Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Nitrofurans คืออะไร? ทำความรู้จัก Nitrofurans

ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) เป็นสารที่มีอำนาจยับยั้งหรือทำลายชีวิตของจุลินทรีย์ ดังนั้นจึงมีการนำมาใช้รักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียทั้งในคนและในสัตว์ แต่พบว่ามีการนำยาปฏิชีวนะไปผสมในอาหารสัตว์เพื่อกระตุ้นการเติบโตในสัตว์สำหรับบริโภค ซึ่งยาปฏิชีวนะเข้าไปในร่างกายของสัตว์ติดต่อเป็นประจำ อาจเกิดการสะสมและตกค้างอยู่ในตัวสัตว์

Nitrofurans AMARC

เมื่อนำสัตว์ไปแปรรูปเป็นเนื้อสัตว์ สารตกค้างจากยาปฏิชีวนะบางกลุ่มเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภคที่บริโภคเนื้อสัตว์ดังกล่าว ดังนั้น จึงมีการประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มในสัตว์ที่จะนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ โดยสหภาพยุโรป (European Union, EU) ได้ออกกฎหมายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา (Diblikova et al., 2005) และห้ามให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีการตกค้างของสารปฏิชีวนะบางชนิด นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดขีดจำกัดปริมาณสารตกค้างสูงสุด (maximum residue limits, MRLs) ของสารหลายชนิดไว้ด้วย ในกรณีของยาปฏิชีวนะที่กำหนดห้ามให้มีสารตกค้าง (zero tolerance) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นั้นก็ได้มีการกำหนดปริมาณต่ำสุดของสารตกค้างที่วิธีการตรวจวัดต้องสามารถตรวจสอบได้ (minimum required performance limit, MRPL) ในปัจจุบันได้มีการประกาศห้ามใช้ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตามก็ยังมีรายงานการตรวจพบยาปฏิชีวนะต้องห้ามตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ

Nitrofurans (ไนโตรฟูแรน) คืออะไร?

เป็นยาปฏิชีวนะสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยวงแหวนฟูแรนเกาะด้วยไนโตรกรุ๊ป (5-nitrofuraldehyde) มีลักษณะเป็นผงสีเหลือง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายในน้ำได้เล็กน้อย ซึ่งออกฤทธิ์ขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ยาในกลุ่มที่มีความสําคัญและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ Furazolidone, Furaltadone, Nitrofurazone และ Nitrofurantoin เป็นต้น โดยนิยมใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อภายในลำไส้และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของสัตว์จำพวก แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ และกุ้ง เป็นต้น

การออกฤทธิ์ ของ Nitrofurans

ยาไนโตรฟูแรนมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะรบกวนการทำงานของเอนไซม์ในแบคทีเรีย และเชื้อโปรโตซัว/สัตว์เซลล์เดียวที่ก่อโรค นอกจากนี้ยังรบกวนการจำลองสารพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA ในกลุ่มเชื้อโรคดังกล่าว ส่งผลให้แบคทีเรียและโปรโตซัวไม่สามารถเจริญเติบโต หยุดการแพร่พันธุ์และตายลงในที่สุด

Nitrofurans AMARC Nitrofurans AMARC

อันตรายของสาร Nitrofurans (ไนโตรฟูแรน)

ผลการศึกษาพบว่าสารกลุ่มนี้เป็นสารอัตรายมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็ง มีอาการแพ้บริเวณผิวหนังภูมิคุ้มกันเสื่อม คลื่นไส้อาเจียนและทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ จึงจัดสารกลุ่มนี้เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) และหลายประเทศห้ามใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร (positive list system)

ในอดีตสารกลุ่ม Nitrofurans ถูกใช้อย่างกว้างขวางทั้งในการทําปศุสัตว์ เกษตรกรรม และสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง เนื่องจากการคํานึงถึงอันตรายจากสารตกค้างในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ และสัตว์น้ำยังอยู่ในระดับตํ่า โดยเกษตรกรนําสารดังกล่าวใช้ผสมลงในอาหารสัตว์ หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้สัตว์กินเพื่อเป็นการป้องกัน และรักษาโรคในสัตว์

สารกลุ่มไนโตรฟูแรนเป็นสารที่มีราคาถูกและประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับยากลุ่มอื่นๆ จึงเป็นสารที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในปศุสัตว์ มีการใช้สารกลุ่มไนโตรฟูแรนรักษาโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือช่องคลอด และโรคติดต่อทางผิวหนังใน สุกร แกะ แพะ โค กระบือ ไก่ ใช้อนุพันธุ์ในกลุ่มไนไนโตรฟูแรนเพื่อรักษา และป้องกันโรคติดเชื้อในสัตว์สําหรับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงต่างๆ

การตกค้างของสารไนโตรฟูแรน

การตกค้างของสารไนโตรฟูแรนส่วนมากจะตกค้างรูปแบบที่ผ่านการ metabolites เนื่องจากสารในกลุ่มไนโตรฟูแรนจะถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็วในสัตว์กลายเป็น metabolites เช่น 3-amino-2-oxazolididone (AOZ) , 3-amino-5-morpholinomethyl-2-oxazolidinone (AMOZ) , 1-aminohydantoin (AHD) และ semicarbazide (SEM) และ Nifursol (DNSH) ซึ่งจะมีความคงตัวกว่า parent drugs ทนความร้อนได้ดี และสามารถตกค้างในเนื้อเยื่อของสัตว์ได้นานหลายสัปดาห์ โดยอาหารที่พบการตกค้างของสารไนโตรฟูแรนปริมาณมากและพบบ่อย ได้แก่ กุ้ง ไก่ ปลา เจลลี่ น้ำผึ้ง นมดิบ นมแปรรูป แม้บางชนิดจะพบในปริมาณต่ำ

Nitrofurans AMARC

มาตรฐานของสารกลุ่มไนโตรฟูแรน

เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารอันตรายจึงถูกห้ามใช้ในหลายประเทศซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรป ห้ามพบ metabolite ของสารกลุ่มนี้ 5 ชนิด คือ 3-amino-2-oxazolididone (AOZ), 3-amino-5-morpholinomethyl-2-oxazolidinone (AMOZ), 1-aminohydantoin (AHD) และ semicarbazide (SEM) และ Nifursol (DNSH) และได้ปรับลดค่า MRPL จาก 1 µg/kg เป็น 0.5 µg/kg

การทดลองสาร Nitrofurans ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก

Cooper และ Kennedy (2007) ได้ศึกษาความเสถียรของสารไนโตรฟูแรนในเนื้อสัตว์ในระหว่างการเก็บรักษาและการนำไปทำอาหาร โดยทำการเก็บรักษาเนื้อหมูและตับหมูที่มีสารเมแทบอไลต์ของไนโตรฟูแรนตกค้างเป็นเวลา 8 เดือน แล้วนำมาตรวจวิเคราะห์พบว่ามีปริมาณสารเมแทบอไลต์อยู่เท่าเดิม และเมื่อนำเนื้อหมูและตับหมูที่มีสารเมแทบอไลต์ของไนโตรฟูแรนตกค้างมาประกอบอาหาร ทั้งวิธี ทอด ผัด ย่าง อบ และ ผ่านเครื่องไมโครเวฟ นำมาตรวจหาสารตกค้าง พบว่ามีปริมาณสารตกค้างหลงเหลืออยู่ถึง 67-100% นั่นแสดงให้เห็นว่า ทั้งการเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน และผ่านการประกอบอาหาร ไม่สามารถลดปริมาณสารเมแทบอไลต์ของไนโตรฟูแรนได้ จากผลเสียดังกล่าว สหภาพยุโรปจึงประกาศห้ามไม่ให้มีการใช้ยากลุ่มไนโตรฟูแรนในอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (Li et al., 2010) นอกจากนี้ยังมีการห้ามใช้ยาไนโตรฟูแรนในประเทศ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ บราซิล และประเทศไทย เป็นต้น (Khonget al., 2004) ในวันที่ 13 มีนาคม ปี ค.ศ. 2003 ได้มีการกำหนดค่า MRL ของสารตั้งต้นทุกตัวในกลุ่มไนโตรฟูแรน ไว้ที่ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ 1 ส่วนในล้านส่วน (part per million, ppm) (Barbosa et al.,2007) และห้ามพบสารเมแทบอไลต์ทุกตัวในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ โดยกำหนดค่า MRPL ไว้ที่ 1 ไมโครกรัมต่อ กิโลกรัม หรือ 1 ส่วนในพันล้านส่วน (part perbillion, ppb) (Vass et al., 2008)

จากปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น การตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะยืนยันถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ โดยไม่ให้มียาปฏิชีวนะตกค้างเกินจากมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกอาหาร เพราะถ้ามีการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีการปนเปื้อนของสารตกค้างไม่ว่าจะเป็น ยาปฏิชีวนะ สารเร่งเนื้อแดง สารกันบูด สารพิษจากเชื้อรา หรือแม้แต่เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค และเมื่อถูกตรวจพบจะทำให้เกิดการส่งกลับคืนของสินค้าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อการส่งออก ทั้งต่อผู้บริโภค ทั้งต่อผู้ประกอบการหรือประเทศผู้ส่งออก เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ขาดรายได้ที่จะเข้าสู่ประเทศผู้ส่งออกอย่างมหาศาลแล้ว ยังส่งผลระยะยาวคือการถูกห้ามส่งสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เข้าประเทศอีกต่อไป เป็นเหตุให้ต้องมีการตรวจผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อย่างเข้มงวดสำหรับการส่งออกในแต่ละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่จะส่งออกไม่มีสารตกค้างที่เป็นสารต้องห้าม

การตรวจ Nitrofurans ทำได้หลายวิธี LC-MS จะเป็นวิธีที่ใช้ตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างมากที่สุด รองลงมาคือ Liquid Chromatography with Ultraviolet-Visible detection (LC-UV), ELISA, Biosensors และ Electrophoresis ตามลำดับ (Cháfer-Pericás et al., 2010)

สรุป

จากอันตรายของสารตกค้างที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค ทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการปนเปื้อนของอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค จึงมีการประกาศห้ามใช้สารกลุ่มไนโตรฟูแรน ส่งผลให้ต้องมีการตรวจสารดังกล่าวที่อาจตกค้างในผลิตภัณฑ์ ทำให้มีการคิดค้นวิธีในการตรวจวัดสารตกค้างที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยวิธีที่ใช้ตรวจสารตกค้างในกลุ่มไนโตรฟูแรนต้องสามารถตรวจสารตกค้างได้ตามความเหมาะสม และตรวจวิธีที่ถูกต้อง

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ Nitrofurans ดังนี้

AMARC สามารถให้บริการทดสอบหาสารในกลุ่มไนโตรฟูแรน (parent drugs) และ metabolite ทั้ง 5 ชนิด ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป โดยใช้เครื่อง LC-MS/MS ซึ่งเป็นวิธีทดสอบที่มีความจำเพาะและความแม่นยำสูง โดยสามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณต่ำสุดถึง 0.1 µg/kg

ที่มาข้อมูล: บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน)
กรมประมง
คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC