สอบเทียบ Calibrator และ Calibration คืออะไร?

การใช้งานเครื่องมือวัดนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบค่าของเครื่องมือวัดให้แม่นยำและถูกต้องอยู่เสมอ จึงเป็นที่มาของการสอบเทียบเครื่องมือ หากยกตัวอย่างที่เข้าใจโดยง่าย เมื่อพูดถึงการตรวจเช็คสภาพร่างกายของมนุษย์นั้น ว่าอวัยวะต่างๆยังคงทำงานเป็นปกติหรือไม่ หลายท่านคงมีมุมมองเดียวกันคือไปหาหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีเครื่องวัดหรือตรวจว่าร่างกายของเรานั้น ปกติดีหรือพบข้อบกพร่องอะไรบ้าง เช่นเครื่องวัดความดัน เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า เครื่องมือที่ตรวจเรานั้น มีความแม่นยำส่งผลที่ถูกต้องจริงๆ ?

ปัจจุบันการ “สอบเทียบ” เครื่องมือวัด (Calibration) เป็นกระบวนการหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้สร้างความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่นั้น ยังคงคุณภาพและมาตรฐานถูกต้องแม่นยำ

รูปเพื่อบทความ สอบเทียบ

ความหมายของ Calibration

Calibration คือ กระบวนการเปรียบเทียบผลการวัด ระหว่างเครื่องมือของลูกค้า (Unit Under Calibration) กับเครื่องมือมาตรฐาน (Reference Standard) เพื่อหาค่าความถูกต้อง (True Value) หรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อนำไปปรับตั้งเครื่องมือให้อ่านตรงแม่นยำ หรือไปปรับแก้ค่าชดเชยในระบบเพื่อใช้งานต่อไปอาจรวมไปถึงประเมินเครื่องมือก่อนนำไปใช้งานเพื่อให้เครื่องมือวัดนั้นๆใช้งานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ และกระบวนการวัดจะต้องเป็นไปตามวิธีมาตรฐานของเครื่องมือนั้นๆ และผู้ที่ให้บริการสอบเทียบต้องดำเนินการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ในการให้บริการ สรุปกล่าวคือ ก่อนนำเครื่องมือไปใช้งานไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือใหม่ที่พึ่งซื้อมา หรือ เครื่องมือที่ใช้งานมาแล้วก็ตาม ทั้งหมดก่อนการใช้งานควรสอบเทียบก่อนการใช้งาน และควรประเมินผลการจากใบรับรองผลการสอบเทียบ (Certificate of Calibration) ว่าเครื่องมือของเรานั้นผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานหรือไม่ หรือหากต้องปรับตั้งก่อนการใช้งานเพื่อไม่ทำให้ผิดพลาดต่อการใช้เครื่องมือวัดนั้น

นอกจากการสอบเทียบเครื่องมือนั้น ยังมีการสอบทวน และ การสอบกลับ เช่นกัน แต่ละอย่างมีความเกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมืออย่างไร ?

การทวนสอบ ของการ สอบเทียบ

Verification การทวนสอบ เป็นวิธีการยันยันจากผลการสอบเทียบ (Certificate of Calibration) ว่าเครื่องมือมีคุณลักษณะเหมาะสมกับค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้ (Maximum Permissible Error : MPE) ของการใช้งาน ผลการทวนสอบจะไปสู่การตัดสินใจว่า จะยังคงนำมาใช้งาน หรือทำการซ่อมแซม ปรับแต่ง ปรับตั้ง หรือลดเกรด หรือติดป้ายห้ามใช้งาน ทั้งนี้การทวนสอบควรจะทำการบันทึกเป็นเอกสารเก็บไว้

การสอบกลับของเครื่องมือ

การสอบกลับได้ของเครื่องมือ (Traceability) หมายถึง เป็นการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างต่อเนื่อง จากเครื่องมือวัดของผู้ใช้งานย้อนกลับไปยังมาตรฐานที่ยอมรับ (มาตรฐานสากล) หรือมาตรฐานแห่งชาติ (สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการสอบกลับของเครื่องมือเพิ่มเติมได้ที่ https://amarc.co.th/calibrationtraceability/)

ทำไมต้องทำการ สอบเทียบ ?

หลายๆสิ่งมีการเสื่อมสภาพไปตามปัจจัยแวดล้อม เครื่องมือวัดก็เช่นกัน ค่าจากการวัดจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลา อุณหภูมิ ฯลฯ ที่ส่งผลทำให้เครื่องมือวัดเสื่อมสภาพ และทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนไปจากเดิม หากเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะที่เสื่อมสภาพจะทำให้ผลจากการวัดที่มีความน่าเชื่อถือนั้น เกิดความน่าเชื่อถือน้อยลง และส่งผลต่อคุณภาพของกระบวนการผลิตลดลง แล้วอุปกรณ์เกือบทุกอุปกรณ์ต้องทำการสอบเทียบหรือไม่? เครื่องมือที่ใช้วัดค่าต่างๆ ตั้งแต่ของที่เราใช้ในครัวเรือนจนถึงระดับอุตสาหกรรม อย่างเช่น เครื่องชั่งน้ำหนักต่างๆ นาฬิกา จอคอมพิวเตอร์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องมือวัดไซส์แหวน ไขควงวัดไฟ เป็นต้น และหากยกตัวอย่างความสำคัญของการสอบเทียบเครื่องมือ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง หากเครื่องมือวัดไม่มีความแม่นยำ ให้ค่าที่ไม่ถูกต้อง การก่อสร้างจะเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่น หากกล้องวัดมุมให้ค่าระดับดินผิด อาจส่งผลให้อาคารเอียง เป็นต้น เราจึงจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัดเพื่อให้รู้ว่ามันยังคงใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ทำให้การสอบเทียบเครื่องมือเกิดความสำคัญอย่างมาก

รูปเพื่อบทความ สอบเทียบ

สอบเทียบ ISO/IEC 17025 คืออะไร

ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและปฏิบัติการสอบเทียบที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน สาขาอิเล็กทรอนิกส์ IEC (International Electrotechnical Commission) โดยมาตรฐานนี้ ดูแลและครอบคลุมไปถึงระบบบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการ เช่น ข้อกำหนดด้านบริหาร ข้อกำหนดด้านวิชาการ รวมถึงปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการดำเนินการสอบเทียบ ทำให้เครื่องมือวัดที่ได้รับการสอบเทียบด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จะเป็นไปตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาดสินค้าของนานาชาติ ทำให้ผู้ผลิตที่ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศที่มีใบรับรองผลการทดสอบนี้ ไม่ต้องทำการทดสอบสินค้าซ้ำอีกในประเทศคู่ค้า ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากส่วนนี้ด้วย โดยการได้รับประโยชน์ อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยลดข้อเสียเปรียบในการขายสินค้า และ เพิ่มความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หรือรวมถึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการซื้อขายในระบบของราชการ,ทางภาครัฐ หรือ งานที่ต้องการการเทียบสเปคสินค้าได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ความหมายของ Calibrator

Calibrator คือ เครื่องมือสอบเทียบที่ทำหน้าที่ เปรียบเทียบผลการวัดกับเครื่องมือของลูกค้า (UUC) หรือ อีกชื่อเรียกว่า Reference Standard มาตรฐานอ้างอิง และต้องผ่านการสอบเทียบก่อนการใช้งาน และการสอบเทียบต้องสามารถสอบย้อนกลับไปยังหน่วยงานระดับประเทศ (National) หรือ ระดับมาตรฐานสากล (International) ได้โดยไม่ขาดช่วง

หากพูดให้เข้าใจโดยง่ายคือ การเปรียบเทียบค่าที่ได้จาก “เครื่องมือ กับ ค่ามาตรฐาน” เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดที่จะนำไปใช้งานหรือใช้งานอยู่แล้วมีค่าที่แม่นยำและเชื่อถือได้จริงๆ โดยการสอบเทียบจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้และค่าของเครื่องมาตรฐานจากห้องแล็บ ซึ่งในประเทศไทยมีการสอบเทียบทั้งแบบที่ได้การรับรองมาตรฐานสากล

รูปเพื่อบทความ สอบเทียบ

แล้วเครื่องมือที่ไว้ใช้สอบเทียบ (Calibrator) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เครื่องมือสอบเทียบนี้จะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับเครื่องมือตามการนำไปใช้งาน เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม จะมีกระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่ายความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ แต่เมื่อมีการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งค่าความคลาดเคลื่อนในการวัด การทำงานก็จะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้น การสอบเทียบจึงเป็นวิธีการที่สำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่งานวัดได้

ความคลาดเคลื่อน (Error) หรือ Static error หรือเรียก ความไม่แน่นอนในการวัด คือ ผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้กับค่าที่แท้จริง โดยทั่วไปแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ถ้าค่าที่วัดได้ใกล้เคียงกับค่าจริงมากแสดงว่าการวัดนั้นมีความแม่นยำหรือความถูกต้อง (Accuracy) สูง โดยการวัดทุกครั้งมักมีค่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ การเข้าใจถึงสาเหตุจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนให้น้อยลงได้ โดยความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่แน่นอน (Uncertainty)

สรุปการ “สอบเทียบ”

Calibration นั้นหมายถึง กระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด และ Calibrator คือ เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการสอบเทียบ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการปรับค่าของเครื่องมือให้ได้ตามค่ามาตรฐาน เพื่อการใช้งานอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ โดยเฉพาะในกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับการวัดค่าต่างๆที่ต้องการความแม่นยำสูงและถูกต้อง เช่น งานวิศวกรรม อุตสาหกรรมต่างๆ งานวิจัยในห้องแล็บ เครื่องมือแพทย์ ร้านทองหรือ จิวเวลรี่ งานกราฟฟิกคอมพิวเตอร์ หรือการขายสินค้าที่ต้องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทยนั้น โดยส่วนใหญ่ใบ Certificate ของสินค้านั้นๆ อาจเป็นเพียงเอกสารยืนยันว่าเครื่องได้ผ่านการตรวจสอบจากทางโรงงาน (QC หรือ Testing) เท่านั้น ฉะนั้นควรนำเครื่องมาสอบเทียบ (Calibration) เพื่อรับเอกสารคาลิเบรทจากห้องแล็บหรือห้องปฏิบัติการสอบเทียบอีกครั้ง หรือควรสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเครื่องหรือสินค้านั้นให้ชัดเจนเรื่องเอกสาร การสอบเทียบเครื่องมือ

รูปเพื่อบทความ สอบเทียบ

AMARC ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ ดังนี้

1. มาตรวิทยาอุณหภูมิและความชื้น2. มาตรวิทยาเคมีและปริมาตร 3. มาตรวิทยาทางมวล4. เครื่องมือแพทย์

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : Omega Engineering
: earnmech
: Coolcal
: Aballtechno
: Woravith Chansuvarn, Ph.D.
: สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม