พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร สำคัญต่อร่างกายขนาดไหน ?

พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ โพรไบโอติก (Probiotic) อย่างไร ?

พรีไบโอติก (Prebiotic) บทความ AMARC

เทรนด์ “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ” และ “อาหารฟังก์ชัน (Functional Food)” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สร้างโอกาสทองให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพออกมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง หากแต่ผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเหล่านั้นมีคุณภาพดีและปลอดภัยสมตามสรรพคุณที่กล่าวอ้างจริง

ผลงานการศึกษาวิจัยคือหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันในเรื่องนี้ ทว่าการลงทุนทำวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์นั้นต้องใช้ทั้งเวลาและทรัพยากรซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างสูง จึงอาจเป็นข้อจำกัดหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ

อาหารฟังก์ชัน หรือ Functional Foods คืออาหารที่ประกอบด้วยสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ยังมีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูสภาพร่างกาย อาหารฟังก์ชันยังรวมถึงการพัฒนาอาหารที่มีความเหมาะสมกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยกลไกที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนายกระดับวัตถุดิบที่มีสู่ผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันได้สำเร็จคือ “การวิจัยและพัฒนา”พรีไบโอติก (Prebiotic) บทความ AMARC

พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร ?

พรีไบโอติก (Prepiotic) คือ อาหารซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotic) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จัดเป็นอาหารในกลุ่มฟังก์ชันนาลฟู้ด (Functional Food) หากอธิบายโดยง่ายคือ แบคทีเรียในลำไส้ของเราที่ชื่อ Probiotic ก็จำเป็นที่จะต้องกินอาหารเหมือนคนอย่างเราทั่วไปด้วย การเสริมสุขภาพกลุ่ม Probiotic เพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนเรามีกองทัพแบคทีเรียดีที่ใหญ่ขึ้น แต่ไม่มีอาหารมอบให้อย่างเพียงพอ (Probiotic ไม่มี Prebiotic ให้ทานเป็นอาหาร) การทำงานของแบคทีเรียที่ดีๆ เหล่านี้ก็อาจทำได้ไม่ดีสักเท่าไหร่พรีไบโอติก (Prebiotic) บทความ AMARC

พรีไบโอติกสามารถจำแนกประเภทออกได้เป็น 8 ประเภท

  1. น้ำตาลและออลิโกแซ็กคาไรด์ (Sugar and Oligosaccharides): เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติเป็นคาร์โบไฮเดรตสายสั้น ที่เป็นพรีไบโอติกกลุ่มใหญ่สุด ประกอบด้วยน้ำตาลตั้งแต่ 3 ถึง 10 หน่วย ได้แก่ raffinose, stachyose, fructo-oligosaccharide, lactulose, galacto-oligosaccharide (GOS), soybean oligosaccharide, lactosucrose, isomalto-oligosaccharide, gluco-oligosaccharides, xylo-oligosaccharides และ palatinose สามารถพบได้ในผักและผลไม้ เช่น กระเทียมต้น กระเทียม บรอกโคลี เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบได้ในน้ำนมแม่อีกด้วย
  2. น้ำตาลแอลกฮอล์ (sugar alcohol) หรือ polyols: ได้แก่ maltitol, sorbitol, isomalt, xylitol เป็นต้น เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) โดยมีความหวาน (relative sweetness) น้อยกว่าน้ำตาลทราย (sucrose) ประมาณ 3 ใน 4 หรือครึ่งหนึ่ง และยังดูดซับได้ช้าในลำไส้เล็กเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาล มีค่า glycemic index ต่ำ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ น้ำตาลแอลกอฮอล์มักจะถูกใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารประเภท Sugar Free หลายชนิด
  3. แป้งทนย่อย (Resistant Starch): เป็นแป้งที่ไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมในลำไส้เล็ก แต่จะเข้าไปกระตุ้นการหมักจนได้ผลผลิตเป็นอาหารของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในร่างกาย และสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์สำหรับจุลินทรีย์สุขภาพได้ Resistant starch เป็น polysaccharide ซึ่งจะไม่ถูกดูดซับในลำไส้เล็ก ประกอบด้วย amylose ประมาณร้อยละ 20-25
  4. โพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง (Non-Starch Polysaccharides: NSP): โพลีแซคาไครด์ที่ไม่ใช่แป้ง จัดเป็นโพลีแซคคาไรด์พรีไบโอติกที่ได้รับจากพืช เช่น pectin, cellulose, hemicellulose, guar gum, gum arabic, beta glucan, xylan
  5. อินนูลิน (Inulin): เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการเป็นพรีไบโอติก มักพบในบริเวณหัวและรากของพืช เช่น กระเทียม ต้นหอม หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
  6. Mucin Glycoproteins: เป็นสารตั้งต้นหลักสำหรับการหมักในลำไส้ ซึ่งถูกสร้างโดย Goblet Cells ที่อยู่ในเยื่อบุผิวของลำไส้
  7. Related Mucopolysaccharides: เป็นสารที่มีไว้สำหรับจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น คอนดรอยดินซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) เฮปาริน (Heparin) สารคัดหลั่งจากตับอ่อน (Pancreatic Secretion) และสารคัดหลั่งจากแบคทีเรีย (Bacterial Secretions) ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารที่มีไว้สำหร้บจุลินทรีย์ในลำไส้
  8. โปรตีนและเพปไทด์ (Proteins and Peptides): พรีไบโอติกกลุ่มนี้จะได้จากอาหารในกลุ่มโปรตีน รวมทั้งยังพบได้จากการสร้างโดยการหลั่งของตับอ่อน หรือสร้างโดยแบคทีเรีย แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าพวกคาร์โบไฮเดรต

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

สารในกลุ่มพรีไบโอติกซึ่งจัดเป็น Functional Food นี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะ จะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotic) เช่น แบคทีเรียในกลุ่ม lactic acid bacteria ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส (lactobacillus) และไบฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) เป็นต้น

หากพรีไบโอติกและโปรไบโอติกทำงานร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า ซินไบโอติก (synbiotics) จะเป็นผลดีต่อร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีโดย การกระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารให้เหมาะสม ทำให้โปรไบโอติกมีการย่อยสลายในระบบนิเวศน์จุลินทรีย์ที่มีการแข่งขันกัน ซึ่งจะทำให้

  1. กรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) และสร้างสารพิษ เช่น Clostridium perfringens, Salmonella และช่วยป้องกันและลดอาการของโรคติดเชื้อ (infection) ในทางเดินอาหาร
  2. ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิพิด (phospholipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด โดย Lactobacillus acidophilus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จ ะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้
  3. ช่วยการดูดซึมอาหารในลำไส้ก็ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) ผลิตขึ้น จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้ดีขึ้น
  4. ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
  5. สามารถผลิตวิตามิน vitamin B1, vitamin B2, vitamin B6, vitamin B12, nicotinic acid และ folic acid ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะภูมิแพ้ เสริมสร้างการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันได้

อาหารที่เป็นแหล่ง พรีไบโอติก

พรีไบโอติกพบในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผัก เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เห็ด เมล็ดแฟลกซ์ และเมล็ดธัญพืชบางชนิดพรีไบโอติก (Prebiotic) บทความ AMARC

การใช้พรีไบโอติกในอาหาร

ปัจจุบัน นิยมผสมสารที่เป็นพรีไบโอติกลงในอาหารหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำนม อาหารทารก โยเกิร์ต พาสต้า ขนมอบ ซอส อาหารเช้าธัญพืช (breakfast cereal) ซุป และขนมขบเคี้ยวแบบต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยและหรือการขับถ่าย เป็นเป็นต้น

การบริการของ AMARC

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ พรีไบโอติก ประเภท น้ำตาลแอลกฮอล์ ในอาหาร เครื่องดืมและอาหารเสริม โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูงและวิธีการทดสอบที่เป็นสากล

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน)
: ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร เรื่อง พรีไบโอติก (Food Network Solution)
: Functional Food นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR)