ทั่วไป
การบริการของเอมาร์ค
การทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์
เอมาร์คให้บริการทดสอบในกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์
การสอบเทียบ
เอมาร์คให้บริการสอบเทียบ เครื่องมือและอุปกรณ์
-
- มาตรวิทยาไฟฟ้าและอุณหภูมิ
- มาตรวิทยาเคมี
- มาตรวิทยาเชิงกล
- เครื่องมือแพทย์
การตรวจและการรับรอง
เอมาร์คให้บริการตรวจและรับรองระบบคุณภาพ ในขอบข่ายด้าน
- พืช
- ประมง
- ปศุสัตว์
- ความปลอดภัยอาหาร
- สิ่งแวดล้อม
โดยหน่วยตรวจและหน่วยรับรองของเอมาร์คได้รับการรับรองมาตรฐานดังนี้
- หน่วยตรวจภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17020
- หน่วยรับรองภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17065
- หน่วยรับรองภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17021-1
การให้คำปรึกษา และการฝึกอบรม
เอมาร์คให้มีบริการให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม ดังนี้
- ระบบบริหารคุณภาพห้องปฎิบัติการ
- ระบบคุณภาพด้านเกษตรอาหาร หลักการผลิตอาหารที่ดี และสุขาภิบาลอาหาร
- การบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์
การใช้บริการ
ขั้นตอนการใช้บริการ
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ How To
ช่องทางการติดต่อ
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ติดต่อเรา
ที่ตั้ง
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ติดต่อเรา
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก่อนส่งตัวอย่าง
1. วัตถุประสงค์ของการส่งตัวอย่างให้ทดสอบ
2. วีธีเก็บตัวอย่างและปริมาณตัวอย่างที่เหมาะสมที่ต้องส่ง
3. การรักษาสภาพและการป้องกันการปนเปื้อนขณะเก็บและขนส่งตัวอย่าง เช่น
- GMOs ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 1 kg บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
- Allergen ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 300 g บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
- DNA Screening ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 500 g บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
- ส่งน้ำตรวจหาเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จะต้องเก็บตัวอย่างด้วย Aseptic Technique และบรรจุในภาชนะที่ปราศจากเชื้อและรักษาสภาพขณะขนส่งด้วยความเย็น
ท่านสามารถขอรับคำแนะนำและอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ขั้นตอนการนำส่งตัวอย่าง
หลังจากสรุปแนวทางการใช้บริการกับเอมาร์คแล้ว กรอกและนำส่งใบคำขอบริการทดสอบพร้อมตัวอย่าง
ลูกค้าสามารถนำตัวอย่างด้วยตนเอง ส่งตัวอย่างโดยใช้บริการขนส่งเอกชน หรือแจ้งให้เอมาร์คเข้าไปรับตัวอย่างโดยไม่เสียค่าบริการ กรณีลูกค้าอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมลฑล
บริการรับตัวอย่าง
เอมาร์ค ให้บริการรับ-ส่งตัวอย่างฟรีในเขตกรุงเทพฯและปริมลฑล หากลูกค้าสนใจสามารถแจ้งรับตัวอย่างได้กับเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแล
บริการแบบเร่งด่วน (Express Service)
เอมาร์ค มีบริการวิเคราะห์แบบเร่งด่วนลูกค้าสามารถสอบถามระยะเวลาและรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากทั้งเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแล
ระยะเวลาการทดสอบ
รายละเอียดระยะวันในการทดสอบ จะแจ้งในเอกสารใบเสนอราคา โดยจำนวนวันที่แสดงจะไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การชำระค่าบริการ
วิธีการชำระค่าบริการ
- เงินสด
- เงินโอน (วิธีชำระผ่านระบบ Bill Payment สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)
- เช็ค
อื่นๆ
การส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI)
บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน ประเภทกิจการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ในขอบข่ายบริการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์และยา เคมี จุลชีววิทยา และสิ่งปลอมปน
ตามมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 สิทธิประโยชน์ที่บริษัทได้รับคือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย (3%)) ในบริการที่ได้รับการส่งเสริม
ระยะเวลาการส่งเสริมการลงทุนนับตั้งแต่ โครงการมีรายได้ครั้งแรก (การออก Invoice) และนับไปอีก 8 ปี ถือว่าสิ้นสุดโครงการ วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้รับการส่งเสริมตามบัตรฯ กับวันที่ที่เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต่างกัน
บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากบางรายการทดสอบบริษัทฯ ไม่ได้ขอรับการส่งเสริม และการบริการลักษณะที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือ เช่น การตรวจและการรับรอง การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม ไม่อยู่ในขอบข่ายการได้รับการส่งเสริมการลงทุน
เกษตรอาหาร
ความรู้ทั่วไป
สิ่งที่ควรทราบในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก
การผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกันตั้งแต่กระบวนการผลิต คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อให้สามารถวางแผนและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้
- จำแนกอาหารที่ต้องการจำหน่ายว่าเป็นชนิดใด เช่น เป็นอาหารสดหรือเป็นผลิตภัณฑ์
- มีหน่วยงานราชการที่ดูแล กำกับเรื่องคุณภาพมาตรฐานอาหารของประเทศไทยมีหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมประมงและกรมปศุสัตว์ เป็นต้น
- อาหารบางชนิดจำเป็นต้องขออนุญาตการผลิต มีมาตรฐานกำกับจากหลายส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดและคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารที่สนใจจะผลิต นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการตั้งชื่อ ฉลากและการโฆษณาอีกด้วย
ความหมายของพืชควบคุมเฉพาะและการทดสอบเพื่อการส่งออกของพืชควบคุมเฉพาะ
พืชควบคุมเฉพาะคือ พืชที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดว่าต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ รายชื่อชนิดพืช ประเทศและเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สามารถสืบค้นข้อมูลได้ใน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสอบถามได้ที่ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
เอมาร์คเป็นแล็บที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้เป็นแล็บที่สามารถทดสอบพืชควบคุมเฉพาะเพื่อการส่งออกได้ (Designated Laboratory) โดย ให้บริการตรวจพืชผัก ผลไม้เพื่อการส่งออกมาตั้งแต่ กรกฎาคม 2561 ปัจจุบัน ได้ให้บริการทดสอบผักและผลไม้ส่งออกกับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ ปีละมากกว่า 14,000 ตัวอย่าง 80,000 รายการทดสอบ”
สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์ คืออะไร
สิ่งแปลกปลอม (Foreign Matter) ในอาหารและผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ หรือมีแหล่งที่มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาหารและผลิตภัณฑ์นั้น มีสุขลักษณะในการผลิต การเก็บรักษา และการจัดจำหน่ายที่ไม่ดี สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น
- Heavy Filth หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งสามารถแยกออกจากผลิตภัณฑ์ด้วยการตกตะกอน เช่น สิ่งขับถ่ายจากแมลง สัตว์ประเภทฟันแทะ ดินและทราย เป็นต้น
- Light Filth หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งสามารถแยกออกจากผลิตภัณฑ์ เช่น แมลง ชิ้นส่วนของแมลง และขนสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นต้น
การทดสอบหาสิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์
สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรง หรือก่อให้เกิดโรค เกิดการแพ้ซึ่งล้วนส่งผลเสียกับสุขภาพของผู้บริโภค
สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) คืออะไร
สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เกิดอาการแพ้ในคนที่มีความไวต่อสารนั้นๆ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการหรือเป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ ฝุ่นละออง รวมไปถึงอาหาร และยา ซึ่งการแพ้เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารและลักษณะจำเพาะของแต่ละคน เช่น จาม หอบ คันตา คัน/คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ผื่นขึ้น อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นลม ช็อค และหมดสติ เป็นต้น
การเฝ้าระวังการปนเปื้อนในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดว่าโรงผลิตอาหาร รวมโรงงานที่รับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacture: OEM) ต้องได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) ซึ่งเป็นการยกระดับเรื่องคุณภาพและมาตรฐานอาหาร
ผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานและผู้ประกอบการที่จ้างผลิต จำเป็นต้องเข้าใจและนำหลักการ GMP และ HACCP มาประยุกต์ โดยการระวังเรื่องสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) สามารถสรุปได้ดังนี้
- ผู้ประกอบการ จะต้องมีระบบตรวจสอบสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ
- โรงงานผู้ผลิต จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบ เฝ้าระวังว่าในระบบการผลิตไม่มีการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ ตกค้างมาจากกระบวนการผลิตก่อนหน้านี้
สิ่งมีชีวิตที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMOs) คืออะไร
การดัดแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือการปศุสัตว์ รวมทั้งเสริมจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมนั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีคุณประโยชน์มากกว่า แม้ว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมจะส่งผลดีต่อระบบอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตาม มีหน่วยงานด้านสุขภาพและผู้คนทั่วโลกจำนวนไม่น้อย ที่กังวลว่าผลิตภัณฑ์ GMOs เหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้
จุดประสงค์ในการทดสอบวิเคราะห์ DNA และ GMOs ในอาหาร
การตรวจหา DNA มีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจถึงความบริสุทธิ์ในอาหารนั้นๆ เช่นการตรวจหา DNA สุกรที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจสอบอาหารฮาลาล เป็นต้น
การตรวจหา DNA / GMOs ในผลิตภัณฑ์เกษตรอาหาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ลดข้อกังวลด้านสุขภาพของผู้บริโภค
- เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือระเบียบด้านการนำเข้า-ส่งออก
- เพิ่มการแข่งขันในตลาดเชิงรุก
ความหมายของคำว่า Not Detected, < LOQ (Less than LOQ) ที่ใช้ในรายงานผลการทดสอบของเอมาร์ค
การรายงานผลการทดสอบของเอมาร์ค เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์จากข้อมูลในรายงานมากที่สุด นอกจากนั้น วิธีทดสอบที่ใช้จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทวนสอบความใช้ได้ (Validation) ซึ่งจำเป็นต้องหาค่าต่างๆ ของวิธีทดสอบ (ความถูกต้อง แม่นยำตามวิธีการ และแสดงค่าต่างๆ ที่จำเป็น มีความเป็นสากล) เช่น
- ความจำเพาะ
- ความสามารถในการตรวจ ซึ่งมักแสดงด้วยค่า Limit of Detection: LOD* และ Limit of Quantitation: LOQ**
- ความเป็นเส้นตรง (Linearity)
- คำที่ใช้ในรายงานผลการทดสอบ มีความหมายดังนี้
- Not Detected หมายความว่า ผลการทดสอบนั้นพบสิ่งที่สนใจมีปริมาณน้อยกว่าค่า LOD หรือตรวจไม่พบ
- LOQ (Less than LOQ) หมายความว่า ผลการทดสอบนั้นพบปริมาณมากกว่าค่า LOD แต่น้อยกว่าค่าLOQ
*LOD คือ ความเข้มข้นต่ำสุดของสารที่สนใจในตัวอย่างที่วิธีทดสอบสามารถตรวจวัดได้
**LOQ คือ ความเข้มข้นต่ำสุดของสารที่สนใจในตัวอย่างที่วิธีทดสอบที่สามารถตรวจวัดได้ ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยที่ความเข้มข้นระดับนี้ สามารถรายงานเป็นปริมาณที่มีความแม่นและเที่ยงตรงได้”
บริการทดสอบวิเคราะห์ด้านเกษตรอาหาร
การให้บริการทดสอบด้านจุลชีววิทยาแบบ Rapid Test
เอมาร์ค ให้บริการทดสอบแบบ Rapid Test ได้ในเชื้อต่อไปนี้
- Salmonella spp. โดยใช้เทคนิค 3M Molecular Detection System
- Coliform โดยใช้เทคนิค Petrifilm
- Escherichia coli โดยใช้เทคนิค Petrifilm
- Yeast & Mold Count โดยใช้เทคนิค Petrifilm
บริการทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf-life)
เอมาร์ค ให้บริการทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf-life) โดยรับบริการทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (กรณีสินค้าแช่เย็น จะตรวจความปลอดภัยด้านจุลชีววิทยา เพื่อประกอบการหาอายุกับการเก็บรักษา)
ลูกค้าสามารถติดต่อขอรับบริการ โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มใบขอรับบริการ เช่น ส่วนประกอบของตัวอย่าง ลักษณะภาชนะบรรจุ วิธีการฆ่าเชื้อ น้ำหนักสุทธิ อายุการเก็บรักษาที่ลูกค้าคาดหวัง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นของตัวอย่างที่เคยพบและเป็นสาเหตุที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับ และส่งตัวอย่างที่ต้องการทดสอบในรูปแบบบรรจุภัณฑ์จริงในการจัดจำหน่าย
การทดสอบด้านเคมี
เอมาร์ค มีบริการทดสอบทางกายภาพ ฟิสิกส์ และเคมี ที่หลากหลาย ตามมาตรฐานและข้อกำหนดของสิ่งส่งตรวจ ดังนี้
- สารปนเปื้อนในอาหาร เช่น โลหะหนัก (แคดเมียม ดีบุก ตะกั่ว ปรอท และสารหนู) และสารพิษจากเชื้อรา (Aflatoxin M1, Total Aflatoxin, Deoxynivalenol: DON, Ochratoxin A) เป็นต้น
- วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สี วัตถุกันเสีย สารกันหืน และสารให้ความหวาน เป็นต้น
- โภชนาการ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน) และฉลากโภชนาการอาหารประเทศต่างๆ เช่น ไทย จีน อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น
- ตรวจคุณภาพหรือมาตรฐานทางเคมีของอาหารชนิดต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ตรวจหาปริมาณแร่ธาตุและโลหะหนัก ในอาหารและอาหารสัตว์
- สารก่อมะเร็ง เช่น 3MCPD, PCBs และ PAHs เป็นต้น
- สารตกค้าง เช่น ยาสัตว์ตกค้างในอาหาร และวัตถุอันตรายทางการเกษตรตกค้างในอาหารและน้ำ เป็นต้น
การทดสอบหาสิ่งแปลกปลอม (Foreign Matter)
เอมาร์ค ให้บริการตรวจวิเคราะห์สิ่งแปลกปลอมตามวิธีมาตรฐาน AOAC เช่น Light Filth ในธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ, Filth ในน้ำตาล น้ำพริก และเครื่องเทศเป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีให้บริการตรวจวิเคราะห์หาสิ่งแปลกปลอม โดยใช้เทคนิค Macroscopic and Microscopic Analysis in Foreign Matter Sample, Biological Identity by Histology Method และการตรวจหาปรสิตในกล้ามเนื้อสัตว์ อีกด้วย
บริการด้านอณูชีววิทยา (Molecular)
แล็บอณูชีววิทยาของ เอมาร์ค ให้บริการ ดังนี้
- ตรวจวิเคราะห์ GMOs เชิงคุณภาพ ในอาหาร,ถั่วเหลือง, ข้าว, ข้าวโพด และอาหารสัตว์
- การวิเคราะห์หา DNA ของเนื้อหมู เนื้อไก่และเนื้อวัว เป็นต้น
- การวิเคราะห์ Allergen ของข้าวสาลี ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ปลา นมวัว และกุ้ง
- การตรวจหาสารพันธุกรรมของโรค SARS-CoV-2 (COVID-19) ที่ปนเปื้อนในอาหาร และวัสดุสัมผัสอาหาร
- ตรวจวิเคราะห์หายีนจำเพาะในพืช (Plant gene) เช่น ถั่วเหลือง (Lectin gene) ข้าวโพด (Zein gene) และข้าว (PLD) เป็นต้น
- ตรวจเอกลักษณ์ (GMOs Identification) เช่น Roundup Ready Soybean (EPSPS gene)
รายงานผลการทดสอบด้านจุลชีววิทยา
การรายงานผลของรายการเชื้อ Coliform และ Escherichia coli โดยหน่วยที่รายงานผลเป็น "MPN/g" มีวิธีทดสอบอย่างไร
ทดสอบโดย MPN Technique เป็นวิธีการทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์โดยวิธีการประมาณค่าทางสถิติ
การทดสอบกระทำโดยนำตัวอย่างมาเจือจางตามความเข้มข้นต่างๆ จากนั้นดูดสารละลายแต่ละความเจือจางลงในหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว ความเข้มข้นละ 3 หลอดตามวิธีมาตรฐาน บ่มตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด แล้วทำการอ่านค่าจากตาราง MPN (Most Probable Number) ซึ่งจะรายงานผลการทดสอบในหน่วยของ MPN เช่น MPN/g, MPN/ml
หากทดสอบแล้วพบเชื้อกลุ่ม Coliform แสดงว่าพบเชื้อ Escherichia coli ด้วยหรือไม่
ถ้าทดสอบตัวอย่างแล้วพบเชื้อ Coliform อาจจะพบหรือไม่พบเชื้อ Escherichia coli ก็ได้ เนื่องจากแบคทีเรียในกลุ่ม Coliform เป็นเชื้อกลุ่มใหญ่ซึ่ง Escherichia coli เป็นเพียงหนึ่งในกลุ่ม Coliform เท่านั้น แบคทีเรียกลุ่ม Coliform ได้แก่
- Escherichia
- Citrobacter
- Enterobacter
- Hafnia
- Klebsiella
- Serratia
การรายงานผล "<3 MPN/g" และ "<10 CFU/g" ในการทดสอบด้านจุลชีววิทยา เช่น Coliform และ TPC หมายความว่าอย่างไร
หมายถึง “ไม่พบเชื้อ” ซึ่งรูปแบบการรายงานผลดังกล่าว เป็นวิธีรายงานผลตามมาตรฐานสากล
ความแตกต่างระหว่างความละเอียดของการรายงานหน่วยของการทดสอบทางจุลชีววิทยาระหว่าง หน่วย "per 0.01 g" และ "per 0.1 g"
หน่วย 0.1 g มีความละเอียดมากกว่า เนื่องจาก หน่วย 0.1 g มีความเข้มข้นของเนื้อตัวอย่าง 0.1 g ซึ่งเข้มข้นกว่าหน่วย 0.01 g ที่มีความเข้มข้นของเนื้อตัวอย่าง 0.01 g ดังนั้น 0.1 g จึงมีความสามารถในการตรวจหาเชื้อได้ละเอียดกว่า 0.01 g
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการทดสอบเกษตรอาหาร
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025
หน่วยงานถ่ายโอนภารกิจ (Regulator
ยา
การบริการด้านยา
การทดสอบยา
เอมาร์ค เป็นแล็บบริการของภาคเอกชนรายเดียวในประเทศไทย ที่ให้บริการทดสอบด้านยา โดยทดสอบทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณและยาสมุนไพร
รายการทดสอบยาแผนปัจจุบัน
สามารถดูรายการทดสอบยาได้ที่ ยา
บริการทดสอบชีวสมมูลย์ของยา (Bioequivalence Study)
เอมาร์ค ให้บริการด้านการวิเคราะห์ชีวสมมูลย์ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
บริการการพัฒนาวิธีทดสอบยา (Drug Analysis Method Development)
เอมาร์ค ให้บริการพัฒนาและการทำทวนสอบ (Method Development/Validation) ตามวิธีมาตรฐาน USP, BP และตามวิธีการของลูกค้า โดยผู้สนใจใช้บริการด้านนี้สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
รายการทดสอบของยาแผนโบราณและยาสมุนไพร
สามารถดูรายการทดสอบยาแผนโบราณและยาสมุนไพรได้ที่ ยา
มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการทดสอบของยาแผนโบราณและยาสมุนไพร
- Thai Herbal Pharmacopoeia (THP)
- The United States Pharmacopoeia (USP)
- Association of Official Agricultural Chemists (AOAC Internationals)
มาตรฐานที่รัฐกำหนดในการทดสอบคุณภาพของกัญชาทางการแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดให้กัญชา กัญชง น้ำมันกัญชา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นส่วนประกอบ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง ต้องมีการตรวจปริมาณสารสำคัญ CBD และ THC และผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้น
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านยา
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านยา
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ความรู้ทั่วไป
ความสำคัญของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร (Agricultural Production Factor)
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ดิน น้ำ ปุ๋ย และวัตถุอันตรายทางการเกษตร สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับผลิตผลทางการเกษตร หากเกษตรกรสามารถเลือกพื้นดินและแหล่งน้ำได้เหมาะสม ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และหากเมื่อมีศัตรูพืชมาทำลายผลผลิตจนไม่สามารถจัดการด้วยวิธีการใดๆ ได้ ก็ใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืชนั้นและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและผลผลิตสูง
จุดประสงค์การทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
การทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
- สำหรับเกษตรกร เป็นการบริหารจัดการเพื่อเลือกใช้และใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทดสอบคุณภาพน้ำและดินก่อนการปลูก เพื่อเลือกพืชที่เหมาะสม และจัดการปรับปรุงคุณภาพดินที่เกิดจากการเสื่อมคุณภาพที่เกิดจากการปลูกพืชก่อนหน้าไป โดยการเลือกปุ๋ยที่ตรงกับการปรับสภาพฟื้นฟูดินแต่ละที่ ให้เหมาะกับพืชที่จะปลูก ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในเวลาเดียวกัน
- สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกปุ๋ยขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบการสามารถนำใบรายงานผลการทดสอบไปขออนุญาตขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยกับทางกรมวิชาการเกษตรได้เลย
- สำหรับผู้ประกอบการที่จะผลิต/นำเข้าจำเป็นต้องทดสอบปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและมาตรฐาน
รายการทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
สามารถดูรายการทดสอบปุ๋ย ดิน น้ำ และวัตถุอันตรายทางการเกษตรได้ที่ ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025
สิ่งแวดล้อม
บริการด้านสิ่งแวดล้อม
การทดสอบด้านเคมี
เอมาร์คมีบริการทดสอบทางกายภาพ ฟิสิกส์ และเคมี ที่หลากหลาย ตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของสิ่งส่งตรวจ ดังนี้
- วิเคราะห์น้ำตามมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำอุปโภค น้ำบริโภค น้ำแข็ง ไอน้ำในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร และน้ำเสีย เป็นต้น
- สารตกค้าง เช่น ยาสัตว์ตกค้างในอาหาร และวัตถุอันตรายทางการเกษตรตกค้างในอาหาร และน้ำ
การทดสอบดินและน้ำ
สามารถดูรายการทดสอบดิน และน้ำได้ที่ สิ่งแวดล้อม
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025
หน่วยงานถ่ายโอนภารกิจ (Regulator)
การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์
มาตรวิทยาไฟฟ้า อุณหภูมิและความชื้น
บริการรับ-ส่งเครื่องมือและอุปกรณ์
มีบริการรับส่งเครื่องมือ หากลูกค้าสนใจสามารถแจ้งรับตัวอย่างได้กับเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์
วิธีการประเมินเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ Thermometer with Sensor หรือ Thermo-hygrometer
การประเมินคือให้นำค่า Correction ± Uncertainty ตัวอย่างเช่น
กำหนดให้เกณฑ์ในที่นี้คือ ±1ºC (Correction + Uncertainty) = 0.2 + 0.39 = 0.59 ºC และ (Correction – Uncertainty) = 0.2 – 0.39 = -0.19 ºC
ค่าที่ได้เมื่อรวมกันแล้วให้พิจารณาอยู่ในช่วง ± 1ºC คือ “ผ่าน” และหากผลการประเมินค่าแล้วไม่อยู่ในช่วง ±1ºC คือ “ไม่ผ่าน”
เครื่องมือ Thermometer with Sensor หรือ Thermo-hygrometer ประเมินแล้วไม่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ
ให้นำค่า Correction Value ไปใช้งาน โดยรวมกับค่าที่วัดได้ที่จุดนั้นๆ
จุดสอบเทียบ Thermo-hygrometer ที่ใช้วัดอุณหภูมิ/ความชื้น
ในกรณีที่ใช้วัดอุณหภูมิห้องปกติ ควรเลือกสอบเทียบอุณหภูมิ/ความชื้นอย่างละ 2-3 จุด ให้ครอบคลุมจุดที่ใช้งาน
ในกรณีที่สอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) ไม่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ
- พิจารณาว่าเกณฑ์การยอมรับเหมาะสมหรือไม่
- ทำการปรับตั้งค่าเครื่องมือหรือทำการ Modified
การทวนสอบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)
ควรติดตั้ง Thermometer with Sensor ที่มีค่าAccuracy ดีกว่าตู้ Chamberไว้วัดค่าที่บริเวณตรงกลางของตู้
วิธีการประเมินผลการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)
จากผลการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) ให้นำค่าผลการวัด Measured temperature (ºC) at spread location แต่ละตำแหน่ง #1,#2,#3,#4,#5,#6,#7,#8,#9 ± ด้วยค่า Uncertainty แล้วดูว่าจุดไหนมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์การยอมรับสามารถใช้งานได้ และมากกว่าเกณฑ์การยอมรับ ถือว่า “ไม่ผ่าน” และไม่สามารถใช้งานจุดนั้นได้ให้ดำเนินการแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือทราบและระงับการใช้งานในจุดที่ไม่ผ่านเกณฑ์
ตัวอย่าง Measured temperature (ºC) at spread location ± Uncertainty= น้อยกว่าเกณฑ์ถือว่าผ่าน และสามารถใช้งานได้ในจุดนั้นๆของการประเมิน
จากเกณฑ์ในที่นี้คือ 45 ±3ºC เช่น 45+3 = 48 และ 45-3 = 42 นั่นหมายความว่า Measured temperature (ºC) at spread location ต้องอยู่ในช่วง 42 ถึง 48
เช่น (location+Uncertainty) = 45.30+1.02 =46.32 ºC และ (location-Uncertainty) 45.30-1.02 = 44.28 ºC และค่าที่ได้ให้พิจารณาอยู่ในช่วง 42 ถึง 48 ถือว่า “ผ่าน” และหากผลการประเมินค่าแล้วไม่อยู่ในช่วงถือว่า “ไม่ผ่าน””
การนำของออกจากตู้ เมื่อจะทำการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)
ต้องนำของออกจากตู้ เนื่องจากการวางสิ่งของภายในตู้ ทำให้การไหลเวียนของอากาศไม่ทั่วถึง และสิ่งของภายในตู้มีการดูดกลืนอุณหภูมิภายในตู้ ทำให้ผลการวัดผิดพลาด
การสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) เมื่อจุดที่สอบเทียบใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง
ควรปรับอุณหภูมิห้องให้ต่ำกว่าอุณหภูมิที่จะสอบเทียบ อย่างน้อย 5 ºC เช่น ต้องการสอบเทียบอุณภูมิ 30 ºC อุณหภูมห้องจะต้องปรับลงให้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 25 ºC
น้ำที่ใช้เติมระหว่างการใช้งาน Autoclave
ควรใช้ น้ำกลั่น หรือน้ำ RO (Reverse Osmosis Water) เพื่อลดคราบตะกรันที่จะเกาะติดเครื่องมือ
วิธีการเลือกแล็บสอบเทียบ
พิจารณาจากค่า CMC ของแล็บสอบเทียบ โดย CMC ควรมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์การยอมรับเป็น 1 ใน 3 (CMC คือ Calibration and Measurement Capability)
มาตรวิทยาปริมาตรและเคมี (Volumetric and Chemical Metrology)
การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรแล้ว
เบื้องต้นเครื่องแก้ววัดปริมาตรจะมีค่า Tolerance ติดอยู่บนเครื่องแก้ว การประเมินคือให้นำค่า error มารวมกับค่า Uncertainty ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่อยู่บนเครื่องแก้ว
หากบนเครื่องแก้วไม่มีค่า Tolerance ให้ไปดูที่มาตรฐาน ASTM E287-ISO385 Burette, ASTM E969 Volume pipette, ISO1042 Flask, ISO4788 Cylinder
การใช้งานของเครื่องแก้ว เมื่อไม่ผ่านตามเกณฑ์
เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์นั้น ยังคงสามารถใช้งานได้อยู่ โดยการปรับ class ของเครื่องแก้วใหม่ จาก Class A ก็เปลี่ยนไปเป็น Class B, จาก Class B ก็นำไปใช้ในงานที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงมาก
การส่งเครื่องแก้วมาสอบเทียบ
ตามข้อแนะนำทั่วไปในการตรวจประเมินด้านวิชาการสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเคมีและที่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- เครื่องแก้ว Class A ใช้วิธีการสุ่ม 10%
- เครื่องแก้ว Class B สอบเทียบทุกเครื่องมือ
เครื่องมือในการทวนสอบเครื่องแก้ววัดปริมาตร (Intermediate check)
การทวนสอบ/สอบเทียบ เครื่องแก้ววัดปริมาตร ใช้เครื่องชั่งเป็น Standard หลักในการสอบเทียบ การเลือกเครื่องมือนั้น Standard นั้นค่า Accuracy ควรดีกว่า เครื่องมือที่ต้องการทวนสอบ อย่างน้อย 3 ถึง 10เท่า เช่น Flask มีค่า Tolerance ± 0.1 mL เครื่องชั่งก็ควรมี Accuracy 0.01 g หรือมีค่าอ่านละเอียด 0.01 g
การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ Piston pipette, Dispenser, Piston Burette
ในการประเมินเครื่องมือเครื่องมือทั้ง 3 ชนิดนี้จะใช้เกณฑ์มาตรฐาน ISO/IEC 8655 ในการประเมินให้ดูค่า Systematic error และ Random error เทียบกับเกณฑ์ในตาราง ISO/IEC 8655
การส่งสอบเทียบ Piston pipette, Dispenser, Piston Burette
ในมาตรฐาน ISO/IEC 8655 ระบุไว้ว่าให้สอบเทียบที่ 10%, 50% และ 100% ของ nominal Volume( nominal Volume ค่าปริมาตรสูงสุดของเครื่องมือ เช่น 10-100µl nominal Volume คือ 100µl ) หรือลูกค้าสามารถสอบเทียบที่จุดใช้งาน ของลูกค้าที่ใช้เป็นประจำได้อีกเช่นกัน
การแก้ไขเบื้องต้นหากเกิดการรั่วหลังจากใช้ Piston pipette
เครื่องมือที่ใช้ไปเป็นเวลานั้นมักจะเกิดการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน การใช้งานที่ไม่เหมาะสม การดูดสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้ O-ring เสื่อมสภาพ จะต้องมีการทำเปลี่ยน O-ring และควรทำ Preventive maintenance เครื่องมือ อย่างน้อยทุกๆ 6เดือนเพื่อเป็นการรักษาเครื่องมือและให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา
เมื่อใช้ pH meter หรือ Conductivity meter แล้วค่าที่วัดไม่นิ่ง
- Electrode สกปรกหรือมีคราบมันติดอยู่ที่ปลายของ Probeให้ทำการล้าง Electrode ด้วยน้ำยาล้าง Electrode หรือ แช่ในน้ำอุ่นประมาณ 30 นาทีแล้วจึงทำการวัดใหม่
- ในการวัดค่าตัวอย่างแล้ว ค่าไม่นิ่งอ่านนานกว่าปกติ ให้ทิ้งตัวอย่างที่วัดค่า ไว้ในอุณหภูมิห้องจนค่าคงที่แล้วถึงทำการวัดค่าซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากอุณหภูมิของตัวย่างมีผลต่อการวัดค่า pH meter หรือ Conductivity meter
การเปลี่ยน Electrode pH meter
ควรเปลี่ยน Electrode หากหลังจากการทวนสอบหรือสอบเทียบ pH meterแล้ว ค่า %Slope ต่ำกว่า 95% หรือ สูงเกิน 105% หรือ วัดค่าได้ไม่ตรงกับค่า Buffer Standard ตาม Spec ของผู้ผลิต
การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ pH meter
ให้ดูเอกสาร Reference Standard ของวิธีทดสอบของลูกค้าว่ามีระบุไว้หรือไม่ ถ้าไม่มี จะมีมาตรฐานอยู่ตัวหนึ่งที่ให้ในการทดสอบทางงานยา คือเอกสาร USP จะระบุไว้ว่าหลังการทวนสอบ/สอบเทียบแล้ว จะต้องอ่านค่าได้ไม่เกินค่า ±0.05 pH และ %slope 90-105 (2018 USPC Official 5/1/17 – 7/31/17 General Chapters: <791> pH)
มาตรวิทยาเชิงกล (Mechanical Metrology)
ความถี่ในการสอบเทียบเครื่องชั่ง
ปกติเครื่องชั่งจะต้องสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้ทราบถึงค่าความถูกต้องแม่นยำรวมถึงการปรับตั้งเครื่องชั่งใหม่ หากเครื่องมีค่าความผิดพลาด
การเลือกสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการติดตั้งเครื่องชั่ง
- โต๊ะหรือพื้นสำหรับวางเครื่องชั่ง โต๊ะหรือพื้นสำหรับเครื่องวางเครื่องชั่งจะต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ยุบตัว ไม่สั่นสะเทือน ไม่มีความเป็นแม่เหล็ก เช่น แผ่นหินอ่อนหรือหินแกรนิตทีมีความหนาไม่น้อยกว่า 40 มิลลิเมตร ไม่ควรทำด้วยแผ่นไม้ที่มีโอกาสแอ่นตัวหรือแผ่นเหล็ก เนื่องจากเครื่องชั่งบางชนิดอาจถูกรบกวนจากความเป็นแม่เหล็กของส่วนประกอบที่เป็นเหล็กได้
- ห้องเครื่องชั่ง
ห้องเครื่องชั่งควรอยู่ในบริเวณที่ปราศจากการสั่นสะเทือนซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆเช่นการทำงานของเครื่องจักร หรือการจราจร พื้นห้องไม่ควรทำด้วยไม้แต่ควรเป็นพื้นคอนกรีตมีพื้นและผนังเรียบไม่ควรปูพรมหรือติดม่านเพื่อลดบริเวณที่ จะเกิดฝุ่นสะสม และสะดวกต่อการทำความสะอาด
· ควรมีประตูเข้า – ออกเพียงด้านเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสลมและฝุ่น
· ควรมีส่วนที่เป็นหน้าต่างน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด และความร้อนจากภายนอก
· หากเป็นห้องที่มีระบบปรับอากาศ จะต้องปรับทิศทางของกระแสลมจากระบบปรับอากาศให้ไม่ผ่านตรง ไปยังเครื่องชั่ง
· แสงสว่าง ตำแหน่งที่วางเครื่องชั่งควรจะเป็นตำแหน่งที่ไม่รับแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เครื่องชั่งร้อนและชั่งน้ำหนักผิดพลาดได้ การจัดแสงสว่างภายในจะต้องติดตั้งหลอดไฟฟ้าให้ห่างจากเครื่องชั่งพอสมควร เพื่อลดผลกระทบของความร้อน จากหลอดไฟฟ้า - อุณหภูมิ
อุณหภูมิภายในห้องเครื่องชั่งควรจะมีค่าคงที่ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาใช้งาน จะทำให้เครื่องชั่งแสดงค่าผิดพลาดได้ถึง 1-2 ส่วนในล้านส่วนต่อองศาเซลเซียส - ความชื้น
ความชื้นภายในห้องเครื่องชั่งที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 45% ถึง 60% ขณะใช้งานเครื่องชั่งความชื้น จะต้องไม่มีการแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะส่งผลกระทบกับผลของการชั่งได้กับเครื่องชังที่มีค่าความถูกต้องสูงๆ - อากาศ
กระแสลมบริเวณรอบๆ เครื่องชั่งเป็นสิ่งที่รบกวนการทำงานของเครื่องชั่ง ดังนั้นไม่ควรวางเครื่องชั่งใกล้กับบริเวณเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องมือที่มีพัดลม - สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
สำหรับบริเวณที่วางเครื่องชั่งอิเลคทรอนิกส์ ควรตรวจสอบการรบกวนและความผิดพลาดของเครื่องชั่ง ที่อาจเกิดจากสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้เครื่องควรคำนึงถึงสัญญาณรบกวนที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องมือต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงดังนี้ ตู้อบที่ใช้ระบบการเหนี่ยวนำไฟฟ้า การเปิดสวิทซ์เครื่องจักร เตาอบ เตาเผา หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ให้ความร้อน อาจทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้ารบกวนไปตามสายไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุสื่อสารชนิดต่างๆ อาจทำให้เกิดสัญญาณรบกวนซึ่งสามารถเปลี่ยนตัวเลขแสดงค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งได้
การกำหนดเกณฑ์การยอมรับตุ้มน้ำหนัก
ในการกำหนดเกณฑ์การยอมรับของตุ้มน้ำหนักจะอ้างอิงมาตรฐานระหว่างประเทศ OIML R111-1
เอกสารอ้างอิงที่ใช้สำหรับการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก
ในการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักเอกสารอ้างอิงที่ใช้จะอ้างอิงมาตรฐานระหว่างประเทศ OIML R111-1
วิธีการใช้งานและดูแลบำรุงรักษาตุ้มน้ำหนัก
- เก็บตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไว้ในกล่องหรือภาชนะที่ทำด้วยไม้หรือพลาสติก ซึ่งจัดไว้เพื่อป้องกันตุ้มน้ำหนักมาตรฐานจากฝุ่นและความชื้น และหลีกเลี่ยงการเก็บตุ้มน้ำหนักมาตรฐานในบริเวณที่มีความเข้มสนามแม่เหล็กสูง
- ควรดูแลตุ้มน้ำหนักมาตรฐานให้สะอาดอยู่เสมอ จะต้องไม่จับตุ้มน้ำหนักมาตรฐานด้วยมือเปล่า แต่ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับหยิบยก ถุงมือ หรือปากคีมจับตุ้มน้ำหนักโดยให้ส่วนที่สัมผัสตุ้มน้ำหนักทำหรือหุ้มด้วยวัสดุที่ไม่ขูดขีดตุ้มน้ำหนัก เช่น พลาสติก หนังและผ้าฝ้าย
- ต้องระวังไม่ให้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานตกหรือหล่น
- พื้นสำหรับวางตุ้มน้ำหนักมาตรฐานจะต้องสะอาด เรียบหรือนุ่ม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตุ้มน้ำหนักเปื้อนหรือเกิดรอยขีดข่วน
- เพื่อไม่ให้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานเกิดการสึกหรอระหว่างการใช้งานในการเลื่อนตำแหน่งของตุ้มน้ำหนักบนจานควรใช้ วิธียกขึ้นแล้ววางลง ณ ตำแหน่งที่ต้องการไม่ควรใช้วิธีเลื่อน
เครื่องมือแพทย์
การบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์
เครื่องมือแพทย์และเครื่องมืออื่นๆ ควรได้รับการตรวจเช็คตามระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเครื่องมือทั่วไปควรได้รับการตรวจเช็คอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้งโดยการบำรุงรักษาจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน
มาตรฐานเครื่องมือแพทย์
การตรวจเช็คทั่วไปจะเป็นการตรวจเช็คภายนอกด้วยสายตา (Visual Check) ใช้การฟังเสียงแจ้งเตือน การแสดงบนหน้าจอว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง จากนั้นจะทำการทดสอบวัดค่าในช่วงค่าต่ำ ค่ากลาง และค่าสูง เพื่อยืนยันผลการวัดว่าอยู่ในเกณฑ์ และมีการออกใบรายงานผลการทดสอบ และมาตรฐานที่นำมาใช้คือ ECRI (Emergency Care Research Institute)
การตรวจเช็คเครื่องมือที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน
เครื่องมือแม้จะมีการใช้งานที่น้อยกว่าเครื่องมืออื่นๆ ก็ควรจะได้รับการบำรุงรักษาและทดสอบค่าอย่างสม่ำเสมอ
ความถี่ในการตรวจเช็คเครื่องมือ
กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงสูงจำได้รับการตรวจเช็คและบำรุงรักษาที่ถี่กว่ากลุ่มความเสี่ยงอื่นๆ เครื่องมือจะแบ่งประเภทตามความเสี่ยง ดังนี้
- กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงสูง
- กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงปานกลาง
- กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงต่ำ
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการทดสอบหรือบำรุงรักษา
ทางทีมทดสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์จะติดสติกเกอรที่บอกสถานะว่าได้ทำการทดสอบและบำรุงรักษาวันที่เท่าไหร่และครั้งต่อไปวันที่เท่าไหร เลขรหัสเครื่องมืออะไร และเลขใบรายงานผล ข้อมูลทั้งหมดจะเขียนบนสติกเกอร์เพื่อให้ลูกค้าได้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
เครื่องมือเสียหรือชำรุด
เบื้องต้นควรแจ้งทางทีมช่างเครื่องมือแพทย์ให้มาดูอาการของเครื่องมือ หากเครื่องมือแก้ไขไม่ได้ อาจจะต้องหยุดการใช้งานเครื่องและอาจจะหาเครื่องมือมาทดแทน
เครื่องมือวัดค่าไม่ตรง
เครื่องบางยี่ห้อต้องใช้ Accessories ยี่ห้อเดียวกันเท่านั้นถึงจะวัดค่าได้แม่น
เครื่องมือแพทย์ที่เอมาร์คได้การรับรองมาตรฐาน
มีเครื่องมือที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ด้านการทดสอบคือเครื่องวัดความดันโลหิตเชิงกล (Sphygmomanometer Mechanical) และเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Sphygmomanometer Automated)
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการสอบเทียบ
หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 170255
การตรวจและการรับรอง
บริการตรวจรับรอง
บริการของหน่วยตรวจและรับรอง
สามารถดูบริการของหน่วยตรวจและรับรองได้ที่ การตรวจและการรับรอง
ประโยชน์จากการได้รับการรับรอง
สร้างความน่าเชื่อถือ ใช้ประโยชน์ในการส่งออก เพิ่มมูลค่าสินค้าในการขายเข้า Modern trade
ระยะเวลาในการตรวจประเมิน
1-2 วัน แล้วแต่ขนาดพื้นที่ของผู้ยื่นคำขอ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นกรณีไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหลักได้ภายในเวลาที่กำหนด
หากไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหลัก (NC) ได้ภายในเวลาที่กำหนด จะไม่ได้รับใบรับรอง และต้องทำการตรวจประเมินใหม่
ระยะเวลาการออกใบรับรองหลังจากการตรวจประเมิน
45 วันทำการ
อายุใบรับรอง
- GAP, GMP, GHPs และ HACCP มีอายุ 3 ปี
- Organic มีอายุใบรับรองระยะปรับเปลี่ยน 1 ปี สำหรับการตรวจประเมินครั้ง และจะมีอายุใบรับรอง Organic 1 ปี
การตรวจติดตาม (Surveillance Audit)
หลังจากได้รับการรับรอง จะมีการตรวจติดตามอย่างน้อยปีละหนึ่งตลอดระยะเวลาของใบรับรอง หากไม่ยินยอมให้เข้าตรวจติดตาม จะไม่สามารถใช้ใบรับรองต่อได้ เนื่องจากไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรอง
การต่ออายุการรับรอง
สามารถยื่นเอกสารก่อนใบรับรองหมดอายุ 180 วัน
ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการตรวจรับรอง
พืชและพืชอินทรีย์
- GAP
-
- มกษ.1000-2546 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับลำไย
- มกษ.1001-2551 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม
- มกษ.2500-2548 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหน่อไม้ฝรั่ง
- มกษ.2501-2548 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกระเจี๊ยบเขียว
- มกษ.2503-2550 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดฝักอ่อน
- มกษ.3502-2561 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร
- มกษ.4400-2552 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย
- มกษ.4401-2551 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว
- มกษ.4402-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง
- มกษ.5901-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง
- มกษ.5902-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน
- มกษ.9001-2556 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร
- ORG
- มกษ.9000-2564 : เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์
สัตว์น้ำ
-
- มกษ.7401-2565 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
- มกษ.7417-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
- มกษ.7421-2561 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด
- มกษ.7422-2561 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
- มกษ.7426-2555 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มสัตว์น้ำจืดสวยงาม
- มกษ.7429-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล
- มกษ.7436-2563 : การปฎิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค
- มกษ.7438-2565 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค
- มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ.2553 กรมประมง (กุ้งทะเล และสัตว์น้ำจืด)
- มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. 2553 กรมประมง (กุ้งทะเล และสัตว์น้ำจืด)
ความปลอดภัยอาหาร
-
- มกษ.1004-2557 : หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- มกษ.4403-2553 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว
- มกษ.6401-2558 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ
- มกษ.7420-2552 : การปฏิบัติที่ดีด้านสุขลักษณะสำหรับการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น
- มกษ.9023-2550 : หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร
- มกษ.9024-2550 : ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้
- มกษ.9035-2553 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด
- มกษ.9039-2556 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตผักและผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค
- มกษ.9041-2557 : หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรแช่เยือกแข็ง
- มกษ.9046-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง
- มกษ.9047-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด
- The General Principles of Food Hygiene : Good Hygiene Practices (GHPs) and the Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1-1969), Revised in 2020
สิ่งแวดล้อม
- Carbon Footprint
- อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- การเกษตร ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- กิจกรรมการบริการทั่วไป (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว
- กิจกรรมดำน้ำ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- สถานพักตากอากาศ (รีสอร์ท) ระดับ 1-4 ดาว (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม
ระบบการบริหารคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการ
การปรับปรุงระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Process Improvement: CPI) สำหรับห้องปฏิบัติการ
ห้องปฎิบัติการจำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนา แล้วกำหนดเป็นแผนปรับปรุง ห้องปฏิบัติการสามารถปรับปรุงประสิทธิผลของระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ผลการตรวจติดตามคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติการแก้ไข การปฏิบัติการป้องกัน และการทบทวนการบริหาร
จุดประสงค์การขอการรับรอง ISO/IEC 17025
เพื่อเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าระบบการบริหารงานของห้องปฏิบัติการความน่าเชื่อถือเป็นไปตามสากล และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิชาการ
การตรวจติดตามคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
เอมาร์คให้บริการตรวจติดตามคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025:2017 ครอบคลุมทั้งด้านจุลชีววิทยาและเคมี
การควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพผลการทดสอบตาม ISO/IEC 17025
- Internal quality control เช่น Sample blank, QC Sample, Internal control
- External quality control เช่น เข้าร่วมกิจกรรม Interlab comparison และ PT Provider
การให้บริการด้านการอบรม
บริการฝึกอบรมด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ หรือวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- ISO/IEC 17025:2017
- การจัดทำเอกสารตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025:2017
- Method of Validation
- Uncertainty of Measurement
- การตรวจติดตามคุณภาพภายใน
- การควบคุมคุณภาพของการทดสอบ
- การจัดการเครื่องมือตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017
- การตีความรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด
การฝึกอบรมกระบวนการทดสอบความปลอดภัยอาหาร
ให้บริการการฝึกอบรมกระบวนการทดสอบความปลอดภัยอาหาร โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอก