จากการที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดหมวดอาหารแบ่งเป็น 17 ประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารประเภทที่ 7 คือ ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery wares) ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแป้งที่ได้จากธัญชาติซึ่งมีส่วนประกอบ ของกลูเตน (Gluten) เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวบาร์เลย์ แป้งข้าวไรย์ เป็นต้น หรือไม่มีส่วนประกอบของกลูเตนก็ได้ เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้ง ข้าวโพด เป็นต้น แล้วนํามาผ่านความร้อน เช่น อบ นึ่ง ทอด เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ตามหมวดนี้ ได้แก่ ขนมปัง ขนมอบชนิดไม่ปรุงแต่ง รสชาติ และส่วนผสมสําเร็จรูป
โดยจะแบ่งประเภทและชนิดอาหารดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่)
- ขนมปังและขนมอบชนิดไม่ปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป
- ขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติและส่วนผสมสำเร็จรูป
โดย AMARC สามารถให้บริการทดสอบวิเคราะห์ เช่น
- ทดสอบหาวัตถุอันตรายทางการเกษตร
- ทดสอบหาสารพิษจากเชื้อราAflatoxinเช่น B1, B2, G1 และG2
- ทดสอบหาสารปนเปื้อนโลหะหนักเช่น สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic arsenic), สารหนูทั้งหมด (Arsenic, total), แคดเมียม (Cadmium), ตะกั่ว (Lead) และปรอททั้งหมด (Total mercury)
- ทดสอบหาวัตถุเจือปนอาหารเช่น กรดเบนโซอิก (Benzoic acid), กรดซอร์บิก (Sorbic acid) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
- ทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเช่น แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)
- ทดสอบอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs Screening)
- ทดสอบหาสิ่งปลอมปนในอาหารชนิด Light filth
- ทดสอบวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามิน A (เรตินอล แคโรทีน), วิตามิน B1 และB2, แคลเซียม (Calcium), แมกนีเซียม (Magnesium) และฟอสฟอรัส (Phosphorus)
- จัดทำข้อมูลโภชนาการเช่น พลังงานทั้งหมด (Total energy), โปรตีน (Protein), ใยอาหาร (Total dietary fiber) และคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
- บริการอื่นๆ
หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC
ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3rPoYGS (2021, December)