กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินทางเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ บริษัท AMARC

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินทางเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMARC)

กรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARC

กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้บริหาร และผู้แทนกอง ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือเอมาร์ค (AMARC) โดยมี รศ.นพ. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) และคณะ ให้การต้อนรับ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARCกรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARC

AMARC ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของโรงพยาบาลลาดพร้าวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑๙ ปี) ด้วยวิสัยทัศน์ มุ่งเป็นแล็บชั้นนำระดับสากล ผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมที่อุตสาหกรรมและผู้บริโภคเชื่อมั่น โดยมีพันธกิจ สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค และร่วมสร้างโอกาสให้กับธุรกิจในฐานะ “ผู้ตรวจ รับรอง และทดสอบ” ที่ให้บริการอย่างครบวงจร เปรียบเสมือน Lab Master  ซึ่งมีการให้บริการที่ครบครัน ทั้งตรวจวิเคราะห์ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเกษตรกรรม ตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม สอบเทียบเครื่องมือเฉพาะทาง ออกใบรับรองมาตรฐานให้เกษตรกร ไปจนถึงสถานประกอบการ รวมถึงให้คำปรึกษาและฝึกอบรมให้องค์กรต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต จนถึงผลิตภัณฑ์ โดยได้รับการยอมรับจากระบบมาตรฐานทั้งระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการในฐานะลูกค้าของ AMARC มากกว่า ๖,๐๐๐ ราย ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ และรับรองผลทางวิทยาศาสตร์ให้กับองค์กรด้านการแพทย์ต่างๆ ในฐานะ Third Party ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรอื่น

กรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARC

ในการเข้าเยี่ยมชมบริษัท AMARC ในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารของกรมวิทยาศาสตร์บริการและคณะกรรมการของบริษัท AMARC ได้พูดคุยและหารือเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ และทำการวิจัยในผลิตภัณฑ์และตัวอย่างใหม่ๆ ในอนาคต โดยเฉพาะรายการทดสอบสำหรับสินค้าส่งออกที่ลูกค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยทางคณะกรรมการของบริษัท AMARC เล็งเห็นว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกำลังคนและกลไกที่สำคัญ ในขณะที่บริษัท เอมาร์ค มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาด มีข้อมูลความต้องการของลูกค้า รวมทั้งมีงบลงทุนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ครบครัน หลากหลาย และมีความทันสมัย สำหรับใช้ทำการวิคราะห์ ทดสอบ และพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ AMARC กำลังมีธุรกิจใหม่ที่เป็น “เมกะเทรนด์” คือ ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ Carbon footprint ตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ในหลายรูปแบบ เช่น ในโรงงานและกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ ที่เวลานี้ทุกหน่วยงานกำลังมุ่งสู่ถนนสายเดียวกันคือ การเป็นองค์กร Net Zero รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าโดยเฉพาะการพัฒนาวัสดุสัมผัสอาหาร ซึ่งทั้งการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม และ ศูนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาที่ วศ. มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งการพบปะพูดคุยระหว่างทั้งสององค์กรนี้ เป็นแนวทางในการที่สร้างโอกาสในการร่วมกันพัฒนาประเทศไทยระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมที่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมของประเทศไทยรวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่ต่างประเทศ เพื่อเป็นการปลดล็อกประเทศไทยจากการติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) อย่างเป็นรูปธรรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARC กรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARCกรมวิทยาศาสตร์บริการ AMARCAMARC AMARC AMARC AMARC

 

ที่มาข้อมูล: กรมวิทยาศาสตร์บริการ https://www.dss.go.th/ (2023, Apr)

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC