แชมพู “เรื่องใกล้ตัวที่ต้องดูดีๆ”

แชมพู เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อชำระล้างน้ำมันและสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ แชมพูมีหลายชนิด หลายประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตามสภาพผมของแต่ละบุคคล แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า แชมพูที่เราใช้หรือกำลังจะซื้อนั้น ปลอดภัยต่อหนังศีรษะ

แชมพู หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะ ในปัจจุบันพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์บริเวณหนังศีรษะเมื่อใช้แชมพูสระผม แชมพูที่มีคุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐาน มักจะผสมกับเจลอาบน้ำ โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน ในปริมาณมาก สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกใช้แชมพู คือ ต้องทำความสะอาดเส้นผมได้อย่างอ่อนโยน และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และถูกรับรองตามมาตรฐาน

การสระผมเป็นสิ่งที่เราต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4–5 ครั้ง (ตามแต่ละบุคคล) เพื่อความสะอาดของหนังศีรษะและเส้นผม ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แชมพูมากมายในท้องตลาดที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพเส้นผมตามความต้องการแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น แชมพูเคราติน, แชมพูเพื่อผมทำสี, แชมพูออร์แกนิก, แชมพูขจัดรังแคโดยเฉพาะ, แชมพูเพื่อผมขาดหลุดร่วง,แชมพูสำหรับผู้มีผมมัน รวมไปถึงครีมนวดผม เซรั่มบำรุงผมและทรีตเมนต์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อบำรุงผมและดูแลหนังศีรษะโดยเฉพาะ แต่เมื่อทำการสระผม เราอาจมีความเชื่อหรือความคิด ว่า’การทำความสะอาดก็ต้องมีฟองเยอะๆ’ เพราะโดยหลักการทั่วไป เมื่อฟองยิ่งเยอะ ยิ่งแปลว่าสะอาด แต่ฟองที่เราเห็นนั้นอาจทำอันตรายมากกว่าที่เราคิด เพราะแชมพูส่วนใหญ่จะมีสารอย่าง “ซัลเฟต (sulfate)” และมีสารกันเสียผสมด้วย

ซัลเฟต คืออะไร?

ซัลเฟตพบได้ในอุปกรณ์เสริมความงามเกือบทั้งหมดสำหรับเส้นผม โดยซัลเฟตเป็นสารลดแรงตึงผิวที่ดึงดูดน้ำและน้ำมัน โดยทั่วไปเป็นองค์ประกอบที่รับผิดชอบในการสร้างฟองในแชมพูและสบู่ องค์ประกอบเหล่านี้สามารถเข้าไปจับเข้ากับความสกปรกแล้วล้างออกได้  สารซัลเฟตเป็นสารที่ช่วยให้เกิดฟองมาก แต่สารนี้เป็นอันตรายต่อเส้นผม หนังศีรษะ และดวงตา ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เพราะซัลเฟตเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงเมื่อสัมผัสกับดวงตาจะทำให้รู้สึกระคายเคืองหรือแสบตา และเมื่อสระผมแล้วเกิดอาการแพ้จะทำให้รู้สึกแสบหรือคันบริเวณหนังศีรษะ

ซัลเฟตมักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเนื่องจากใช้งานได้ดีมากเช่นเดียวกับสบู่และมีราคาที่ไม่แพงมาก ข้อเสียของการใช้ซัลเฟตในอุปกรณ์เสริมความงามคือหนังศีรษะของเรา ไม่สามารถจัดการกับสารเคมีดังกล่าวได้เสมอไป เพราะซัลเฟตเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่มีฤทธิ์รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งเช่นเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้ที่มีผิวบอบบาง

เราจะทราบได้อย่างไรว่าแชมพูปัจจุบันของเรามีซัลเฟต หรือไม่ ?

มันอาจไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะทราบว่าแชมพูของเรามีซัลเฟตหรือไม่ อย่างแรกที่เราทำได้คือการเช็คว่ามีคำว่า “ซัลเฟต” นั้นอยู่ในรายการส่วนผสมของแชมพูหรือไม่  แต่อย่างไรก็ตามซัลเฟตมาจากตระกูลของสารประกอบทางเคมีและแต่ละชนิดมีชื่อที่แตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งนี้อาจทำให้ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อยแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือเราต้องใช้เวลาสักครู่เพื่ออ่านส่วนผสมบนขวดแชมพูก่อนซื้อ มันดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่การทำความเข้าใจว่าแชมพูของคุณมีสารประกอบทางเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้’มีความสำคัญต่อสุขภาพของคุณ’

หากเราใส่ใจหนังศรีษะหรือเป็นผู้แพ้ง่าย เราไม่ควรเลือกใช้แชมพูที่มีการใส่สารเคมีที่ไม่จำเป็นเข้าไปในเส้นผมของเรา ดังนั้นหากท่านต้องการหลีกเลี่ยงซัลเฟตโปรดดูส่วนผสมเหล่านี้เพราะมันคือสารประกอบของซัลเฟต

  • Sodium Lauryl Sulfate (SLS)
  • Ammonium Laureth Sulfate (ASL)
  • Sodium Alkyl Sulfate (SAS)
  • Sodium Laureth Sulfate (SLES)
  • Sodium Lauryl Sulfoacetate
  • Sodium Lauroyl Isethionate
  • Sodium Lauroyl Taurate
  • Sodium Cocoyl Isethionate
  • Sodium Lauroyl Methyl Isethionate
  • Sodium Lauroyl Sarcosinate
  • Disodium Laureth Sulfosuccinate

แชมพูไม่มีซัลเฟต ดีอย่างไร?

ดังที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ซัลเฟตไม่ใช่สารเคมีที่น่ากลัว แต่ถ้าหากใช้แชมพูซัลเฟตในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีหนังศีรษะบอบบางหรือมีปัญหาผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบจากซีบอไรด์ เมื่อใช้มาอย่างต่อเนื่องซัลเฟตยังสามารถทำลายเส้นผมและผิวหนังได้แม้กระทั่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยประสบปัญหาผมหรือผิวหนังอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนมากที่ใช้แชมพูที่มีซัลเฟตโดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ก็ยังมีหลายคนที่มีอาการคันหรือหนังศีรษะลอกและไม่รู้ว่าทำไม การหลีกเลี่ยงซัลเฟตในแชมพูของเราคือขั้นตอนแรกๆในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้

วิธีเลือกซื้อแชมพูที่ปราศจากซัลเฟต

มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพเส้นผมของเรา เมื่อก่อนแชมพูที่ปราศจากซัลเฟตไม่เป็นที่นิยมจึงมีตัวเลือกไม่มากเท่าที่ควรและมีความจำกัดในเรื่องของการซื้อ แต่ปัจจุบัน แชมพูในท้องตลาดมีให้ผู้บริโภคเลือกใช้มากมาย โดยยกกรณีตัวอย่างดังนี้

  • ผมที่ผ่านการทำสี : ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนนุ่มกับเส้นผมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเพิ่มความเข้มของสีตามธรรมชาติเพื่อช่วยให้สีของคุณอยู่ได้นานขึ้น
  • ผมที่ผ่านการทำไฮไลต์ : ให้เลือกใช้แชมพูที่ให้ความชุ่มชื้นเพื่อที่จะรักษาผมที่ผ่านฟอกขาว
  • ผมร่วง : ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเส้นผมและหนังศีรษะ
  • ผมหยิก : ให้เลือกแชมพูที่ให้ความชุ่มชื้นเพื่อช่วยป้องกันผมชี้ฟูและทำให้ผมหยิกเป็นทรง
  • ผมแห้ง : ให้เลือกแชมพูสูตรที่มีส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นน้ำมันมะกอก อะโวคาโดหรืออัลมอนด์
  • ผมมันเยิ้ม : ให้เลือกแชมพูที่ช่วยควบคุมการผลิตน้ำมันของผม
  • ผมตรงลีบแบน : ให้เลือกแชมพูที่เพิ่มวอลลุ่ม ปรับสภาพและให้ความชุ่มชื้นของเส้นผม

การเลือกซื้อโดยเช็คส่วนผสมที่เป็นอันตราย

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยากสักเล็กน้อยเพราะคุณอาจต้องใช้เวลาในการอ่านส่วนผสมบนขวดแชมพูก่อนซื้อ แต่มันเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้อ่านส่วนผสมของแชมพูเพราะมันทำให้คุณแน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่ เช่น ซิลิโคน (Silicone), ฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde), โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride),อิมิดาโซลิดินิล ยูเรีย (Imidazolidinyl urea) และพาราเบน (Parabens) เป็นต้น

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแชมพู มาตรฐานเลขที่ มอก.162-2558 ซึ่งเป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ โดยมีขอบข่ายครอบคลุมแชมพูทุกประเภทที่จัดเป็นเครื่องสำอางสำหรับคน แบ่งประเภทของแชมพูออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทไม่ผสมสารขจัดรังแค และประเภทผสมสารขจัดรังแค ซึ่งมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฉบับนี้กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการของผลิตภัณฑ์ไว้โดยอธิบายได้พอสังเขป คือ

  • การทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • การทดสอบคุณลักษณะทางจุลชีววิทยา
  • การทดสอบเสถียรภาพ (เฉพาะแชมพูที่เป็นของเหลว)
  • คุณลักษณะเฉพาะ
  • ความเป็นกรด-ด่าง
  • สารเคมีปนเปื้อน
  • สารขจัดรังแข (เฉพาะแชมพูผสมสารขจัดรังแค)
  • การตรวจสอบปริมาณสารลดแรงตึงผิว
  • การทดสอบการระคายเคืองต่อดวงตา

สรุป

ผู้บริโภคควรสังเกตฉลากบนผลิตภัณฑ์เพื่อดูส่วนผสมของสารกันเสียต่างๆที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว หรือหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากปัจจุบัน มีแชมพูเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้มากมาย
และผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตควรตรวจคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

AMARC ให้บริการตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมดังนี้

1. โลหะหนักปนเปื้อน เช่น ตะกั่ว (Lead), สารหนู (คำนวนเป็น As2O3), ปรอท (Mercury) และแคดเมียม (Cadmium) เป็นต้น

2. เชื้อจุลินทรีย์ เช่น จำนวนจุลินทรีย์แอโรบิกทั้งหมด (Total aerobic microbial count), จำนวนยีสต์และราทั้งหมด (Total combined yeast and mold count), ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) และคลอสทริเดียม  (Clostridium  spp.) เป็นต้น

3. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เป็นต้น

สามารถสอบถามข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ AMARC