ความท้าทายของการสร้าง”เกษตรในเมือง”

เมื่อพูดถึงการทำเกษตรกรรม โดยมากมักจะพบในพื้นที่นอกเขตเมืองและเขตชนบท อย่างไรก็ดี ความสนใจทำเกษตรในเมืองได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ

เกษตรในเมืองเป็นระบบการผลิตอาหารที่มีประวัติอันยาวนาน ซึ่งให้อาหารที่สดใหม่ มอบอาชีพ และพื้นที่สีเขียวให้แก่เมือง ยกตัวอย่างเช่น เมือง Havana ประเทศคิวบา ผักกินใบร้อยละ 90 ที่บริโภคกันในเมืองมาจากพื้นที่เกษตรในเมืองซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกเพียงแค่ร้อยละ 12 ของพื้นที่เมือง Havana เท่านั้น และสร้างงานถึง 1 ล้านตำแหน่ง ในสหรัฐอเมริกา การทำเกษตรในเมืองนิยมทำในรูปแบบสวนเกษตรในพื้นที่ชุมชน เช่น เมือง Detroit รัฐ Michigan มีสวนผักถึง 1400 แห่ง และมีสวนเกษตรไม่ต่ำกว่า 70 แห่ง ที่สร้างรายได้จากการขายผลไม้จากพื้นที่สวน จะเห็นได้ว่า การทำเกษตรในเมืองมีศักยภาพสูงต่อการเป็นแหล่งผลิตอาหารและพื้นที่สีเขียวให้แก่พื้นที่เมือง

การทำเกษตรในเมืองนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือนเท่านั้น แต่เกษตรในเมืองยังมีบทบาทและมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองในอีกหลายมิติ ซึ่งในต่างประเทศมีการนำเเนวคิดเรื่องบทบาทความสำคัญของเกษตรในเมืองมาใช้ในการพัฒนาเมืองอย่างน่าสนใจ

Getty Images/Tara Moore

เกษตรในเมือง คือ การปลูกหรือการเลี้ยงดู การทำให้เพิ่มพูน การนำเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้อง และการกระจายผลผลิตที่เป็นอาหารอย่างเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ รวมถึงผลผลิตที่ไม่ใช่อาหารอย่างพืชที่เป็นยาสมุนไพร รวมถึงการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ และการบริการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นและมีอยู่ในและรอบๆพื้นที่เมือง กล่าวคือ พื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมและย่านพาณิชย์ตั้งอยู่ หรือในขอบเขตของพื้นที่ที่ถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลาง โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นมุ่งเน้นดำเนินไปเพื่อตอบสนองคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นสำคัญ (ที่มา Urban Agriculture: definition, presence, potentials and risks โดย L.J.A Mougeot 2000)

ในทศวรรษที่ผ่านมา “เกษตรในเมือง” (urban agriculture) ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป โดยเริ่มเข้ามาอยู่ในความรับรู้ของคนทั่วไปที่พบเห็นกันเป็นปกติ อาทิ ในรายการทีวี สารคดี ภาพยนตร์ ละคร หรือแม้แต่การ์ตูน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเติบโตของแนวคิดดังกล่าวได้เป็นอย่างดีเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อนหน้าที่ผู้คนยังไม่คุ้นชินกับแนวคิดนี้เท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของการทำเกษตรในเมืองก็ต้องเผชิญกับคำถามหรือความท้าทายในมิติด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น การปนเปื้อนสารพิษในดินและการฟื้นฟูดิน มลพิษจากภูมิอากาศและบรรยากาศในเมือง การใช้แหล่งน้ำในเมืองเกิดประโยชน์และปลอดภัยสูงสุด จากภาพด้านล่างแสดงถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่ผู้ทำเกษตรในเมืองต้องเผชิญ ได้แก่

JOURNAL PUBLICATION Wortman, S.E. and Lovell, S.T. (2013)

  • A – ควันพิษในบรรยากาศที่ปล่อยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • B – ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยมาจากยานพาหนะ
  • C – การปนเปื้อนสารพิษจากการชะล้างของน้ำตามท้องถนนหรือท่อระบายน้ำ
  • D – การปนเปื้อนสารตะกั่วในดินจากสีทาบ้านหรือเศษวัสดุก่อสร้าง
  • E – การปนเปื้อนโลหะหนักหรือสารอินทรีย์ที่เป็นพิษ (สารพวกกลุ่ม PAHs) ในดิน
  • F – ความไม่แน่นอนของแหล่งน้ำสาธารณะ
  • G – โอกาสที่แหล่งสำรอง เช่น น้ำฝน จะปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมี
  • H and I – ปริมาณแสงและความเร็วลมที่ลดลงที่เกิดจากการบดบังของอาคาร ทั้งพื้นที่บนตึกและพื้นที่ราบด้านล่าง
  • J – อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากสิ่งก่อสร้าง เช่น ทางเท้า หรือ หลังคา

จึงไม่แปลกที่จะมีคำถามจากผู้บริโภคพืชผักจากพื้นที่เกษตรในเมืองว่า พืชผลที่บริโภคเข้าไปนั้นปลอดภัยหรือไม่ หรือ การทำเกษตรในเมืองช่วยให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมในเมืองดีขึ้นมากน้อยเพียงใ ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายต่อการขยายพื้นที่เกษตรในเมืองในปัจจุบัน

ในทางนโยบายและการวางแผนการพัฒนา เรื่องเกษตรในเมืองยังคงเป็นเรื่องที่ขยับไปได้อย่างเนิบช้า เกษตรในเมืองยังไม่อยู่ในจุดสนใจในทางนโยบายและการพัฒนา เพราะเรายังติดในความคิดแบบเดิมๆ ที่ไม่ได้นึกถึงอนาคตที่มากขึ้น ณ ขณะนี้

โดยหลักการ เกษตรในเมือง ปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบหลักๆ

แบบแรก คือ เกษตรในเมืองที่ movement ในเรื่องของการพึ่งตนเองด้านอาหาร ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อที่จะบริโภคเอง เหลือจึงวางจำหน่าย ซึ่งจะเป็น scale ในระดับชุมชนเมืองเป็นหลัก นอกจากพึ่งตนเองแล้วอาจจะรวมไปถึงการผลิตเพื่อจะรับมือร่วมกับภัยพิบัติ หรือวิกฤติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย

แบบที่สอง เป็นแบบ social enterprise หรือผู้ประกอบการเน้นการทำ CSA มีการทำ block delivery ส่งผลผลิตไปถึงหน้าบ้าน door to door ในประเทศไทยยังมีไม่มาก แต่ก็เป็นทิศทางที่เราพยายามส่งเสริมอยู่ ในทำนองเดียวกันนี้อาจจะรวมถึงการใช้แนวทาง smart farming คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการออเดอร์ออนไลน์ รวมถึงการ contact ในระยะยาวกับผู้บริโภคเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

แบบที่สาม คือ การใช้สวนผักคนเมืองเพื่อเป็นงานอดิเรก เป็นกิจกรรมสันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ ของครัวเรือนรวมไปถึงของชุมชน ตลอดจนรวมทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ การเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นภาพรวมของเกษตรเมืองจะมีอยู่ 3 รูปแบบใหญ่ๆ และบางรูปแบบก็ซ้อนกันเป็นหลายอย่างในคราวเดียว

จากปาฐกถา เรื่อง “เกษตรในเมือง ความสำคัญ ความท้าทาย สู่เป้าหมายเมืองยั่งยืน” ในงานสัมมนาวิชาการเกษตรในเมือง ครั้งที่ 1 “เกษตรในเมืองเพื่อเมืองอย่างยั่งยืน” ณ วันที่ 15 ก.พ. 2562

ความท้าทายกับการทำ “เกษตรในเมือง”

ปัญหาดินปนเปื้อนสารพิษ และ การพื้นฟูดิน

ดินในพื้นที่เมืองมีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนสารพิษที่มาจากสารเคมีที่นิยมใช้ตามอาคารและบ้านเรือน ซึ่งการปนเปื้อนสารพิษในดินทำให้ความกังวลเป็นอย่างมากถึงความปลอดภัยของพืชผักที่ผลิตจากพื้นที่เกษตรในเมือง สารพิษที่ปนเปื้อนในดินมักเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท หรือ แคดเมียม และสารอินทรีย์ที่เป็นพิษเช่น พีเอเอช สารเคมีเหล่านี้มักพบจากแหล่งเดียวกัน เช่น แบตเตอรี่ สีทาบ้าน หรือ น้ำมันเครื่องยนต์ ซึ่งสรุปด้านล่างดังนี้

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารพิษที่มากับดิน การบำบัดและการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนจึงได้ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกพืชเพื่อดูดซับสารพิษ (Phytoremediation) ที่อยู่ในดิน และการใส่ปุ๋ยเพื่อลดความเป็นพิษของสารพิษ (Amendment) โดยใส่ปุ๋ยหรือสารอินทรีย์ลงไปในดิน เป็นต้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วนิยมฟื้นฟูดินด้วยการใส่ปุ๋ยเพื่อลดความเป็นพิษจากโลหะหนักเนื่องจาก เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการปลูกพืชดูดซับสารพิษ นอกจากนี้ อาจเลี่ยงการใช้ดินในพื้นที่เมืองโดยใช้ดินที่ผ่านการหมักจากขยะหรือเศษอาหารในครัวเรือน ก็สามารถทำได้ จากภาพด้านล่างแสดงเทคนิคการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำเกษตรในเมือง อาทิเช่น

JOURNAL PUBLICATION Wortman, S.E. and Lovell, S.T. (2013)

  • A – การฟื้นฟูดินจากการปนเปื้อนสารเคมีในระยะเริ่มต้น
  • ฺB – ทางเดินระหว่างแปลงปลูกที่ถูกคลุมด้วยปุ๋ยคอกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูดิน
  • C – ระบบการเพาะปลูกพืชที่หลากหลายพร้อมระบบการให้น้ำแบบแม่นตรง
  • D – แปลงปลูกต้นทานตะวันเพื่อดูดซับสารพิษ

สิ่งปนเปื้อนที่มาจากสภาพอากาศและบรรยากาศในพื้นที่เมือง

สภาพอากาศและบรรยากาศในเมืองซึ่งแตกต่างจากพื้นที่ชนบทก็ได้รับผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สูง ความชื้น ความเร็วลม และโอโซน (Ozone – O3) ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงทำให้ชีพลักษณ์ (Phenology) เช่น ช่วงเวลาการผลัดใบ การออกดอก และการออกผลของพืชเปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาชีพลักษณ์ของพืชในพื้นที่เมืองพบว่า พืชได้สร้างใบเร็วมากขึ้นกว่าปกติ และ การแก่ชราของใบพืชเกิดนานขึ้น จากการศึกษาดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกผักกินใบมีโอกาสได้รับผลผลิตที่เร็วขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูง อย่างไรก็ตาม การที่พืชออกใบเร็วกว่าปกติก็ส่งผลให้การออกดอกและผลช้าลง ดังนั้น ผักที่กินดอกหรือผลก็จะออกผลผลิตนานกว่าปกติเมื่อเทียบกับการปลูกในพื้นที่ชนบท

เนื่องจากในพื้นที่เมือง อุณหภูมิมีความผันผวนมากกว่าพื้นที่ชนบท โดยอุณหภูมิในเขตเมืองจะสูงกว่าอุณหภูมิในพื้นที่ชนบทอยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงกว่าปกติทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากยับยังการสังเคราะห์แสงและการสร้างผลผลิต รวมถึงศักยภาพการใช้น้ำลดลงเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงบีบให้พืชต้องคายน้ำมากขึ้น พืชจึงต้องดูดน้ำจากรากมาสู่ใบเพื่อนำน้ำมาใช้สังเคราะห์แสงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ในเมืองมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงก็เป็นปัจจัยที่ชดเชยให้พืชที่อยู่ในสภาวะอุณหภูมิที่สูงให้สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติและเกื้อหนุนให้การทำเกษตรในเมืองยังคงดำรงอยู่ได้ในปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้ว ความเร็วลมในพื้นที่เมืองจะต่ำกว่าพื้นที่ชนบท ดังนั้น ความชื้นในอากาศที่มากับลมก็ย่อมน้อยลงเช่นกัน ความเร็วลมที่ต่ำอาจช่วยลดความเสียหายของพืชผักจากลมพัดได้บ้าง แต่ก็ส่งผลเสียเช่นกัน โดยความชื้นในอากาศที่ต่ำจะกระตุ้นให้พืชเกิดการคายน้ำมากขึ้นจนพืชเกิดการขาดน้ำและเป็นเหตุให้อัตราการสังเคราะห์แสงต่ำลง นอกจากนั้น ความชื้นในอากาศที่ต่ำก็ส่งผลให้น้ำในดินระเหยออกไปในอากาศสูงขึ้น ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นจนเกิดความแห้งแล้งในดินได้ซึ่งทำให้พืชโตช้าลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ โอโซนซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil) ก็เป็นหนึ่งในก๊าซพิษที่ทำให้พืชโตช้าลง โดยโอโซนทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง อีกทั้งยังทำให้รากพืชโตน้อยลงเมื่อเทียบกับใบ ดังนั้น ผักกินปลูกไว้กินหัว เช่น แครอท หัวไชเท้า หรือมันเทศ อาจไม่เหมาะสมต่อการปลูกในพื้นที่ในเมืองหรือในบริเวณที่มีปริมาณโอโซนหนาแน่น จากภาพด้านล่าง แสดงระบบการเพาะปลูกที่ปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมในเมือง เช่น

JOURNAL PUBLICATION Wortman, S.E. and Lovell, S.T. (2013)

  • A – แปลงปลูกผักกินใบ เช่น ตระกูลกะหล่ำ ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมในเมือง
  • B – แปลงปลูกพืชผักที่ได้ร่มเงาและการป้องกันลมจากอาคาร
  • C – แท้งค์กักเก็บน้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาบ้าน เพื่อหล่อเลี้ยงน้ำ

การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและความปลอดภัยของแหล่งน้ำ

การขาดแคลนแหล่งน้ำก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผลลบต่อการขยายงานด้านเกษตรในเมือง เนื่องจากภาคการเกษตรเป็นส่วนที่ใช้น้ำมากที่สุด โดยสหรัฐอเมริกาภาคการเกษตรใช้น้ำถึงร้อยละ 87 ของแหล่งน้ำจืดในประเทศทั้งหมด เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ภาคเกษตรในน้ำถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการบริโภคน้ำสะอาดทั้งประเทศ สืบเนื่องจากพื้นที่เมืองมีสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิในบรรยากาศสูงมากกว่าปกติ เป็นเหตุให้พืชต้องใช้น้ำในการเจริญเติบโตมากขึ้น ซึ่งมีการประมาณว่าปริมาณน้ำที่บริโภคในพื้นที่เมืองในสหรัฐอเมริการ้อยละ 40 ถึง 70 มาจากพื้นที่เกษตรในเมือง ปัญหาดังกล่าวสามารถบรรเทาได้โดยพัฒนาระบบน้ำให้ใช้น้ำอย่างประหยัดมากขึ้น เช่น การใช้ระบบน้ำหยด หรือ การวางระบบตรวจวัดความชื้นในดิน เป็นต้น หรือ การรักษาความชื้นในดินด้วยการคลุมแปลงด้วยขุยมะพร้าว หรือการหาแหล่งน้ำเพิ่มจากการกรองน้ำฝนจากหลังคาบ้านหรืออาคาร เป็นต้น

แม้ว่าอุปสรรคและความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบการผลิตอาหารโดยเกษตรในเมืองจะมีการวิธีการหรือเทคนิคบรรเทาปัญหาไปได้ แต่บางปัญหาก็อาจต้องมีงานวิจัยหรืองานวิชาการมารองรับหรือยืนยันว่า วิธีการหรือเทคนิคอย่างละชนิด ได้ช่วยบรรเทาหรือตอบโจทย์ในแต่ละปัญหาได้จริง หรือจะเป็นการทำเกษตรในเมืองที่ช่วยพัฒนาคุณภาพทางสิ่งแวดล้อมในเมืองได้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยเวลาและต้นทุนอย่างมากจนข้อมูลเหล่านี้ออกมาเผยแพร่แก่สาธารณชนทั่วไป ดังนั้น การทำเกษตรในเมืองนั้นอาจต้องต้องดำเนินต่อไปจนผ่านการพิสูจน์และผลเชิงประจักษ์ในอนาคต

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ดิน น้ำผิวดิน เพื่อใช้ในการปลูกพืชและทำการเกษตร โดยมีรายการดังนี้

1. บริการตรวจวิเคราะห์หาธาตุและสารจำเป็นในดิน รายการทดสอบดังนี้

  • ไนโตรเจน (Nitrogen)
  • ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
  • โพแทสเซียม (Potassium)
  • แคลเซียม (Calcium)
  • แมกนีเซียม (Magnesium)
  • เหล็ก (Iron)
  • สังกะสี (Zinc)
  • แมงกานีส (Manganese)
  • ทองแดง (Copper)
  • คลอไรด์ (Chloride)
  • โบรอน (Boron)
  • โมลิบดินั่ม (Molybdenum)
  • นิเกิล (Nikel)
  • อลูมีเนียม (Aluminium)
  • โคบอล (Cobalt)
  • โซเดียม (Sodium)
  • กำมะถัน (Sulphur)
  • คาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)
  • อินทรีย์คาร์บอน (Total Organic Carbon)
  • อินทรียวัตถุ (Organic Matter)
  • ค่ากรด-ด่าง (pH)

1.1 บริการตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนักปนเปื้อนในดิน เช่น สารหนู (Arsenic), แคดเมียม (Cadmium), โครเมียม (Chromium), ตะกั่ว (Lead), ปรอททั้งหมด (Mercury) และดีบุก (Tin) เป็นต้น

1.2 บริการตรวจวิเคราะห์ น้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น เพื่อใช้ในการปลูกพืช อ้างอิง ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำประเภท 3 พ.ศ. 2537 รายการตรวจตามภาพดังนี้ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำประเภท 3 พ.ศ. 25372. บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง อ้างอิงมาตรฐาน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 รายการตามภาพประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 25603. นอกเหนือจากการตรวจคุณภาพดินและน้ำ  AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ พืช ผัก ผลไม้ รายการดังนี้

3.1 บริการตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้าง ที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (Pesticide residue) เช่น สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช Pesticide 4 groups ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine group), กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate group), กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate  group) และกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids group)

3.2 บริการตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช  Pesticides residue 250 สาร

3.3 บริการตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก เช่น สารหนู (Arsenic), ตะกั่ว (Lead), ปรอททั้งหมด (mercury) และดีบุก (Tin) เป็นต้น

3.4 บริการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ (Yeast), รา (Mold), แบซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus), คลอสทริเดียม เพอรฟริงเจนส์  (Clostridium  perfringens), อี.โคไล (Escherichia coli), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และแซลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นต้น

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC

ที่มาข้อมูล : http://bit.ly/3knQoBU
: http://bit.ly/3IShHP0
: http://bit.ly/3iL9DVM