กรมวิชาการเกษตร เพิ่มโอกาสส่งออกผลไม้ไทย

กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรในแต่ละพื้นที่แจ้งให้เกษตรกรได้รับทราบและรีบสมัครเข้าสู่กระบวนการตรวจรับรองตามมาตรฐาน GAP โดยเจ้าหน้าที่ของกรมจะเร่งรัดการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนสวน GAP และโรงคัดบรรจุผลไม้ GMP พืชทั้ง 3 ชนิดให้แก่เกษตรกรอย่างเร่งด่วนก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออก

สำหรับในปี 2564 นี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแผนการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช GAP รวมจำนวนทั้งสิ้น 120,000 แปลง โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผลไม้หลักส่งออกที่จำเป็นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ตามเงื่อนไขของประเทคู่ค้า เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ และมะม่วง ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกไปประเทศจีน โดยปัจจุบันจีนได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยรวมจำนวนทั้งสิ้น 22 ชนิด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี โดยในเดือนสิงหาคมนี้จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการขึ้นทะเบียนสวน และโรงคัดบรรจุผลไม้กับจีนอีก 3 ชนิด คือ มะขาม เงาะ และส้มโอ ซึ่งจะทำให้การส่งออกผลไม้ไปจีนจะต้องเป็นสวนที่ขึ้นทะเบียนและโรงคัดบรรจุที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้นจึงจะส่งออกไปจีนได้

บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย (AMARC) สามารถให้บริการตรวจรับรองคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ อาทิ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAPs), มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (GAPs/Organic), มาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GHPs) และระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) อีกทั้งยังสามารถให้บริการทดสอบ วิเคราะห์ผัก ผลไม้ ส่งออก ออกหนังสือรับรองสารตกค้างและหนังสือรับรองการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ Eschrerichia coli และ Salmonella เพื่อนำไปแสดงต่อกรมศุลกากร ประกอบการส่งออกผัก ผลไม้ ไปนอกราชอาณาจักร

ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3qVE8b7 (2021, November)