หมวดอาหารประเภทที่ 12 เกลือ เครื่องเทศ ซุป ซอส สลัด และผลิตภัณฑ์จากโปรตีน (Salts, spices, soups, sauces, salads and protein products)

จากการที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดหมวดอาหารแบ่งเป็น 17 ประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารประเภทที่ 12 เกลือ เครื่องเทศ ซุป ซอส สลัด และผลิตภัณฑ์จากโปรตีน (Salts, spices, soups, sauces, salads and protein products)

  1. เกลือเครื่องเทศซุปซอสสลัดและผลิตภัณฑ์จากโปรตีน
    • เกลือและสารที่ใช้แทนเกลือ
      • เกลือ
      • สารที่ใช้แทนเกลือ
    • สมุนไพรเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
      • สมุนไพรและเครื่องเทศ
      • เครื่องปรุงรส
    • น้ำส้มสายชูหมัก
    • มัสตาร์ด
    • ซุป
      • ซุปพร้อมบริโภค
      • ส่วนผสมสำเร็จรูปสำหรับใช้ทำซุป
    • ซอสและผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน
      • ซอสอิมัลชัน
      • ซอสที่ไม่เป็นอิมัลชัน
      • ส่วนผสมสำเร็จรูปสำหรับใช้ทำซอสและเกรวี่
      • ซอสใส
    • สลัดและผลิตภัณฑ์ทาแซนวิช
    • ยีสต์และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน
    • เครื่องปรุงรสจากถั่วเหลือง
      • ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหมัก
      • ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนจากถั่วเหลือง
    • ผลิตภัณฑ์โปรตีนชนิดอื่นที่ไม่ใช่โปรตีนจากถั่วเหลือง

โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น

  • ทดสอบหาวัตถุอันตรายทางการเกษตรตกค้าง (Pesticides residues)
  • สารพิษจากเชื้อรา แอฟลาทอกซิน (Aflatoxin B1, B2, G1, G2)
  • ทดสอบหาสารปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น สารหนูทั้งหมด (Arsenic, total), แคดเมียม (Cadmium), ตะกั่ว (Lead) และปรอททั้งหมด (total mercury)
  • ทดสอบหาวัตถุเจือปนอาหาร เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide), กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic acid)
  • ทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และคลอสทริเดียม เพอรฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) เป็นต้น
  • ทดสอบหาสิ่งปลอมปนในอาหาร (Filth)
  • ทดสอบฮีสทามีน (Histamine)
  • ทดสอบความชื้น (Moisture)
  • ทดสอบไอโอดีน (Iodine)
  • ทดสอบความเป็นกรด (Acidity)
  • ทดสอบหาปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total solid)
  • ทดสอบหาโซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride)
  • ทดสอบหาไนโตรเจนทั้งหมด (Total nitrogen)
  • ทดสอบหาแอลกอฮอล์ในน้ำส้มสายชู (Ethanol)
  • ทดสอบหาวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามิน B ได้แก่ B1 (ไทอะมีน) B2 (ไรโบฟลาวิน), แคลเซียม (Calcium), แมกนีเซียม (Magnesium), ฟอสฟอรัส (Phosphorus), โซเดียม (Sodium) และโพแทสเซียม (Potassium) เป็นต้น
  • จัดทำข้อมูลโภชนาการ เช่น พลังงานทั้งหมด (Total energy), คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate), โปรตีน (Protein) และน้ำตาล (Total sugar) เป็นต้น
  • บริการอื่นๆ

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3rPoYGS (2021, December)