ทำความรู้จักสัญลักษณ์น่ารู้บน ฉลากน้ำดื่ม

ข้อมูลบน “ฉลากน้ำดื่ม” สำคัญอย่างไร มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

หากเราเคยสังเกต บางครั้งเราเดินผ่านร้านอาหารแล้วเกิดความรู้สึกว่าร้านนี้ดูน่าทาน ดูสะอาด พนักงานแต่งตัวเรียบร้อย หรือหากเราเดินผ่านร้านอาหารบางร้านแล้วรู้สึกว่าไม่กล้าทานเพราะดูไม่สะอาด ไม่ว่าจะความรู้สึกไหนที่เกิดขึ้นก็ตาม นั่นเพราะเราได้มีโอกาสได้เห็นสภาพแวดล้อมทั้งหมดของร้านที่เราได้เข้าไป แต่ถ้าหากเรามามองที่ความสะอาดน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราแทบไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าโรงงานผู้ผลิตแต่ละรายนั้น มีการควบคุมสภาพแวดล้อมการผลิตในโรงงานอย่างไร แล้วถ้าหากมี ‘ฉลากน้ำดื่ม’ ช่วยให้เรารู้อะไรบ้าง?

ขวดและฉลากน้ำดื่ม

แล้วอะไรเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า สิ่งที่เรากำลังบริโภคนั้น ปลอดภัย?

ปัจจุบันนี้น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เช่น น้ำดื่มบรรจุแก้ว น้ำดื่มบรรจุขวด และน้ำดื่มบรรจุถัง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากกรรมวิธีในการได้ทานที่ไม่ยุ่งยาก ปลอดภัย (เนื่องจากเรายังดื่มน้ำประปาทั่วไปไม่ได้ อ่านบทความต่อได้ที่ https://amarc.co.th/amarc-article-tap-water/) ทำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างความโดดเด่นและสื่อสารแบรนด์สำหรับผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ เช่น ร้านอาหาร, โรงแรม, โรงพยาบาล,โรงเรียน, ห้างสรรพสินค้า, ศูนย์อาหารหรือสถานีบริการน้ำมันและแก๊สร้านค้าอื่นๆ จะนิยมสั่งผลิตน้ำดื่มที่ติดฉลากเป็นชื่อร้านของตนเองไปใช้ภายในองค์กร ยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง การสร้างจุดเด่นแก่สินค้าและบริการจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้มาเยือน และทำให้ธุรกิจการผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ฉลากน้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการแสดงข้อมูลที่ช่วยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค และเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งหรือเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า ซึ่ง น้ำดื่ม ที่วางขายทุกวันนี้จัดเป็น “อาหารควบคุมเฉพาะ” ต้องแสดงเลข อย. บนฉลากของผลิตภัณฑ์ มีการควบคุมมาตฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยต้องขออนุญาตผลิต และขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ส่วนการควบคุมมาตรฐานสถานที่ผลิตจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220) พ.ศ. 2544 เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา ทั้งนี้เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็น มีกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง มีการควบคุมสุขอนามัยโดยการแสดงฉลากน้ำดื่มนั้นจะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 256 (พ.ศ.2545) เรื่องการแสดงฉลาก ซึ่งข้อมูลบนฉลากบรรจุน้ำดื่มจะต้องระบุข้อความต่างๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

รูปภาพ ฉลากน้ำดื่ม

ทำความรู้จัก สัญลักษณ์น่ารู้บน “ฉลากน้ำดื่ม”

ในปัจจุบันมีโรงงานผู้ผลิตน้ำดื่มเกิดขึ้นมากมาย แต่ละโรงงานก็มีมาตรการควบคุมการผลิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับนโยบายและประสบการณ์ผู้บริหาร แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของโรงงานก็คือ มาตรฐานรับรองการผลิตต่างๆที่ถูกกำกับโดยหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เชื่อถือได้อีกทอดหนึ่ง ซึ่งมักแสดงด้วยสัญลักษณ์หลายแบบบนฉลากขวดน้ำดื่ม โดยบทความนี้เรามาแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับมาตรฐานและสัญลักษณ์ต่างๆบนฉลากขวดน้ำดื่มสัญลักษณ์บนฉลากน้ำดื่ม1. สัญลักษณ์และหมายเลข อย.

เป็นสัญลักษณ์ที่เราน่าจะคุ้นชินมากที่สุด คือสัญลักษณ์และหมายเลข อย. บนขวดน้ำดื่ม เป็นสัญลักษณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศไทยออกให้ว่าเป็นน้ำดื่มที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องและยังคงดำเนินกิจการอยู่ (ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย.) ผู้ผลิตยังผ่านการพิจารณาด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ควบคุมการผลิตตามหลักเกณฑ์สาธารณสุข (GMP) มีความสะอาด ปราศจากเชื้อก่อโรค และสารปนเปื้อน เช่น โลหะหนัก รวมถึงปลอดภัยจากการเลือกใช้ประเภทพลาสติกที่เหมาะสมสำหรับบรรจุน้ำดื่มด้วย 

2. GMP Codex

GMP Codex นั่นมาจากหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ โดยนักวิชาการอาหารมักเรียกอย่างง่ายว่า GMP* ซึ่งย่อมาจาก Good Manufacturing Practice เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกว่าสถานที่ผลิตน้ำดื่มได้ทำตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่ผู้ผลิตน้ำดื่มและอาหารต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถผลิตน้ำดื่มได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยหลักการ GMP จะเน้นไปทางด้านควบคุมสภาพแวดล้อมของสถานที่ผลิต ได้แก่ การควบคุมตั้งแต่สุขลักษณะของโครงสร้างอาคารผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตมีความสะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นพิษหรือเกิดสนิมซึ่งอาจเจือปนในน้ำดื่มได้ มีการควบคุมวัตถุดิบและวิธีการผลิตทุกขั้นตอนที่ถูกสุขลักษณะ มีสุขาภิบาลที่ดี รวมถึงต้องมีวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ดี มีระบบตรวจสอบติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงบุคลากรต้องมีสุขภาพดีและสวมอุปกรณ์ป้องกันการปนเปื้อนสู่น้ำดื่มด้วย จะเห็นได้ว่าน้ำดื่มที่สะอาดนั้น ไม่ได้เกิดจากระบบกรองน้ำที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่การควบคุมสภาพแวดล้อมการผลิตให้สะอาดนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นโรงงานผลิตน้ำดื่มที่ผ่านการรับรองระบบ GMP จะช่วยยืนยันได้ว่าน้ำดื่มที่ผลิตออกมา มีขั้นตอนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคน้ำดื่มมากขึ้น

3. HACCP

มาตรฐาน HACCP นั้นย่อมาจาก Hazards Analysis and Critical Control Points ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล โดยเน้นถึงการวิเคราะห์จุดเสี่ยงในกระบวนการผลิตน้ำดื่มและมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับ โดยจะครอบคลุมอันตรายทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ เช่น เชื้อจุลินทรีย์ อันตรายจากสารเคมี เช่น สารทำความสะอาดอุปกรณ์ในโรงงาน และอันตรายทางกายภาพ เช่น เศษพลาสติก เศษโลหะ ที่อาจเจือปนมาในน้ำดื่มได้ ดังนั้นมาตรฐาน HACCP นั้นค่อนข้างเข้มงวดขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง อีกทั้งการนำสัญลักษณ์มาใส่โดยที่ไม่มีหน่วยงานรับรองจริงนั้นถือว่าโฆษณาเกินจริงและผิดกฏหมาย หน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐาน HACCP น้ำดื่มนั้นจะต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองทั้งของสาธารณสุขในไทยและหน่วยงานสากลระหว่างประเทศ จึงทำให้เรามั่นใจได้ว่าสัญลักษณ์ HACCP บนน้ำที่เราดื่มนั้นผลิตจากโรงงานผลิตน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานปราศจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆและปลอดภัยในการบริโภค

4. ฮาลาล (Halal)

มาตรฐาน HALAL เป็นมาตรฐานที่กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าโรงงานผลิตน้ำดื่มที่ได้รับการรับรองนั้น ได้ทำการผลิตน้ำดื่มภายใต้ข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ควบคุมบุคคลและวัตถุดิบต่างๆในกระบวนการผลิตให้อยู่ในข้อบัญญัติ อีกทั้งมาตรฐาน HALAL ยังสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน HACCP ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้บริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดเท่านั้นที่จะสบายใจเมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้ แต่ผู้ที่กำลังมองหาโรงงานผลิตน้ำดื่ม OEM หรือน้ำดื่มติดแบรนด์ที่ได้มาตรฐานก็สามารถมั่นใจในคุณภาพโรงงานผลิตน้ำดื่มว่ามีคุณภาพดีเช่นกัน
รูปภาพ ฉลากน้ำดื่ม

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ผู้ผลิตน้ำดื่มทุกรายจะต้องผ่านหลักเกณท์การผลิตของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นพื้นฐานบังคับตามกฏหมาย (GMP อย. หรือ GMP กฏหมาย) ในขณะที่ผู้ผลิตอีกหลายรายมีกลุ่มฐานลูกค้าเป็นองค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ก็พัฒนาการผลิตให้รองรับมาตรฐาน GMP Codex และ HACCP ที่มีความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นเพื่อรองรับลูกค้า บางผู้ผลิตก็พัฒนามาตรฐาน HALAL เข้ามาเพื่อให้ตอบรับกลุ่มลูกค้าที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะได้ฐานลูกค้าที่ครอบคลุมมากกว่าเดิม ซึ่งผู้ผลิตน้ำดื่มที่มีตราสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆเหล่านี้ มีความตั้งใจในการผลิตน้ำดื่มคุณภาพเพื่อให้ผู้บริโภคทุกคนได้ดื่มน้ำอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตควรใส่ใจการผลิตน้ำดื่มคุณภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อน้ำดื่มที่ดี ในส่วนของผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อมูลการรับรองการผลิตน้ำที่เราต้องการบริโภค เพื่อมั่นใจว่าปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อตัวเราเอง

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่ม อ้างอิงมาตรฐานดังนี้

บริการตรวจวิเคราะห์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฉบับที่ 61 และ 135

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฉบับที่ 61 และ 135

บริการตรวจวิเคราะห์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ ฉบับที่ 199 พ.ศ. 2543

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ ฉบับที่ 199 พ.ศ. 2543

 

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : http://bit.ly/3IZplal
: http://bit.ly/3ZJTikS