ปลอดสารพิษ และ ออร์แกนิก แตกต่างกันอย่างไร

ทำความรู้จักผัก ปลอดสารพิษ และ ออร์แกนิก แตกต่างกันอย่างไร?

ถึงแม้ คำว่า ปลอดสารพิษ และ ออร์แกนิก จะแพร่หลายอย่างมากขึ้นในกลุ่มคนทั่วไปและในกลุ่มคนรักสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจในเรื่องนี้กันมากขึ้นซึ่งมาจากหลายสาเหตุ อย่างไรก็ตามความรู้ด้านนี้อาจยังไม่เป็นที่รู้กันทั่วถึงหรือเข้าใจกันมากนัก บางท่านอาจเข้าใจว่าปลอดสารพิษ เป็นออร์แกนิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบ ปลอดสารพิษ หรือออร์แกนิกนั้น หากเรารับประทานสิ่งที่ปลอดสาร นั่นย่อมดีกว่ามีสารตกค้างหรือสารปนเปื้อน เป็นที่แน่นอน
salad

แล้ว ปลอดสารพิษ คืออย่างเดียวกับ ออร์แกนิก ไหม?

ผักปลอดสารพิษ คืออะไร?

โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ให้คำนิยามว่า ผักปลอดสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ให้เว้นช่วงการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งผลผลิตที่ได้ยังมีสารเคมีตกค้าง แต่ไม่เกินในปริมาณที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยให้มีการขอใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ใบรับรองผักปลอดสารพิษ

โดยหลักแล้วประเภทของ ผักปลอดสาร แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. ผักปลอดสารเคมี (PESTICIDE FREE)

การปลูกผักปลอดสารเคมีประเภทแรกนี้จะเน้นการควบคุม การใช้สารเคมีในการปลูก แต่จะไม่ใช้สารเคมีใน การกำจัดแมลง (จะยังคงใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมน เร่งผลผลิต) หากแต่เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจะต้องมีสารเคมี ตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยมีหน่วยงานรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าไม่มี สารตกค้างเกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จึงแน่ใจว่าเป็นผักปลอดสารเคมี

2. ผักอนามัย (PESTICIDE SAFE)

ผักอนามัยหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ผักกางมุ้ง” เป็นผักที่ยังคงใช้สารเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและใช้สารกำจัดแมลง แต่จะเป็นสารเคมีที่มีพิษตกค้างในระยะสั้น และหยุดฉีดพ่นสารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ การปลูกผักประเภทนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ การปลูกโดยใช้มุ้งตาข่ายหรือการกางมุ้ง และอีกแบบคือการปลูก แบบไม่ใช้มุ้งตาข่าย แต่เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือเน้นปลูกผักตามฤดูร่วมกับผักประเภทกะหล่ำปลี ตั้งโอ๋ ซึ่งช่วยลดการระบาดของแมลง และยังเป็นผลดีต่อการตลาด เพราะมีผักหลายชนิดจำหน่าย ส่วนการรับรองมาตรฐานจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผักปลอดสารพิษ

3. ผักเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC FARMING)

เรารู้จักผักชนิดนี้ในชื่อเรียกว่า “ผักออร์แกนิก” เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ : GMO) ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือฮอร์โมนต่าง ๆ การผลิตผักประเภทนี้จะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการกำจัดศัตรูพืชจะใช้สารเคมีที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่น สะเดา โล่ติ๊น จึงปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

4.ผักไฮโดรโปนิกส์ (HYDROPONICS)

การปลูกผักประเภทนี้เป็นการปลูกโดยใช้น้ำแทนดิน โดยผสมอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตลงในน้ำ รากพืชที่สัมผัสน้ำจะดูดซึมสาร อาหารที่สะสมไว้ที่ใบ ส่วนรากที่ไม่สัมผัสน้ำจะทำหน้าที่รับออกซิเจน ผักที่นิยมปลูกประเภทนี้ เป็นผักสลัดพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ

ออร์แกนิก คืออะไร ?

ผักออร์แกนิกนั้นปลูกด้วยวิธีธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่สัมผัสการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกขั้นตอนการผลิต ปลูกตามฤดูกาลที่เหมาะสมของพืชชนิดนั้นๆ เพื่อให้เติบโตอย่างเป็น ‘ธรรมชาติ’ ที่สุด อาทิ การใช้สมุนไพรธรรมชาติในการไล่ศัตรูพืชแทนที่ยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี และแน่นอนว่ารวมถึงการไม่ใช้เมล็ดพืชที่ตัดต่อพันธุกรรมมาแล้วเพื่อให้ได้สายพันธุ์ตามธรรมชาติ เท่านั้นไม่พอ ความออร์แกนิกนี้ยังรวมไปถึงการจัดส่งไปจนถึงการจำหน่ายว่าต้องสดใหม่และไม่ปนเปื้อนสารเคมีใดๆ และด้วยการผลิตที่อาจยุ่งยากกว่าการใช้ทางลัด เพราะต้องคำนึงหลายปัจจัย นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมพืชผักออร์แกนิกถึงมีราคาสูงกว่าปกติ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่เราแทบจะไม่เห็นว่าถูกกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตามท้องตลาดเลยนั่นเอง

organic GMP

เมื่อปี 2016 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN ได้แถลงข่าวการสุ่มตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ และพบสารเคมีปนเปื้อนตกค้างจำนวนไม่น้อยในผักตามท้องตลาดของไทย กระทั่งผักปลอดสารพิษและผักที่ระบุตนว่าเป็น ‘ออร์แกนิก’ แม้ว่าเกษตรกรผู้ผลิตจะไม่ได้ใช้สารเคมีดังกล่าวก็ตาม เหตุผลก็เพราะมีการปนเปื้อนสารเคมีในระบบนิเวศอยู่ดั้งเดิม ทั้งในดิน น้ำ และอากาศ จากการใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 50 ปี นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ตรวจพบการตกค้างของสารเคมีการเกษตรในผลผลิตเกษตรอินทรีย์

แม้ระดับการปนเปื้อนดังกล่าวจะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับระดับ MRL (Maximum Residue Level หรือปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในการตรวจสอบ) อันเป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่สามารถมีได้ทั้งในผัก ผลไม้ รวมไปถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่อาจมีการตกค้างจากสารเคมีเกษตรทางอ้อม อาทิ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่อาจได้รับสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนจากอาหารสัตว์ รวมไปถึงนมที่เราดื่มก็เช่นกัน

ดังนั้นอาหารออร์แกนิกจึงเป็นมากกว่าแค่ ‘ปลอดสารพิษ’ จากเกษตรกร โดยสมาคมผืนดินอินทรีย์ (Organic Soil Association) ระบุไว้ว่า ‘อาหารอินทรีย์หรือออร์แกนิกทุกอย่างจะต้องสามารถติดตามและระบุได้ว่ามาจากแหล่งใดนับตั้งแต่จากไร่ไปจนถึงบนจานอาหาร เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค โดยมาตรฐานของอาหารออร์แกนิกยังต้องตรงตามข้อกำหนดของกฎหมายของประเทศนั้นๆ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และไม่เฉพาะต่างจากอาหารที่ไม่เน้นกระบวนการอินทรีย์เท่านั้น อาหารออร์แกนิกนั้นผลิตโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ใช้พลังงานในการผลิตไม่มาก และเคารพในธรรมชาติ’

สำหรับในบ้านเรา ทุกวันนี้ยังคงไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้คำว่า ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ หรือ ผลผลิตอินทรีย์ (Organic Product) บนฉลากผลิตภัณฑ์ ตรารับรองน่าเชื่อถือหรือไม่ หรือเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นเราจึงสามารถดู 3 ข้อเบื้องต้นได้คือ

1. ขอบเขตรับรองอะไร หมายถึงขอบเขตการรับรองครอบคลุมอะไรบ้าง

2. ใช้เกณฑ์มาตรฐานของใครเป็นตัววัด หมายถึง เนื่องจาก เกณฑ์วัดมาตรฐานมีหลากหลายประเภท ผู้บริโภคควรตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานแต่ละประเภทที่ต้องการบริโภค

3. ใครเป็นผู้ตรวจรับรอง หมายถึง ควรดูว่าหน่วยงานที่รับรองมีความน่าเชื่อถือและเป็นกลางในการออกใบรับรองมากน้อยเพียงใด

vegetable

ผักปลอดสารและผักออร์แกนิก ดีกว่าผักทั่วไป ?

สำหรับการเลือกสินค้า ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือ เครื่องอุปโภค บริโภค ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดการรับสารเคมีต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย ดังที่กล่าวไปข้างต้น ผักปลอดสารพิษมีหลายแบบตั้งแต่มีสารเคมีในระดับต่ำไปจนถึงไม่มีสารเคมีเลย หรือเป็นระบบ Organic ที่ปลอดภัยตั้งแต่ระบบปลูกจนถึงจานของเรา ซึ่งแน่นอนว่าย่อมดีกว่าผักทั่วไปในเรื่องของความปลอดภัยนั่นเอง โอกาสที่จะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีในปริมาณสูงเป็นไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยปกป้องดูแลร่างกายของเราให้ห่างไกลจากการสะสมสารเคมีตกค้างที่อยู่ในผักเป็นระยะเวลายาว ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือตัวผู้ผลิตเอง

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ผักปลอดสารพิษ และผักออร์แกนิกดังนี้

บริการตรวจรับรอง GAP มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.)

1. มกษ.9000-2564 เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์

บริการตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน ในประเภทตัวอย่าง ดิน น้ำ พืช ผัก ผลไม้ รายการดังนี้

1. บริการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้าง ที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (Pesticide residue) เช่น สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide) เช่น กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine group), กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate group), กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate group) และกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids group)

2. บริการตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก เช่น สารหนู (Arsenic), แคดเมียม (Cadmium) และตะกั่ว (Lead) เป็นต้น

3. บริการตรวจวิเคราะห์พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) โดยรายการนี้ตรวจในกลุ่ม พืช ผัก ผลไม้

บริการตรวจวิเคราะห์อาหารสัตว์ ดังนี้

1. ตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (Pesticide residue) เช่น สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide) เช่น กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine group), กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate group), กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate group) และกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids group)

2. ตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก เช่น สารหนู (Arsenic), แคดเมียม (Cadmium) และตะกั่ว (Lead) เป็นต้น

3. ตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์ตกค้าง เช่น

  • Chloramphenicol
  • Tetracycline group (Chlortetracycline / Oxytetracycline/ Tetracycline)
  • Nitrofuran (Parent Drug) มีสาร Nitrofurazone (NFZ), Nitrofurantoin (NFT), Furazolidone (FZD), Furaltadone (FTD)
  • Nitrofurans (Metabolite) มีสาร Semicarbazide (SEM), 1-Aminohydantoin (AHD), 3-Amino-5-Methyl-morpholino-2-oxazolidinone(AMOZ), 3-Amino-2-oxazolidinone (AOZ)

บริการตรวจวิเคราะห์เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง (Pesticide residue) เช่น กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine group), กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate group), กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate group) และกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids group) เป็นต้น

2. ตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก เช่น สารหนู (Arsenic), ตะกั่ว (Lead), ปรอททั้งหมด (Mercury) และดีบุก (Tin) เป็นต้น

3. ตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์ตกค้าง เช่น

  • Amoxicillin,
  • Chloramphenicol
  • Erythromycin
  • Nitrofuran (Parent Drug) มีสาร Nitrofurazone (NFZ), Nitrofurantoin (NFT), Furazolidone (FZD), Furaltadone (FTD)
  • Nitrofurans (Metabolite) มีสาร Semicarbazide (SEM), 1-Aminohydantoin (AHD), 3-Amino-5-Methyl-morpholino-2-oxazolidinone(AMOZ), 3-Amino-2-oxazolidinone (AOZ)
  • Tetracycline group (Chlortetracycline / Oxytetracycline/ Tetracycline)
  • Sulfonamides group

ตรวจวิเคราะห์ด้านประมง ดังนี้

1. กุ้งทะเล ปลาทะเล กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด และสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคทุกชนิด ตรวจวิเคราะห์ ยาสัตว์ตกค้าง จำนวน 8 รายการดังนี้

  • Chloramphenicol
  • Chlortetracycline
  • Oxytetracycline
  • Oxolinic acid
  • Nitrofurans
  • Fluoroquinolones
  • Malachite-green & Leuco malachite-green
  • Tetracycline

 
2. ตัวอย่างน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 9 รายการดังนี้

  • Dissolved Oxygen (DO)
  • pH
  • Temperature
  • Transparency
  • Suspended Solids
  • Alkalinity
  • Hardness
  • Nitrite (NO2)
  • Total Ammonia (NH3-N)

 
3. น้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยง จำนวน 7 รายการดังนี้

  • Biochemical Oxygen Demand (BOD)
  • Suspended Solids
  • Total Ammonia (NH3-N)
  • Total Phosphorus
  • Total Nitrogen
  • Hydrogen sulfide (H2S)
  • pH

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : http://bit.ly/3Wrz24p
: http://bit.ly/3km9QPz
: http://bit.ly/3WoLodL
: http://bit.ly/3Dm6eE7