบอก ระบบการวัด หรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดกับค่าจริงที่ยอมรับร่วมกัน(Conventional True Value) (VIM 6.11)
เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสามารถสอบกลับได้ทางการวัด อีกทั้งยังสามารถรักษาสภาพค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้คงอยู่ และเป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องมือวัดแต่ละชนิด

โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น
– สอบเทียบเครื่องมือวัด สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ อาทิ pH Meter ,
weight E2 , Thermometer และเครื่องวัดความดันเลือด เป็นต้น
– บริการสอบเทียบไปรับเครื่องมือถึงที่ หรือบริการส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอบเทียบถึงที่ ในกรณีที่จำเป็น
– บริการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสอบเทียบ
– บริการอื่นๆ

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC
ที่มาข้อมูล: Mr.Nuttapat Timula (Chemisty Metrology Head, Calibration Laboratory)