เป็นการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างต่อเนื่อง จากเครื่องมือวัดของผู้ใช้งานย้อนกลับไปยังมาตรฐานที่ยอมรับ ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศหรือมาตรฐานแห่งชาติ รวมถึงค่าในแต่ละขั้นตอนของความไม่แน่นอนของการวัดที่สามารถสอบกลับได้ จะต้องคำนวณตามวิธีที่กำหนดและรายงานค่า เพื่อให้สามารถคำนวณความไม่แน่นอนรวมของทุกขั้นตอนได้ นิยามของการสอบกลับได้ตาม International vocabulary of basic and general terms in metrology (VIM) คือ สมบัติของผลการวัด หรือค่าที่เป็นมาตรฐานที่สามารถโยงไปถึงการอ้างอิงในระดับมาตรฐานแห่งชาติหรือสากล โดยมีการเปรียบเทียบที่ไม่ขาดช่วงและเป็นค่าที่มีการระบุความไม่แน่นอนไว้ด้วย
โดยการกำหนดเกณฑ์ของเครื่องมือวัด ส่วนใหญ่มักจะยึดตาม Guide line reference หรือมาตรฐานต่างๆ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ เครื่องมือมาตรฐานใดๆ ก็ตามจะต้องมีความถูกต้อง (Accuracy) ดีกว่าเครื่องมือวัดที่เราต้องการสอบเทียบอย่างน้อย 3 เท่า (1:3) สำหรับงานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบจริงๆ ต้อง 10 เท่า (1:10) หรือกฎ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 10 โดยหลักการนี้อ้างอิงมาจาก ISO 10012-1 หัวข้อที่ 4.3 หรือในปัจจุบัน ก็นำหลักเกณฑ์การตัดสินผลตาม ILAC G-8 : 09/2019 มาพิจารณาในเรื่องเกณฑ์ เช่น ตามกฎหมายกำหนด เช่น มอก หรือ อย. กำหนด หรือมาตรฐานกำหนด เช่น ISO 8655 สามารถเลือกใช่ตามลักษณะของงาน
ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นในการปรับตั้งค่าตามเกณฑ์นั้นๆจะต้องมี จำนวนเครื่องมือ จำนวนจุดสอบเทียบ และเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือนั้นๆ บันทึกลงในใบขอรับบริการ และเป็นการทบทวนคำขอตามระบบคุณภาพ ซึ่งการปรับตั้งค่าให้ผ่านเกณฑ์ หรือให้ตรงตามคุณลักษณะของเครื่องมือ จะต้องแนบเกณฑ์การยอมรับ รวมถึงหากมีคู่มือเครื่องมือจะประเมินจากเครื่องและคู่มือประกอบความเป็นไปได้ในการปรับตั้ง
โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น
– สอบเทียบเครื่องมือวัด สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ อาทิ pH Meter ,
weight E2 , Thermometer และเครื่องวัดความดันเลือด เป็นต้น
– บริการสอบเทียบไปรับเครื่องมือถึงที่ หรือบริการส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอบเทียบถึงที่ ในกรณีที่จำเป็น
– บริการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสอบเทียบ
– บริการอื่นๆ
หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC
ที่มาข้อมูล: Mr.Somchai Neampunt (Manager Calibration Laboratory)