หมวดอาหารประเภทที่ 17 วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยไม่ได้นำมาบริโภคโดยตรงนอกเหนือจากหมวด 1-16

จากการที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดหมวดอาหารแบ่งเป็น 17 ประเภทตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารประเภทที่ 17 “วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยไม่ได้นำมาบริโภคโดยตรง” เช่น วัตถุเจือปนอาหาร สารช่วยในการผลิต เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ วัตถุแต่งกลิ่นรส วัตถุแต่งกลิ่นรสธรรมชาติ วัตถุแต่งกลิ่นสังเคราะห์  วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารอื่นๆ เป็นต้น

  1. วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยไม่ได้นำมาบริโภคโดยตรงนอกเหนือจากหมวด 1-16
    • วัตถุเจือปนอาหาร (Food additives)
    • สารช่วยในการผลิต (Processing aid)
    • เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร (Microbial food cultures) และเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) ไบโอติกในอาหาร
    • วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ(Functional Food Ingredient)ซึ่งรวมถึงสารอาหาร (Nutrients) สารสกัด สารสังเคราะห์ เพื่อใช้ในมุ่งหมายในทำนองเดียวกัน
    • วัตถุแต่งกลิ่นรส(Flavoring agents)
      • วัตถุแต่งกลิ่นรสธรรมชาติ
      • วัตถุแต่งกลื่นรสเลียนธรรมชาติ
      • วัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์
    • วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารอื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการนำมาบริโภคโดยตรงนอกเหนือจาก 17.1 – 17.5

หมวดอาหารประเภทที่17

หมวดอาหารประเภทที่17

หมวดอาหารประเภทที่17AMARC ให้บริการทดสอบวิเคราะห์ ดังนี้

  • สารปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น สารหนู (คำนวณเป็น As2O3 และ As), โครเมียม (Chromium), ซิลิเนียม (Selenium) และ ตะกั่ว (Lead) เป็นต้น
  •  เชื้อจุลินทรีย์ เช่น แซลโมเนลลา (Salmonella spp.), ลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), โคลิฟอร์ม (Coliforms), อี.โคไล (Escherichia coli), ยีสต์และเชื้อรา (Yeasts and Molds) และ คลอสทริเดียม เพอรฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) เป็นต้น
  • ความชื้นที่หายไปเมื่ออบแห้ง (Loss on drying)
  • เถ้า (Ash)
  • ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
  • สารที่ไม่ละลายน้ำ (Water insoluble matter)
  • ปริมาณของแข็งทั้งหมด (Total solid)
  • น้ำตาลรีดิวซิ่ง (Reducing sugar content)
  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
  • โปรตีน (Protein)

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล https://bit.ly/3v3vNFV (2021, December)