เอมาร์ค

Methyl mercury บทเรียนสารเคมี ที่เป็นข่าวระดับโลก

สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก ได้ชื่อมาจาก โรคมินามาตะ ซึ่งมาจาก อ่าวมินามาตะ ตั้งอยู่บนเกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีอ่าวมินามาตะเป็นส่วนหนึ่งของทะเลชิรานุย (Shiranui Sea) โดยสารเคมีที่ว่าเป็นข่าวระดับโลกนี้ ทำให้โลกตะหนักและเริ่มใส่ใจเรื่องสารเคมีในแง่สภาพแวดล้อมมากขึ้น   ย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษ 1908 โดยเริ่มต้นที่โรงงาน Chisso ซึ่งเปิดทำการผลิตปุ๋ย ต่อมาขยายเป็นอุตสาหกรรมเคมีผลิต acetate, acetaldehyde, acetic acid, vinyl chloride ฯลฯ ในกระบวนการผลิต acetaldehyde มีการใช้ mercuric sulfate เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาข้างเคียงที่เกิดขึ้นไปทำให้เกิด methyl mercury ซึ่งเป็นสารพิษไปอยู่ในน้ำทิ้งที่ระบายสู่ทะเล สำหรับ สารปรอท (Methyl mercury) หรือ methyl-mercury อ่านว่า (เมธ-ธิล-′เมอ-ร-คิวรี่) เมทิลเมอร์คิวรี่ หรือ ปรอทเมทิล ซึ่งคือสารเคมีที่เป็นพิษเกิดจากสารอินทรีย์เช่นแบคทีเรียทำปฏิกิริยากับสารปรอทในน้ำ ในดิน หรือในพืช ในความหมายโดยทางวิทยาศาสตร์ methyl mercury คือ ปรอทเจือปนสารอินทรีย์ มีสูตรทางเคมีว่า […]

ผลิตภัณฑ์ ช็อกโกแลต กับเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

ช็อกโกแลต คือ อาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่ทำมาจากโกโก้ ซึ่งเป็นผลของพืชชนิดหนึ่งที่มีรสขม การผลิตช็อกโกแลตทำได้โดยนำผลโกโก้มาบดด้วยเครื่องปั่นจนกลายเป็นผง จากนั้นจึงนำผงโกโก้ที่ได้มาผสมกับวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อแต่งเติมกลิ่นและรสโดยเฉพาะรสหวาน เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน โดยการผลิตช็อกโกแลตออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เป็นส่วนหนึ่งของอาหาร ขนม เครื่องดื่ม หรือแม้แต่การแต่งกลิ่นน้ำหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ   ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ โกโก้เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (Cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำโกโก้เป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายาและชาวแอซเทคแห่งอารยธรรมเมโสอเมริกาคนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อนนอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากทั้งโลกได้รู้จักต้นคาเคา (Cacao) แล้ว นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ลินนีอุส ผู้ตั้งชื่อและจัดระเบียบ พีชพันธุ์ต่างๆ ในโลก ได้ตั้งชื่อโกโก้ (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตช็อกโกแลต) ว่า “เทโอโบรมา คะคาโอ” (Theobroma cacao) คำว่า เทโอโบรมานั้น เป็นภาษากรีก แปลว่า “อาหารแห่งเทพ” สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทางคือ ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า “ช็อกโกลัจ” ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง […]

แชมพู “เรื่องใกล้ตัวที่ต้องดูดีๆ”

แชมพู เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อชำระล้างน้ำมันและสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ แชมพูมีหลายชนิด หลายประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตามสภาพผมของแต่ละบุคคล แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า แชมพูที่เราใช้หรือกำลังจะซื้อนั้น ปลอดภัยต่อหนังศีรษะ แชมพู หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะ ในปัจจุบันพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์บริเวณหนังศีรษะเมื่อใช้แชมพูสระผม แชมพูที่มีคุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐาน มักจะผสมกับเจลอาบน้ำ โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน ในปริมาณมาก สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกใช้แชมพู คือ ต้องทำความสะอาดเส้นผมได้อย่างอ่อนโยน และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และถูกรับรองตามมาตรฐาน การสระผมเป็นสิ่งที่เราต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4–5 ครั้ง (ตามแต่ละบุคคล) เพื่อความสะอาดของหนังศีรษะและเส้นผม ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แชมพูมากมายในท้องตลาดที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพเส้นผมตามความต้องการแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น แชมพูเคราติน, แชมพูเพื่อผมทำสี, แชมพูออร์แกนิก, แชมพูขจัดรังแคโดยเฉพาะ, แชมพูเพื่อผมขาดหลุดร่วง,แชมพูสำหรับผู้มีผมมัน รวมไปถึงครีมนวดผม เซรั่มบำรุงผมและทรีตเมนต์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อบำรุงผมและดูแลหนังศีรษะโดยเฉพาะ แต่เมื่อทำการสระผม เราอาจมีความเชื่อหรือความคิด ว่า’การทำความสะอาดก็ต้องมีฟองเยอะๆ’ เพราะโดยหลักการทั่วไป เมื่อฟองยิ่งเยอะ ยิ่งแปลว่าสะอาด แต่ฟองที่เราเห็นนั้นอาจทำอันตรายมากกว่าที่เราคิด เพราะแชมพูส่วนใหญ่จะมีสารอย่าง “ซัลเฟต (sulfate)” และมีสารกันเสียผสมด้วย ซัลเฟต คืออะไร? ซัลเฟตพบได้ในอุปกรณ์เสริมความงามเกือบทั้งหมดสำหรับเส้นผม โดยซัลเฟตเป็นสารลดแรงตึงผิวที่ดึงดูดน้ำและน้ำมัน โดยทั่วไปเป็นองค์ประกอบที่รับผิดชอบในการสร้างฟองในแชมพูและสบู่ องค์ประกอบเหล่านี้สามารถเข้าไปจับเข้ากับความสกปรกแล้วล้างออกได้  สารซัลเฟตเป็นสารที่ช่วยให้เกิดฟองมาก แต่สารนี้เป็นอันตรายต่อเส้นผม หนังศีรษะ และดวงตา […]