กระแสการดูแลรักสุขภาพของคนไทย ส่งผลให้ตลาด “สมุนไพร” ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมยาเติบโตขึ้น พุ่งสูงขึ้นเป็น 20,000 ล้านบาท ภายในปี 2563 และ “ขมิ้นชัน” เป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพในด้านการดูแลสุขภาพรวมถึงสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์อีกด้วย
“ขมิ้นชัน” (Turmeric) คือ หนึ่งในกลุ่มสมุนไพร Product Champion ของไทยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะความต้องการเพื่อใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์ ซึ่งเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากขมิ้นชันในรูปแบบออร์แกนิค หรือสารสกัดที่ได้มาตรฐานรับรองด้านความปลอดภัย โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ กลุ่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเสริม ยา และโรงพยาบาล นอกเหนือจากเดิมที่นิยมใช้ในธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง
“ขมิ้นชัน” สมุนไพรในระดับตำนานที่มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี และได้รับการขนานนามว่าเป็น “Wonder of drugs” เพราะมีสารเคอร์คิวมินเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีผลงานวิจัยทั้งแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกในการรักษาได้หลายโรค การศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ รวมไปถึงมีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน ปัจจุบันในตำราสมุนไพรจากต่างประเทศได้ให้การยอมรับว่า “ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืด และสารเคอร์คูมิน (Curcumin) เป็นสารที่มีศักยภาพในการต้านไวรัส รวมถึงไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก และนักวิจัยประเทศอินโดนีเซีย พบว่า สารเคอร์คูมิน ในขมิ้นชัน มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรติเอส (Protease enzyme) ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ได้
ซึ่งมีงานวิจัยจากทางแพทย์จุฬาฯ ร่วมกับกรมแพทย์แผนไทย และแพทย์ระบบทางเดินอาหารจากโรงเรียนแพทย์ในประเทศ วิจัยพิสูจน์ ยาขมิ้นชันไทยช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ายาลดกรด เตรียมต่อยอดงานวิจัย หนุนขมิ้นชันไทยสู่ตลาดโลก โดยองศาสตราจารย์ ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการแพทย์บูรณาการเชิงป้องกัน Center of Excellence in Preventive & Integrative Medicine (CE-PIM) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงออกแบบงานวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันไทย เมื่อเทียบกับยาลดกรดแผนปัจจุบันโดยร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก ทีมนักวิจัยที่เป็นแพทย์ระบบทางเดินอาหารจากโรงเรียนแพทย์หลายแห่งในประเทศ และองค์การเภสัชกรรมที่สนับสนุนแคปซูลขมิ้นชันสำหรับใช้ในงานวิจัย
ยาขมิ้นชันไทยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เทียบเท่ายาลดกรดแผนปัจจุบัน
รศ.ดร.กฤษณ์ เริ่มการศึกษาวิจัยทางคลินิกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 โดยมีอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร (ระยะเริ่มต้น) และผ่านการตรวจแล้วว่าไม่ติดเชื้อเอชไพโลไร เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 151 ราย ทั้งนี้ งานวิจัยแบ่งอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่รับประทานขมิ้นชัน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (แบ่งทาน 4 เวลา) เพียงอย่างเดียว
2. กลุ่มที่รับประทานยาลดกรด Omeprazole ขนาด 20 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับยาหลอก และ
3. กลุ่มที่รับประทาน ทั้งขมิ้นชันขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และยา Omeprazole 20 มิลลิกรัมต่อวัน
การวัดผลการรักษาด้วย Severity of Dyspepsia Assessment (SODA) ที่ 28 วัน และ 56 วัน พบว่า อาสาสมัครทั้งสามกลุ่มมีอาการต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างชัดเจนทั้งวันที่ 28 และวันที่ 56
“ผลการวิจัยสรุปได้ว่ายาขมิ้นชันขององค์การเภสัชกรรมและยาลดกรด Omeprazole ให้ผลในการรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ไม่แตกต่างกัน และการใช้ยาทั้งสองอย่างร่วมกัน ไม่ได้มีประโยชน์ในการรักษาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด”
ผลการรักษาอาจจะทัดเทียมกัน แต่ผลข้างเคียงนั้น ยาขมิ้นชันไทยมีน้อยกว่า รศ.ดร.กฤษณ์ กล่าว
“เรายังไม่พบรายงานผลข้างเคียงรุนแรงจากการรับประทานขมิ้นชันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากคนไข้ที่่ได้รับยาลดกรด Omeprazole ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นคือกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้แบคทีเรียไม่ดีเดินทางไปถึงลำไส้ และทำให้การดูดซึมสารอาหารบางอย่างผิดปกติไป”
ผลพิสูจน์ “ยาขมิ้นชัน” ขององค์การเภสัชกรรม นอกจากจะเห็นประโยชน์ในทางการรักษาที่ทัดเทียมแต่ผลข้างเคียงที่น้อยกว่าแล้ว รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ กล่าวถึงข้อดีอื่น ๆ ของยาขมิ้นชันว่า “ยาขมิ้นชันราคาถูกกว่ายาฝรั่ง หาซื้อได้ง่าย ทานยาขมิ้นชันตัวเดียวสามารถรักษาได้หลายอาการ และปริมาณยาที่ทานแต่ละครั้งก็ไม่สูงเกินไป ในขณะที่เมื่อทานยาฝรั่ง (แผนปัจจุบัน) อาจต้องทานยาหลายตัว รักษาแยกอาการ เช่น ยาลดกรด ยาลดแก๊ส เป็นต้น”
บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย (AMARC) สามารถทดสอบ วิเคราะห์ สาร Curcuminoids ในขมิ้นชันชนิดแคปซูล, Andrographolide ในฟ้าทะลายโจร รวมทั้งสารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น ตามมาตรฐาน Thai Herbal Pharmacopeia 2020 และยังมีปริการทดสอบ วิเคราะห์ด้านอื่นๆ เช่น ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร สมุนไพร เครื่องสำอาง ผลิตภัณท์เสริมอาหาร และอาหารเสริม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่: AMARC
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/abhaiherb55/photos/a.285212785324152/1204454483399973/?type=3 (2021, October)
: https://www.chula.ac.th/highlight/152043/