ผลิตภัณฑ์ ช็อกโกแลต กับเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

ช็อกโกแลต คือ อาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่ทำมาจากโกโก้ ซึ่งเป็นผลของพืชชนิดหนึ่งที่มีรสขม การผลิตช็อกโกแลตทำได้โดยนำผลโกโก้มาบดด้วยเครื่องปั่นจนกลายเป็นผง จากนั้นจึงนำผงโกโก้ที่ได้มาผสมกับวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อแต่งเติมกลิ่นและรสโดยเฉพาะรสหวาน เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน โดยการผลิตช็อกโกแลตออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เป็นส่วนหนึ่งของอาหาร ขนม เครื่องดื่ม หรือแม้แต่การแต่งกลิ่นน้ำหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ

 

ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ โกโก้เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (Cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำโกโก้เป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายาและชาวแอซเทคแห่งอารยธรรมเมโสอเมริกาคนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อนนอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย

โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากทั้งโลกได้รู้จักต้นคาเคา (Cacao) แล้ว นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ลินนีอุส ผู้ตั้งชื่อและจัดระเบียบ พีชพันธุ์ต่างๆ ในโลก ได้ตั้งชื่อโกโก้ (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตช็อกโกแลต) ว่า “เทโอโบรมา คะคาโอ” (Theobroma cacao) คำว่า เทโอโบรมานั้น เป็นภาษากรีก แปลว่า “อาหารแห่งเทพ” สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทางคือ ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า “ช็อกโกลัจ” ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่า น่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ “chocol” แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า “atl” ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป

ปัจจุบันช็อกโกแลตได้รับความนิยมไปทั่วโลก และ นอกจากจะเป็นของหวานยอดนิยมตลอดปีไม่มีตกยุคแล้วยังเป็นสื่อสากล ทั้งทางยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น รวมทั้งเมืองไทยที่มอบให้กันแทนความรู้สึกดีๆ เช่น แทนคำขอบคุณ น้ำใจไมตรี มิตรภาพและความรัก เป็นต้น นอกจากความอร่อยที่เราทราบกันดี นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักต่างสนใจค้นหาประโยชน์ของช็อกโกแลต และพบว่า ในขนมหวานสีน้ำตาลดำชนิดนี้มีคุณค่านานาแฝงอยู่ สารสำคัญที่พบในช็อกโกแลตมีหลายชนิด แต่หลักๆ ที่สำคัญและมีประโยชน์มาก คือ ฟลาโวนอยด์ ซึ่งจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่มากมายในเมล็ดโกโก้ จึงเป็นยาวิเศษขนานหนึ่งที่ทำให้คนที่กินช็อกโกแลตอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจและมะเร็งได้

Cacao Fruits On Tree

ศาสตราจารย์โรเจอร์ คอร์เดอร์ นักวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยลอนดอน ศึกษาเกี่ยวกับวิจัยนี้พบว่า ในช็อกโกแลตดำ (Dark Chocolate) มีสารโกโก้ฟาโวนอยด์ สูงกว่าช็อกโกแลตอื่นๆ สารนี้ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิต เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง ป้องกันเลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม ลดเสี่ยงเส้นเลือดในสมองอุดตัน ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย นอกจากนี้ในช็อกโกแลตยังอุดมด้วย “กรดอะมิโนทริปโตแฟน” ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข “เซโรโทนิน” ออกมาละลายความตึงเครียดและแทนที่ด้วยความรู้สึกสุขสดชื่น งานวิจัยของศาสตราจารย์คาร์ล คีน และคณะจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ทดลองให้อาสาสมัคร 30 คน ดื่มเครื่องดื่มทุกชนิด ได้แก่ น้ำ, โก้โก้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยดื่มครั้งละ 1 ชนิด ในช่วงเวลาต่างกันตามที่กำหนด และต้องเจาะเลือดออกมาตรวจทุกครั้งทั้งก่อนและหลังดื่ม พบว่า ทุกครั้งหลังจากดื่มโกโก้ เกล็ดเลือดของอาสาสมัครทุกคนจับตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนน้อยกว่าเมื่อดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มคาเฟอีนชนิดอื่น แสดงให้เห็นว่าโกโก้สามารถป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มจนทำให้เส้นเลือดตีบตัน จึงช่วยลดภาวะเส้นเลือดอุดตันและลดความเสี่ยงหัวใจวายกะทันหันได้
ส่วน ดร.ไบรอัน เราเดนบุช จากมหาวิทยาลัยวีลลิง เยซูอิต สหรัฐฯ เผยความลับของช็อกโกแลตว่า มันเป็นแหล่งของสารกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าทุกครั้งที่กินเข้าไป เช่น ทีโอโบรมีน, ฟีนีไทลามีน, และคาเฟอีน ดร.เราเดนบุช ทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วัดการสั่งงานของสมองและทดสอบปฏิกิริยาต่างๆ ของอาสาสมัครที่กินช็อกโกแลตดำ, ช็อกโกแลตนม เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กินอะไรเลย ก็พบว่า กลุ่มที่กินช็อกโกแลตมีปฏิกิริยาตอบสนองดีกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่กินช็อกโกแลตนมจะตอบสนองในส่วนของความจำได้ดีกว่ากลุ่มอื่น

ทั้งนี้ทีมนักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ทดลองให้กลุ่มบุคคลที่แข็งแรงแต่สูบบุหรี่ กินช็อกโกแลตต่างชนิดกันเป็นประจำทุกวัน วันละ 40 กรัม ติดต่อกันในระยะเวลาที่กำหนด และควบคุมไม่ให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารอื่นๆ เลย กลุ่มบุคคลเหล่านี้ล้วนเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน แต่ภายหลังการทดลองทีมวิจัยพบว่า กลุ่มที่กินช็อกโกแลตดำ ซึ่งมีเนื้อโกโก้อยู่ 74% มีระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่มที่กินช็อกโกแลตขาวกลับไม่มีผลอันใดเลย พวกเขาจึงสรุปว่า กินช็อกโกแลตดำวันละนิดช่วยให้จิตผ่องใสและห่างไกลจากโรคภัยได้ ดังนั้น หากจะกินช็อกโกแลตแล้วให้ได้ประโยชน์มากกว่าโทษ ก็ควรจะเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของไขมันและน้ำตาลต่ำแต่มีปริมาณโกโก้สูง นัยหนึ่งก็หมายถึง “ช็อกโกแลตดำ” นั่นเอง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยมากมายที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของช็อกโกแลต แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจซื้อช็อกโกแลตโดยไม่ดูข้อมูลก่อน เพราะผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะถูกหรือแพง ล้วนมีไขมันและน้ำตาลเป็นตัวชูโรงร่วมกันกับโกโก้ เนื่องจากผู้ผลิตต้องการผลิตความอร่อยออกมาด้วย ซึ่งไขมันและน้ำตาลที่ช่วยเพิ่มความอร่อยอาจกลายเป็นส่วนเกินเมื่อเข้าสู่ร่างกาย หากบริโภคอย่างไม่มีขอบเขตหรือไม่ดูข้อมูลก่อน มันอาจแปรไปเป็นผลเสียมากกว่า

 

แล้ว โกโก้ กับ ช็อกโกแลต ต่างกันอย่างไร?

 

มันอาจเป็นคำถามที่ดูตอบง่ายแต่ผู้คนส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบว่าจริงๆแล้ว ตามคาเฟ่ที่เราเคยไป หรือตามร้านกาแฟ และร้านขนมต่างๆ ทำไมบางร้านก็มีเมนูโกโก้ บางร้านก็มี เมนูช็อกโกแลต?
ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละที่ของโลก ปัจจุบันในอุตสาหกรรมช็อกโกแลตและโกโก้ได้ให้จำกัดความไว้ว่า

  • โกโก้ (Cocoa) คือเมล็ดของต้นโกโก้
  • เนยโกโก้(Cocoa Butter) คือไขมันของเมล็ดโกโก้
  • ช็อกโกแลต (Chocolate) คือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของต้นโกโก้และเนยโกโก้

 

สรุปแล้วโกโก้กับช็อกโกแลต คือผลิตจากเมล็ดคาเคาหรือต้นโกโก้ชนิดเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างอยู่ที่หลังจากได้  “Cocoa Liquor” ผงโกโก้จะนำมาสกัดเอาไขมันโกโก้ออก จึงทำให้มีรสขม แต่ผงช็อกโกแลตจะไม่สกัดไขมันโกโก้ออก หรือสกัดออกเพียงเล็กน้อย และยังเพิ่มวัตถุดิบในก่อนนำไปตากแห้งและบดเป็นผง จึงมีรสขมที่น้อยแถมมีความหวาน และจะมีราคาที่สูงกว่านั่นเอง
แม้ว่าในช็อกโกแลตจะอุดมไปด้วยไขมัน แต่ 2 ใน 3 ของไขมันที่มีอยู่ในช็อกโกแลต เป็นไขมันอิ่มตัวที่เรียกว่า สเตีย และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเลอิก ซึ่งจะไม่ไปช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดเลว ในกระแสเลือด ฉะนั้นจึงหมดห่วงไปได้อีกเปราะหนึ่ง

Stacked Chocolates

ประเภทและชนิดของช็อกโกแลต ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์มากมายโดยส่วนใหญ่แบ่งเป็น3หัวข้อดังนี้

  • ช็อกโกแลตขาว (White Chocolate) ไม่มีส่วนผสมของโกโก้เหลว แต่ใช้ไขมันโกโก้ (โกโก้บัตเตอร์) แทน มีการเติมนํ้าตาลนมสด และกลิ่นวานิลลาลงไปด้วย
  • ช็อกโกแลตนม (Milk Chocolate) มีส่วนผสมทั้งจากโกโก้บัตเตอร์ และนมไม่พร่องมันเนย
  • แบบหวาน (Sweet Chocolate)ช็อกโกแลตชนิดนี้เพิ่มความหวานมากขึ้น

 

ซึ่งแบ่งแยกปริมาณความหวานในช็อกโกแลตได้ดังนี้

  • แบบไม่เพิ่มความหวาน (Unsweetened Chocolate) เป็นช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์ไม่มีการเติมความหวานใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ได้รสชาติฝาดและขมของช็อกโกแลตเต็มๆ มักนำไปเป็นส่วนผสมหลักในการทำขนม
  • แบบกึ่งหวาน (Semi-Sweet) ช็อกโกแลตเหลวกึ่งหวาน มีการเพิ่มความหวานและโกโก้บัตเตอร์ลงไปด้วย
  • ช็อกโกแลตดำ (Dark Chocolate) มีปริมาณโกโก้เหลวสูงถึง 75% มีความหวานน้อยมาก

 

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น มีงานวิจัยมากมายพิสูจน์แล้วว่าโกโก้หรือช็อกโกแลตนั้น มีประโยชน์มาก แต่มันมีประโยชน์ต่อร่างกายกับเราอย่างไรบ้าง?

  • สารฟีนอลในช็อกโกแลตมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจและช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น มันช่วยป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด และช่วยการทำงานของสมองอีกด้วย ในผงโกโก้ขนาดสูงจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง และยังเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความจำในผู้สูงอายุที่ปัญหาด้านความจำอีกด้วย
  • ปกป้องและบำรุงผิว ช่วยให้การทำงานของเยื่อบุผิวดีขึ้น โดยสาร flavonoid ในช็อกโกแลตนั้น สามาถป้องกันผิวหนังจากความเสียหายหลังการสัมผัสกับแสงแดดที่รุนแรงและยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังได้อีกด้วย
  • มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งคาร์โบไฮเดรตไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็ก
  • คาเฟอีนในช็อกโกแลตช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
  • ผลวิจัยชี้ว่าช็อกโกแลตช่วยลดความเครียดได้จริง เมื่อทานช็อกโกแลต สมองจะหลั่งสารเอนโดรฟินหรือสารแห่งความสุขออกมา มันช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น และนอกจากนี้ช็อกโกแลตมีกรดอะมิโนทริปโตฟานที่ช่วยลดความเครียดได้ด้วย
  • บรรเทาอาการไอ ในช็อกโกแลตมีสารที่ชื่อว่า ธีโอโบรมีน มีคุณสมบัติที่สร้างความชุ่มชื้น มันเหนียวซึ่งทำให้ปกคลุมปลายประสาทในคอ ความชุ่มชื้นนี้เหมือนกับน้ำผึ้งและเลมอน ช่วยให้การระคายเคืองนั้นเบาบางลง
  • บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน แมกนีเซียมในช็อกโกแลต ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีผลต่อการควบคุมอารมณ์ช่วงก่อนมีประจำเดือน และยังช่วยลดอาการบวมน้ำได้ด้วย

หากรับประทานมากเกินไป ข้อเสียอาจเกิดขึ้นได้ มันอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากช็อกโกแลตมี เฟนิลไธลามินธีโอโบรไมน์ และคาเฟอีน อีกทั้งช็อกโกแลตสำเร็จรูปที่วางขายทั่วไปนั้น อาจมีการแต่งกลิ่นและสีรวมทั้งเพิ่มน้ำตาลเข้าไปไม่น้อยเพื่อให้ขนมมีรสหวานมากๆ
และ การได้รับช็อกโกแลตจำนวนมากๆ  ก็เท่ากับว่าเราได้รับน้ำตาลมากเกินควรไปด้วยและมันอาจทำให้เกิดโรคอ้วนเพราะช็อกโกแลตให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็กค่อนข้างสูง 

โดยปริมาณที่ปลอดภัยในการบริโภคช็อกโกแลตสำหรับคนทั่วไปการบริโภคช็อกโกแลตในปริมาณที่พอดีจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่เนื่องจากช็อกโกแลตมีสารประกอบมากมายรวมทั้งสารคาเฟอีน ในบางครั้ง การบริโภคช็อกโกแลตจึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น

  • กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • ปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • นอนไม่หลับ
  • ใจสั่น ใจเต้นแรง
  • มีผื่น หรืออาการแพ้ที่ผิวหนัง
  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องไส้ปั่นป่วน หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ท้องผูก
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงอาการปวดหัวไมเกรน

Chocolate Product

สำหรับมุมมองผู้บริโภค ควรระมัดระวังในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวกับช็อกโกแลตและผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก่อนการบริโภค และควรรับประทานช็อกโกแลตในปริมาณที่พอดีในแต่ละวัน ไม่บริโภคมากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่อาจกระทบต่อสุขภาพจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมาได้ เพราะแม้จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางส่วนที่สนับสนุนประสิทธิผลของช็อกโกแลตในบางด้าน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ยิ่งไปกว่านั้น ช็อกโกแลตแต่ละชนิดถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่แตกต่างและหลากหลาย ปริมาณส่วนประกอบที่สำคัญในช็อกโกแลตจึงแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ของช็อกโกแลตในแต่ละผลิตภัณฑ์ เช่น การคัดเลือกเมล็ดโกโก้ กระบวนการผลิตผงโกโก้และช็อกโกแลต ขั้นตอนและวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต เป็นต้น ความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรใส่ใจและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ดังนี้

1. ตรวจวิเคราะห์หาแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม (Calcium), เหล็ก (Iron), แมกนีเซียม (Magnesium), แมงกานีส (Manganese), ฟอสฟอรัส (Phosphorus), โพแทสเซียม (Potassium) และสังกะสี (Zinc) เป็นต้น
2. ตรวจวิเคราะห์หา Vitamin เช่น วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นต้น
3. ตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก เช่น สารหนู (Arsenic), แคดเมียม (Cadmium), ตะกั่ว (Lead), ปรอททั้งหมด (Mercury) และดีบุก (Tin) เป็นต้น
4. ตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากจุลินทรีย์ เช่น แอฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น
5. ตรวจวิเคราะห์หาวัตถุเจือปนอาหาร
– สารให้ความหวาน เช่น แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (Acesulfame K), แอสพาร์เทม (Aspartame) และแซ็กคาริน (Saccharin) เป็นต้น
– สีสังเคราะห์ (Synthetic color) เช่น แอลลูรา เรด (Allura Red), บริลเลียนต์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF), ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4R), ซันเซตเยลโลว์เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และตาร์ตราซีน (Tartrazine) เป็นต้น
6. ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์และรา (Yeast & Mold), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และแซลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นต้น
7. ตรวจวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบจีดีเอ (GDA)

หากท่านสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : http://bit.ly/3uSsEId
: http://bit.ly/3Wh52s
: http://bit.ly/3W0cE2V
: http://bit.ly/3YrFwTm
: http://bit.ly/3Wn4OQr
: http://bit.ly/3uSu5GB
: http://bit.ly/3FUOvoU
: http://bit.ly/3HIOINj