ทั่วไป

การบริการของเอมาร์ค

การทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์

เอมาร์คให้บริการทดสอบในกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์

การสอบเทียบ

เอมาร์คให้บริการสอบเทียบ เครื่องมือและอุปกรณ์

    • มาตรวิทยาไฟฟ้าและอุณหภูมิ
    • มาตรวิทยาเคมี
    • มาตรวิทยาเชิงกล
    • เครื่องมือแพทย์

การตรวจและการรับรอง

เอมาร์คให้บริการตรวจและรับรองระบบคุณภาพ ในขอบข่ายด้าน

  • พืช
  • ประมง
  • ปศุสัตว์
  • ความปลอดภัยอาหาร
  • สิ่งแวดล้อม

โดยหน่วยตรวจและหน่วยรับรองของเอมาร์คได้รับการรับรองมาตรฐานดังนี้

  • หน่วยตรวจภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17020
  • หน่วยรับรองภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17065
  • หน่วยรับรองภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17021-1

การให้คำปรึกษา และการฝึกอบรม

เอมาร์คให้มีบริการให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม ดังนี้

  •  ระบบบริหารคุณภาพห้องปฎิบัติการ
  • ระบบคุณภาพด้านเกษตรอาหาร หลักการผลิตอาหารที่ดี และสุขาภิบาลอาหาร
  • การบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์

การใช้บริการ

ขั้นตอนการใช้บริการ

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ How To

ช่องทางการติดต่อ

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ติดต่อเรา 

ที่ตั้ง

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ติดต่อเรา 

สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก่อนส่งตัวอย่าง

1. วัตถุประสงค์ของการส่งตัวอย่างให้ทดสอบ
2. วีธีเก็บตัวอย่างและปริมาณตัวอย่างที่เหมาะสมที่ต้องส่ง
3. การรักษาสภาพและการป้องกันการปนเปื้อนขณะเก็บและขนส่งตัวอย่าง เช่น

  • GMOs ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 1 kg บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
  • Allergen ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 300 g บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
  • DNA Screening ปริมาณตัวอย่างต้องไม่น้อยกว่า 500 g บรรจุตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดสนิท
  • ส่งน้ำตรวจหาเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จะต้องเก็บตัวอย่างด้วย Aseptic Technique และบรรจุในภาชนะที่ปราศจากเชื้อและรักษาสภาพขณะขนส่งด้วยความเย็น
    ท่านสามารถขอรับคำแนะนำและอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

ขั้นตอนการนำส่งตัวอย่าง

หลังจากสรุปแนวทางการใช้บริการกับเอมาร์คแล้ว กรอกและนำส่งใบคำขอบริการทดสอบพร้อมตัวอย่าง
ลูกค้าสามารถนำตัวอย่างด้วยตนเอง ส่งตัวอย่างโดยใช้บริการขนส่งเอกชน หรือแจ้งให้เอมาร์คเข้าไปรับตัวอย่างโดยไม่เสียค่าบริการ กรณีลูกค้าอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมลฑล

บริการรับตัวอย่าง

เอมาร์ค ให้บริการรับ-ส่งตัวอย่างฟรีในเขตกรุงเทพฯและปริมลฑล หากลูกค้าสนใจสามารถแจ้งรับตัวอย่างได้กับเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแล

บริการแบบเร่งด่วน (Express Service)

เอมาร์ค มีบริการวิเคราะห์แบบเร่งด่วนลูกค้าสามารถสอบถามระยะเวลาและรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากทั้งเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแล

ระยะเวลาการทดสอบ

รายละเอียดระยะวันในการทดสอบ จะแจ้งในเอกสารใบเสนอราคา โดยจำนวนวันที่แสดงจะไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การชำระค่าบริการ

วิธีการชำระค่าบริการ

อื่นๆ

การส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI)

บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน ประเภทกิจการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ในขอบข่ายบริการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์และยา เคมี จุลชีววิทยา และสิ่งปลอมปน

ตามมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 สิทธิประโยชน์ที่บริษัทได้รับคือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย (3%)) ในบริการที่ได้รับการส่งเสริม

ระยะเวลาการส่งเสริมการลงทุนนับตั้งแต่ โครงการมีรายได้ครั้งแรก (การออก Invoice) และนับไปอีก 8 ปี ถือว่าสิ้นสุดโครงการ วันที่ที่ได้รับอนุมัติให้รับการส่งเสริมตามบัตรฯ กับวันที่ที่เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต่างกัน

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากบางรายการทดสอบบริษัทฯ ไม่ได้ขอรับการส่งเสริม และการบริการลักษณะที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือ เช่น การตรวจและการรับรอง การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม ไม่อยู่ในขอบข่ายการได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เกษตรอาหาร

ความรู้ทั่วไป

สิ่งที่ควรทราบในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออก

การผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกันตั้งแต่กระบวนการผลิต คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อให้สามารถวางแผนและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้

  • จำแนกอาหารที่ต้องการจำหน่ายว่าเป็นชนิดใด เช่น เป็นอาหารสดหรือเป็นผลิตภัณฑ์
  • มีหน่วยงานราชการที่ดูแล กำกับเรื่องคุณภาพมาตรฐานอาหารของประเทศไทยมีหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมประมงและกรมปศุสัตว์ เป็นต้น
  • อาหารบางชนิดจำเป็นต้องขออนุญาตการผลิต มีมาตรฐานกำกับจากหลายส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดและคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารที่สนใจจะผลิต นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการตั้งชื่อ ฉลากและการโฆษณาอีกด้วย

ความหมายของพืชควบคุมเฉพาะและการทดสอบเพื่อการส่งออกของพืชควบคุมเฉพาะ

พืชควบคุมเฉพาะคือ พืชที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดว่าต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ รายชื่อชนิดพืช ประเทศและเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สามารถสืบค้นข้อมูลได้ใน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสอบถามได้ที่ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

เอมาร์คเป็นแล็บที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้เป็นแล็บที่สามารถทดสอบพืชควบคุมเฉพาะเพื่อการส่งออกได้ (Designated Laboratory) โดย ให้บริการตรวจพืชผัก ผลไม้เพื่อการส่งออกมาตั้งแต่ กรกฎาคม 2561 ปัจจุบัน ได้ให้บริการทดสอบผักและผลไม้ส่งออกกับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ ปีละมากกว่า 14,000 ตัวอย่าง 80,000 รายการทดสอบ”

สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์ คืออะไร

สิ่งแปลกปลอม (Foreign Matter) ในอาหารและผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ หรือมีแหล่งที่มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาหารและผลิตภัณฑ์นั้น มีสุขลักษณะในการผลิต การเก็บรักษา และการจัดจำหน่ายที่ไม่ดี สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • Heavy Filth หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งสามารถแยกออกจากผลิตภัณฑ์ด้วยการตกตะกอน เช่น สิ่งขับถ่ายจากแมลง สัตว์ประเภทฟันแทะ ดินและทราย เป็นต้น
  • Light Filth หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งสามารถแยกออกจากผลิตภัณฑ์ เช่น แมลง ชิ้นส่วนของแมลง และขนสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

การทดสอบหาสิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์

สิ่งแปลกปลอมในอาหารและผลิตภัณฑ์อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรง หรือก่อให้เกิดโรค เกิดการแพ้ซึ่งล้วนส่งผลเสียกับสุขภาพของผู้บริโภค

สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) คืออะไร

สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เกิดอาการแพ้ในคนที่มีความไวต่อสารนั้นๆ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการหรือเป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ ฝุ่นละออง รวมไปถึงอาหาร และยา ซึ่งการแพ้เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารและลักษณะจำเพาะของแต่ละคน เช่น จาม หอบ คันตา คัน/คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ผื่นขึ้น อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นลม ช็อค และหมดสติ เป็นต้น

การเฝ้าระวังการปนเปื้อนในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดว่าโรงผลิตอาหาร รวมโรงงานที่รับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacture: OEM) ต้องได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) ซึ่งเป็นการยกระดับเรื่องคุณภาพและมาตรฐานอาหาร

ผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานและผู้ประกอบการที่จ้างผลิต จำเป็นต้องเข้าใจและนำหลักการ GMP และ HACCP มาประยุกต์ โดยการระวังเรื่องสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ผู้ประกอบการ จะต้องมีระบบตรวจสอบสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ
  • โรงงานผู้ผลิต จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบ เฝ้าระวังว่าในระบบการผลิตไม่มีการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ ตกค้างมาจากกระบวนการผลิตก่อนหน้านี้

สิ่งมีชีวิตที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMOs) คืออะไร

การดัดแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือการปศุสัตว์ รวมทั้งเสริมจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมนั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีคุณประโยชน์มากกว่า แม้ว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมจะส่งผลดีต่อระบบอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตาม มีหน่วยงานด้านสุขภาพและผู้คนทั่วโลกจำนวนไม่น้อย ที่กังวลว่าผลิตภัณฑ์ GMOs เหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้

จุดประสงค์ในการทดสอบวิเคราะห์ DNA และ GMOs ในอาหาร

การตรวจหา DNA มีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจถึงความบริสุทธิ์ในอาหารนั้นๆ เช่นการตรวจหา DNA สุกรที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจสอบอาหารฮาลาล เป็นต้น

การตรวจหา DNA / GMOs ในผลิตภัณฑ์เกษตรอาหาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • ลดข้อกังวลด้านสุขภาพของผู้บริโภค
  • เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือระเบียบด้านการนำเข้า-ส่งออก
  • เพิ่มการแข่งขันในตลาดเชิงรุก

ความหมายของคำว่า Not Detected, < LOQ (Less than LOQ) ที่ใช้ในรายงานผลการทดสอบของเอมาร์ค

การรายงานผลการทดสอบของเอมาร์ค เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์จากข้อมูลในรายงานมากที่สุด นอกจากนั้น วิธีทดสอบที่ใช้จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทวนสอบความใช้ได้ (Validation) ซึ่งจำเป็นต้องหาค่าต่างๆ ของวิธีทดสอบ (ความถูกต้อง แม่นยำตามวิธีการ และแสดงค่าต่างๆ ที่จำเป็น มีความเป็นสากล) เช่น

  • ความจำเพาะ
  • ความสามารถในการตรวจ ซึ่งมักแสดงด้วยค่า Limit of Detection: LOD* และ Limit of Quantitation: LOQ**
  • ความเป็นเส้นตรง (Linearity)
  • คำที่ใช้ในรายงานผลการทดสอบ มีความหมายดังนี้
    • Not Detected หมายความว่า ผลการทดสอบนั้นพบสิ่งที่สนใจมีปริมาณน้อยกว่าค่า LOD หรือตรวจไม่พบ
    • LOQ (Less than LOQ) หมายความว่า ผลการทดสอบนั้นพบปริมาณมากกว่าค่า LOD แต่น้อยกว่าค่าLOQ

*LOD คือ ความเข้มข้นต่ำสุดของสารที่สนใจในตัวอย่างที่วิธีทดสอบสามารถตรวจวัดได้
**LOQ คือ ความเข้มข้นต่ำสุดของสารที่สนใจในตัวอย่างที่วิธีทดสอบที่สามารถตรวจวัดได้ ที่ความเชื่อมั่น 95% โดยที่ความเข้มข้นระดับนี้ สามารถรายงานเป็นปริมาณที่มีความแม่นและเที่ยงตรงได้”

บริการทดสอบวิเคราะห์ด้านเกษตรอาหาร

การให้บริการทดสอบด้านจุลชีววิทยาแบบ Rapid Test

เอมาร์ค ให้บริการทดสอบแบบ Rapid Test ได้ในเชื้อต่อไปนี้

  • Salmonella spp. โดยใช้เทคนิค 3M Molecular Detection System
  • Coliform โดยใช้เทคนิค Petrifilm
  • Escherichia coli โดยใช้เทคนิค Petrifilm
  • Yeast & Mold Count โดยใช้เทคนิค Petrifilm

บริการทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf-life)

เอมาร์ค ให้บริการทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf-life) โดยรับบริการทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (กรณีสินค้าแช่เย็น จะตรวจความปลอดภัยด้านจุลชีววิทยา เพื่อประกอบการหาอายุกับการเก็บรักษา)

ลูกค้าสามารถติดต่อขอรับบริการ โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มใบขอรับบริการ เช่น ส่วนประกอบของตัวอย่าง ลักษณะภาชนะบรรจุ วิธีการฆ่าเชื้อ น้ำหนักสุทธิ อายุการเก็บรักษาที่ลูกค้าคาดหวัง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นของตัวอย่างที่เคยพบและเป็นสาเหตุที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับ และส่งตัวอย่างที่ต้องการทดสอบในรูปแบบบรรจุภัณฑ์จริงในการจัดจำหน่าย

การทดสอบด้านเคมี

เอมาร์ค มีบริการทดสอบทางกายภาพ ฟิสิกส์ และเคมี ที่หลากหลาย ตามมาตรฐานและข้อกำหนดของสิ่งส่งตรวจ ดังนี้

  • สารปนเปื้อนในอาหาร เช่น โลหะหนัก (แคดเมียม ดีบุก ตะกั่ว ปรอท และสารหนู) และสารพิษจากเชื้อรา (Aflatoxin M1, Total Aflatoxin, Deoxynivalenol: DON, Ochratoxin A) เป็นต้น
  • วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สี วัตถุกันเสีย สารกันหืน และสารให้ความหวาน เป็นต้น
  • โภชนาการ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน) และฉลากโภชนาการอาหารประเทศต่างๆ เช่น ไทย จีน อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น
  • ตรวจคุณภาพหรือมาตรฐานทางเคมีของอาหารชนิดต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ตรวจหาปริมาณแร่ธาตุและโลหะหนัก ในอาหารและอาหารสัตว์
  • สารก่อมะเร็ง เช่น 3MCPD, PCBs และ PAHs เป็นต้น
  • สารตกค้าง เช่น ยาสัตว์ตกค้างในอาหาร และวัตถุอันตรายทางการเกษตรตกค้างในอาหารและน้ำ เป็นต้น

การทดสอบหาสิ่งแปลกปลอม (Foreign Matter)

เอมาร์ค ให้บริการตรวจวิเคราะห์สิ่งแปลกปลอมตามวิธีมาตรฐาน AOAC เช่น Light Filth ในธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ, Filth ในน้ำตาล น้ำพริก และเครื่องเทศเป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีให้บริการตรวจวิเคราะห์หาสิ่งแปลกปลอม โดยใช้เทคนิค Macroscopic and Microscopic Analysis in Foreign Matter Sample, Biological Identity by Histology Method และการตรวจหาปรสิตในกล้ามเนื้อสัตว์ อีกด้วย

บริการด้านอณูชีววิทยา (Molecular)

แล็บอณูชีววิทยาของ เอมาร์ค ให้บริการ ดังนี้

  • ตรวจวิเคราะห์ GMOs เชิงคุณภาพ ในอาหาร,ถั่วเหลือง, ข้าว, ข้าวโพด และอาหารสัตว์
  • การวิเคราะห์หา DNA ของเนื้อหมู เนื้อไก่และเนื้อวัว เป็นต้น
  • การวิเคราะห์ Allergen ของข้าวสาลี ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ปลา นมวัว และกุ้ง
  • การตรวจหาสารพันธุกรรมของโรค SARS-CoV-2 (COVID-19) ที่ปนเปื้อนในอาหาร และวัสดุสัมผัสอาหาร
  • ตรวจวิเคราะห์หายีนจำเพาะในพืช (Plant gene) เช่น ถั่วเหลือง (Lectin gene) ข้าวโพด (Zein gene) และข้าว (PLD) เป็นต้น
  • ตรวจเอกลักษณ์ (GMOs Identification) เช่น Roundup Ready Soybean (EPSPS gene)

รายงานผลการทดสอบด้านจุลชีววิทยา

การรายงานผลของรายการเชื้อ Coliform และ Escherichia coli โดยหน่วยที่รายงานผลเป็น "MPN/g" มีวิธีทดสอบอย่างไร

ทดสอบโดย MPN Technique เป็นวิธีการทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์โดยวิธีการประมาณค่าทางสถิติ

การทดสอบกระทำโดยนำตัวอย่างมาเจือจางตามความเข้มข้นต่างๆ จากนั้นดูดสารละลายแต่ละความเจือจางลงในหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว ความเข้มข้นละ 3 หลอดตามวิธีมาตรฐาน บ่มตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด แล้วทำการอ่านค่าจากตาราง MPN (Most Probable Number) ซึ่งจะรายงานผลการทดสอบในหน่วยของ MPN เช่น MPN/g, MPN/ml

หากทดสอบแล้วพบเชื้อกลุ่ม Coliform แสดงว่าพบเชื้อ Escherichia coli ด้วยหรือไม่

ถ้าทดสอบตัวอย่างแล้วพบเชื้อ Coliform อาจจะพบหรือไม่พบเชื้อ Escherichia coli ก็ได้ เนื่องจากแบคทีเรียในกลุ่ม Coliform เป็นเชื้อกลุ่มใหญ่ซึ่ง Escherichia coli เป็นเพียงหนึ่งในกลุ่ม Coliform เท่านั้น แบคทีเรียกลุ่ม Coliform ได้แก่

  • Escherichia
  • Citrobacter
  • Enterobacter
  • Hafnia
  • Klebsiella
  • Serratia

การรายงานผล "<3 MPN/g" และ "<10 CFU/g" ในการทดสอบด้านจุลชีววิทยา เช่น Coliform และ TPC หมายความว่าอย่างไร

หมายถึง “ไม่พบเชื้อ” ซึ่งรูปแบบการรายงานผลดังกล่าว เป็นวิธีรายงานผลตามมาตรฐานสากล

ความแตกต่างระหว่างความละเอียดของการรายงานหน่วยของการทดสอบทางจุลชีววิทยาระหว่าง หน่วย "per 0.01 g" และ "per 0.1 g"

หน่วย 0.1 g มีความละเอียดมากกว่า เนื่องจาก หน่วย 0.1 g มีความเข้มข้นของเนื้อตัวอย่าง 0.1 g ซึ่งเข้มข้นกว่าหน่วย 0.01 g ที่มีความเข้มข้นของเนื้อตัวอย่าง 0.01 g ดังนั้น 0.1 g จึงมีความสามารถในการตรวจหาเชื้อได้ละเอียดกว่า 0.01 g

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการทดสอบเกษตรอาหาร

ยา

การบริการด้านยา

การทดสอบยา

เอมาร์ค เป็นแล็บบริการของภาคเอกชนรายเดียวในประเทศไทย ที่ให้บริการทดสอบด้านยา โดยทดสอบทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณและยาสมุนไพร

รายการทดสอบยาแผนปัจจุบัน

สามารถดูรายการทดสอบยาได้ที่ ยา

บริการทดสอบชีวสมมูลย์ของยา (Bioequivalence Study)

เอมาร์ค ให้บริการด้านการวิเคราะห์ชีวสมมูลย์ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

บริการการพัฒนาวิธีทดสอบยา (Drug Analysis Method Development)

เอมาร์ค ให้บริการพัฒนาและการทำทวนสอบ (Method Development/Validation) ตามวิธีมาตรฐาน USP, BP และตามวิธีการของลูกค้า โดยผู้สนใจใช้บริการด้านนี้สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

รายการทดสอบของยาแผนโบราณและยาสมุนไพร

สามารถดูรายการทดสอบยาแผนโบราณและยาสมุนไพรได้ที่ ยา

มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการทดสอบของยาแผนโบราณและยาสมุนไพร

  • Thai Herbal Pharmacopoeia (THP)
  • The United States Pharmacopoeia (USP)
  • Association of Official Agricultural Chemists (AOAC Internationals)

มาตรฐานที่รัฐกำหนดในการทดสอบคุณภาพของกัญชาทางการแพทย์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดให้กัญชา กัญชง น้ำมันกัญชา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นส่วนประกอบ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง ต้องมีการตรวจปริมาณสารสำคัญ CBD และ THC และผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้น

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านยา

หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านยา

หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025

ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

ความรู้ทั่วไป

ความสำคัญของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร (Agricultural Production Factor)

ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ดิน น้ำ ปุ๋ย และวัตถุอันตรายทางการเกษตร สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับผลิตผลทางการเกษตร หากเกษตรกรสามารถเลือกพื้นดินและแหล่งน้ำได้เหมาะสม ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และหากเมื่อมีศัตรูพืชมาทำลายผลผลิตจนไม่สามารถจัดการด้วยวิธีการใดๆ ได้ ก็ใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืชนั้นและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและผลผลิตสูง

จุดประสงค์การทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

การทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

  • สำหรับเกษตรกร เป็นการบริหารจัดการเพื่อเลือกใช้และใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทดสอบคุณภาพน้ำและดินก่อนการปลูก เพื่อเลือกพืชที่เหมาะสม และจัดการปรับปรุงคุณภาพดินที่เกิดจากการเสื่อมคุณภาพที่เกิดจากการปลูกพืชก่อนหน้าไป โดยการเลือกปุ๋ยที่ตรงกับการปรับสภาพฟื้นฟูดินแต่ละที่ ให้เหมาะกับพืชที่จะปลูก ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในเวลาเดียวกัน
  • สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกปุ๋ยขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบการสามารถนำใบรายงานผลการทดสอบไปขออนุญาตขอขึ้นทะเบียนปุ๋ยกับทางกรมวิชาการเกษตรได้เลย
  • สำหรับผู้ประกอบการที่จะผลิต/นำเข้าจำเป็นต้องทดสอบปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและมาตรฐาน

รายการทดสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

สามารถดูรายการทดสอบปุ๋ย ดิน น้ำ และวัตถุอันตรายทางการเกษตรได้ที่ ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025

สิ่งแวดล้อม

บริการด้านสิ่งแวดล้อม

การทดสอบด้านเคมี

เอมาร์คมีบริการทดสอบทางกายภาพ ฟิสิกส์ และเคมี ที่หลากหลาย ตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของสิ่งส่งตรวจ ดังนี้

  • วิเคราะห์น้ำตามมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำอุปโภค น้ำบริโภค น้ำแข็ง ไอน้ำในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร และน้ำเสีย เป็นต้น
  • สารตกค้าง เช่น ยาสัตว์ตกค้างในอาหาร และวัตถุอันตรายทางการเกษตรตกค้างในอาหาร และน้ำ

การทดสอบดินและน้ำ

สามารถดูรายการทดสอบดิน และน้ำได้ที่ สิ่งแวดล้อม

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง

หน่วยงานให้การรับรอง (Accreditation body) ISO/IEC 17025

หน่วยงานถ่ายโอนภารกิจ (Regulator)

การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์

มาตรวิทยาไฟฟ้า อุณหภูมิและความชื้น

บริการรับ-ส่งเครื่องมือและอุปกรณ์

มีบริการรับส่งเครื่องมือ หากลูกค้าสนใจสามารถแจ้งรับตัวอย่างได้กับเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์

วิธีการประเมินเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ Thermometer with Sensor หรือ Thermo-hygrometer

การประเมินคือให้นำค่า Correction ± Uncertainty ตัวอย่างเช่น

กำหนดให้เกณฑ์ในที่นี้คือ ±1ºC (Correction + Uncertainty) = 0.2 + 0.39 = 0.59 ºC และ (Correction – Uncertainty) = 0.2 – 0.39 = -0.19 ºC

ค่าที่ได้เมื่อรวมกันแล้วให้พิจารณาอยู่ในช่วง ± 1ºC คือ “ผ่าน” และหากผลการประเมินค่าแล้วไม่อยู่ในช่วง ±1ºC คือ “ไม่ผ่าน”

 

เครื่องมือ Thermometer with Sensor หรือ Thermo-hygrometer ประเมินแล้วไม่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ

ให้นำค่า Correction Value ไปใช้งาน โดยรวมกับค่าที่วัดได้ที่จุดนั้นๆ

จุดสอบเทียบ Thermo-hygrometer ที่ใช้วัดอุณหภูมิ/ความชื้น

ในกรณีที่ใช้วัดอุณหภูมิห้องปกติ ควรเลือกสอบเทียบอุณหภูมิ/ความชื้นอย่างละ 2-3 จุด ให้ครอบคลุมจุดที่ใช้งาน

ในกรณีที่สอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) ไม่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ

  • พิจารณาว่าเกณฑ์การยอมรับเหมาะสมหรือไม่
  • ทำการปรับตั้งค่าเครื่องมือหรือทำการ Modified

การทวนสอบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)

ควรติดตั้ง Thermometer with Sensor ที่มีค่าAccuracy ดีกว่าตู้ Chamberไว้วัดค่าที่บริเวณตรงกลางของตู้

วิธีการประเมินผลการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)

จากผลการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) ให้นำค่าผลการวัด Measured temperature (ºC) at spread location แต่ละตำแหน่ง #1,#2,#3,#4,#5,#6,#7,#8,#9 ± ด้วยค่า Uncertainty แล้วดูว่าจุดไหนมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์การยอมรับสามารถใช้งานได้ และมากกว่าเกณฑ์การยอมรับ ถือว่า “ไม่ผ่าน” และไม่สามารถใช้งานจุดนั้นได้ให้ดำเนินการแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือทราบและระงับการใช้งานในจุดที่ไม่ผ่านเกณฑ์
ตัวอย่าง Measured temperature (ºC) at spread location ± Uncertainty= น้อยกว่าเกณฑ์ถือว่าผ่าน และสามารถใช้งานได้ในจุดนั้นๆของการประเมิน
จากเกณฑ์ในที่นี้คือ 45 ±3ºC เช่น 45+3 = 48 และ 45-3 = 42 นั่นหมายความว่า Measured temperature (ºC) at spread location ต้องอยู่ในช่วง 42 ถึง 48
เช่น (location+Uncertainty) = 45.30+1.02 =46.32 ºC และ (location-Uncertainty) 45.30-1.02 = 44.28 ºC และค่าที่ได้ให้พิจารณาอยู่ในช่วง 42 ถึง 48 ถือว่า “ผ่าน” และหากผลการประเมินค่าแล้วไม่อยู่ในช่วงถือว่า “ไม่ผ่าน””

การนำของออกจากตู้ เมื่อจะทำการสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber)

ต้องนำของออกจากตู้ เนื่องจากการวางสิ่งของภายในตู้ ทำให้การไหลเวียนของอากาศไม่ทั่วถึง และสิ่งของภายในตู้มีการดูดกลืนอุณหภูมิภายในตู้ ทำให้ผลการวัดผิดพลาด

การสอบเทียบตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Chamber) เมื่อจุดที่สอบเทียบใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง

ควรปรับอุณหภูมิห้องให้ต่ำกว่าอุณหภูมิที่จะสอบเทียบ อย่างน้อย 5 ºC เช่น ต้องการสอบเทียบอุณภูมิ 30 ºC อุณหภูมห้องจะต้องปรับลงให้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 25 ºC

น้ำที่ใช้เติมระหว่างการใช้งาน Autoclave

ควรใช้ น้ำกลั่น หรือน้ำ RO (Reverse Osmosis Water) เพื่อลดคราบตะกรันที่จะเกาะติดเครื่องมือ

วิธีการเลือกแล็บสอบเทียบ

พิจารณาจากค่า CMC ของแล็บสอบเทียบ โดย CMC ควรมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์การยอมรับเป็น 1 ใน 3 (CMC คือ Calibration and Measurement Capability)

มาตรวิทยาปริมาตรและเคมี (Volumetric and Chemical Metrology)

การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรแล้ว

เบื้องต้นเครื่องแก้ววัดปริมาตรจะมีค่า Tolerance ติดอยู่บนเครื่องแก้ว การประเมินคือให้นำค่า error มารวมกับค่า Uncertainty ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่อยู่บนเครื่องแก้ว
หากบนเครื่องแก้วไม่มีค่า Tolerance ให้ไปดูที่มาตรฐาน ASTM E287-ISO385 Burette, ASTM E969 Volume pipette, ISO1042 Flask, ISO4788 Cylinder

การใช้งานของเครื่องแก้ว เมื่อไม่ผ่านตามเกณฑ์

เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์นั้น ยังคงสามารถใช้งานได้อยู่ โดยการปรับ class ของเครื่องแก้วใหม่ จาก Class A ก็เปลี่ยนไปเป็น Class B, จาก Class B ก็นำไปใช้ในงานที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงมาก

การส่งเครื่องแก้วมาสอบเทียบ

ตามข้อแนะนำทั่วไปในการตรวจประเมินด้านวิชาการสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเคมีและที่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

  • เครื่องแก้ว Class A ใช้วิธีการสุ่ม 10%
  • เครื่องแก้ว Class B สอบเทียบทุกเครื่องมือ

เครื่องมือในการทวนสอบเครื่องแก้ววัดปริมาตร (Intermediate check)

การทวนสอบ/สอบเทียบ เครื่องแก้ววัดปริมาตร ใช้เครื่องชั่งเป็น Standard หลักในการสอบเทียบ การเลือกเครื่องมือนั้น Standard นั้นค่า Accuracy ควรดีกว่า เครื่องมือที่ต้องการทวนสอบ อย่างน้อย 3 ถึง 10เท่า เช่น Flask มีค่า Tolerance ± 0.1 mL เครื่องชั่งก็ควรมี Accuracy 0.01 g หรือมีค่าอ่านละเอียด 0.01 g

การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ Piston pipette, Dispenser, Piston Burette

ในการประเมินเครื่องมือเครื่องมือทั้ง 3 ชนิดนี้จะใช้เกณฑ์มาตรฐาน ISO/IEC 8655 ในการประเมินให้ดูค่า Systematic error และ Random error เทียบกับเกณฑ์ในตาราง ISO/IEC 8655

การส่งสอบเทียบ Piston pipette, Dispenser, Piston Burette

ในมาตรฐาน ISO/IEC 8655 ระบุไว้ว่าให้สอบเทียบที่ 10%, 50% และ 100% ของ nominal Volume( nominal Volume ค่าปริมาตรสูงสุดของเครื่องมือ เช่น 10-100µl nominal Volume คือ 100µl ) หรือลูกค้าสามารถสอบเทียบที่จุดใช้งาน ของลูกค้าที่ใช้เป็นประจำได้อีกเช่นกัน

การแก้ไขเบื้องต้นหากเกิดการรั่วหลังจากใช้ Piston pipette

เครื่องมือที่ใช้ไปเป็นเวลานั้นมักจะเกิดการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน การใช้งานที่ไม่เหมาะสม การดูดสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้ O-ring เสื่อมสภาพ จะต้องมีการทำเปลี่ยน O-ring และควรทำ Preventive maintenance เครื่องมือ อย่างน้อยทุกๆ 6เดือนเพื่อเป็นการรักษาเครื่องมือและให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา

เมื่อใช้ pH meter หรือ Conductivity meter แล้วค่าที่วัดไม่นิ่ง

  • Electrode สกปรกหรือมีคราบมันติดอยู่ที่ปลายของ Probeให้ทำการล้าง Electrode ด้วยน้ำยาล้าง Electrode หรือ แช่ในน้ำอุ่นประมาณ 30 นาทีแล้วจึงทำการวัดใหม่
  • ในการวัดค่าตัวอย่างแล้ว ค่าไม่นิ่งอ่านนานกว่าปกติ ให้ทิ้งตัวอย่างที่วัดค่า ไว้ในอุณหภูมิห้องจนค่าคงที่แล้วถึงทำการวัดค่าซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากอุณหภูมิของตัวย่างมีผลต่อการวัดค่า pH meter หรือ Conductivity meter

การเปลี่ยน Electrode pH meter

ควรเปลี่ยน Electrode หากหลังจากการทวนสอบหรือสอบเทียบ pH meterแล้ว ค่า %Slope ต่ำกว่า 95% หรือ สูงเกิน 105% หรือ วัดค่าได้ไม่ตรงกับค่า Buffer Standard ตาม Spec ของผู้ผลิต

การประเมินเกณฑ์เครื่องมือเมื่อได้รับใบ Certificate จากสอบเทียบ pH meter

ให้ดูเอกสาร Reference Standard ของวิธีทดสอบของลูกค้าว่ามีระบุไว้หรือไม่ ถ้าไม่มี จะมีมาตรฐานอยู่ตัวหนึ่งที่ให้ในการทดสอบทางงานยา คือเอกสาร USP จะระบุไว้ว่าหลังการทวนสอบ/สอบเทียบแล้ว จะต้องอ่านค่าได้ไม่เกินค่า ±0.05 pH และ %slope 90-105 (2018 USPC Official 5/1/17 – 7/31/17 General Chapters: <791> pH)

มาตรวิทยาเชิงกล (Mechanical Metrology)

ความถี่ในการสอบเทียบเครื่องชั่ง

ปกติเครื่องชั่งจะต้องสอบเทียบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้ทราบถึงค่าความถูกต้องแม่นยำรวมถึงการปรับตั้งเครื่องชั่งใหม่ หากเครื่องมีค่าความผิดพลาด

การเลือกสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการติดตั้งเครื่องชั่ง

  1. โต๊ะหรือพื้นสำหรับวางเครื่องชั่ง โต๊ะหรือพื้นสำหรับเครื่องวางเครื่องชั่งจะต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ยุบตัว ไม่สั่นสะเทือน ไม่มีความเป็นแม่เหล็ก เช่น แผ่นหินอ่อนหรือหินแกรนิตทีมีความหนาไม่น้อยกว่า 40 มิลลิเมตร ไม่ควรทำด้วยแผ่นไม้ที่มีโอกาสแอ่นตัวหรือแผ่นเหล็ก เนื่องจากเครื่องชั่งบางชนิดอาจถูกรบกวนจากความเป็นแม่เหล็กของส่วนประกอบที่เป็นเหล็กได้
  2. ห้องเครื่องชั่ง
    ห้องเครื่องชั่งควรอยู่ในบริเวณที่ปราศจากการสั่นสะเทือนซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆเช่นการทำงานของเครื่องจักร หรือการจราจร พื้นห้องไม่ควรทำด้วยไม้แต่ควรเป็นพื้นคอนกรีตมีพื้นและผนังเรียบไม่ควรปูพรมหรือติดม่านเพื่อลดบริเวณที่ จะเกิดฝุ่นสะสม และสะดวกต่อการทำความสะอาด
    · ควรมีประตูเข้า – ออกเพียงด้านเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสลมและฝุ่น
    · ควรมีส่วนที่เป็นหน้าต่างน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด และความร้อนจากภายนอก
    · หากเป็นห้องที่มีระบบปรับอากาศ จะต้องปรับทิศทางของกระแสลมจากระบบปรับอากาศให้ไม่ผ่านตรง ไปยังเครื่องชั่ง
    · แสงสว่าง ตำแหน่งที่วางเครื่องชั่งควรจะเป็นตำแหน่งที่ไม่รับแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เครื่องชั่งร้อนและชั่งน้ำหนักผิดพลาดได้ การจัดแสงสว่างภายในจะต้องติดตั้งหลอดไฟฟ้าให้ห่างจากเครื่องชั่งพอสมควร เพื่อลดผลกระทบของความร้อน จากหลอดไฟฟ้า
  3. อุณหภูมิ
    อุณหภูมิภายในห้องเครื่องชั่งควรจะมีค่าคงที่ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาใช้งาน จะทำให้เครื่องชั่งแสดงค่าผิดพลาดได้ถึง 1-2 ส่วนในล้านส่วนต่อองศาเซลเซียส
  4. ความชื้น
    ความชื้นภายในห้องเครื่องชั่งที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 45% ถึง 60% ขณะใช้งานเครื่องชั่งความชื้น จะต้องไม่มีการแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะส่งผลกระทบกับผลของการชั่งได้กับเครื่องชังที่มีค่าความถูกต้องสูงๆ
  5. อากาศ
    กระแสลมบริเวณรอบๆ เครื่องชั่งเป็นสิ่งที่รบกวนการทำงานของเครื่องชั่ง ดังนั้นไม่ควรวางเครื่องชั่งใกล้กับบริเวณเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องมือที่มีพัดลม
  6. สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
    สำหรับบริเวณที่วางเครื่องชั่งอิเลคทรอนิกส์ ควรตรวจสอบการรบกวนและความผิดพลาดของเครื่องชั่ง ที่อาจเกิดจากสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้เครื่องควรคำนึงถึงสัญญาณรบกวนที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องมือต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงดังนี้ ตู้อบที่ใช้ระบบการเหนี่ยวนำไฟฟ้า การเปิดสวิทซ์เครื่องจักร เตาอบ เตาเผา หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ให้ความร้อน อาจทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้ารบกวนไปตามสายไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุสื่อสารชนิดต่างๆ อาจทำให้เกิดสัญญาณรบกวนซึ่งสามารถเปลี่ยนตัวเลขแสดงค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งได้

การกำหนดเกณฑ์การยอมรับตุ้มน้ำหนัก

ในการกำหนดเกณฑ์การยอมรับของตุ้มน้ำหนักจะอ้างอิงมาตรฐานระหว่างประเทศ OIML R111-1

เอกสารอ้างอิงที่ใช้สำหรับการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

ในการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักเอกสารอ้างอิงที่ใช้จะอ้างอิงมาตรฐานระหว่างประเทศ OIML R111-1

วิธีการใช้งานและดูแลบำรุงรักษาตุ้มน้ำหนัก

  • เก็บตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไว้ในกล่องหรือภาชนะที่ทำด้วยไม้หรือพลาสติก ซึ่งจัดไว้เพื่อป้องกันตุ้มน้ำหนักมาตรฐานจากฝุ่นและความชื้น และหลีกเลี่ยงการเก็บตุ้มน้ำหนักมาตรฐานในบริเวณที่มีความเข้มสนามแม่เหล็กสูง
  • ควรดูแลตุ้มน้ำหนักมาตรฐานให้สะอาดอยู่เสมอ จะต้องไม่จับตุ้มน้ำหนักมาตรฐานด้วยมือเปล่า แต่ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับหยิบยก ถุงมือ หรือปากคีมจับตุ้มน้ำหนักโดยให้ส่วนที่สัมผัสตุ้มน้ำหนักทำหรือหุ้มด้วยวัสดุที่ไม่ขูดขีดตุ้มน้ำหนัก เช่น พลาสติก หนังและผ้าฝ้าย
  • ต้องระวังไม่ให้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานตกหรือหล่น
  • พื้นสำหรับวางตุ้มน้ำหนักมาตรฐานจะต้องสะอาด เรียบหรือนุ่ม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตุ้มน้ำหนักเปื้อนหรือเกิดรอยขีดข่วน
  • เพื่อไม่ให้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานเกิดการสึกหรอระหว่างการใช้งานในการเลื่อนตำแหน่งของตุ้มน้ำหนักบนจานควรใช้ วิธียกขึ้นแล้ววางลง ณ ตำแหน่งที่ต้องการไม่ควรใช้วิธีเลื่อน

เครื่องมือแพทย์

การบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์

เครื่องมือแพทย์และเครื่องมืออื่นๆ ควรได้รับการตรวจเช็คตามระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเครื่องมือทั่วไปควรได้รับการตรวจเช็คอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้งโดยการบำรุงรักษาจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน

มาตรฐานเครื่องมือแพทย์

การตรวจเช็คทั่วไปจะเป็นการตรวจเช็คภายนอกด้วยสายตา (Visual Check) ใช้การฟังเสียงแจ้งเตือน การแสดงบนหน้าจอว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง จากนั้นจะทำการทดสอบวัดค่าในช่วงค่าต่ำ ค่ากลาง และค่าสูง เพื่อยืนยันผลการวัดว่าอยู่ในเกณฑ์ และมีการออกใบรายงานผลการทดสอบ และมาตรฐานที่นำมาใช้คือ ECRI (Emergency Care Research Institute)

การตรวจเช็คเครื่องมือที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน

เครื่องมือแม้จะมีการใช้งานที่น้อยกว่าเครื่องมืออื่นๆ ก็ควรจะได้รับการบำรุงรักษาและทดสอบค่าอย่างสม่ำเสมอ

ความถี่ในการตรวจเช็คเครื่องมือ

กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงสูงจำได้รับการตรวจเช็คและบำรุงรักษาที่ถี่กว่ากลุ่มความเสี่ยงอื่นๆ เครื่องมือจะแบ่งประเภทตามความเสี่ยง ดังนี้

  • กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงสูง
  • กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงปานกลาง
  • กลุ่มเครื่องมือความเสี่ยงต่ำ

เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการทดสอบหรือบำรุงรักษา

ทางทีมทดสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์จะติดสติกเกอรที่บอกสถานะว่าได้ทำการทดสอบและบำรุงรักษาวันที่เท่าไหร่และครั้งต่อไปวันที่เท่าไหร เลขรหัสเครื่องมืออะไร และเลขใบรายงานผล ข้อมูลทั้งหมดจะเขียนบนสติกเกอร์เพื่อให้ลูกค้าได้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

เครื่องมือเสียหรือชำรุด

เบื้องต้นควรแจ้งทางทีมช่างเครื่องมือแพทย์ให้มาดูอาการของเครื่องมือ หากเครื่องมือแก้ไขไม่ได้ อาจจะต้องหยุดการใช้งานเครื่องและอาจจะหาเครื่องมือมาทดแทน

เครื่องมือวัดค่าไม่ตรง

เครื่องบางยี่ห้อต้องใช้ Accessories ยี่ห้อเดียวกันเท่านั้นถึงจะวัดค่าได้แม่น

เครื่องมือแพทย์ที่เอมาร์คได้การรับรองมาตรฐาน

มีเครื่องมือที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ด้านการทดสอบคือเครื่องวัดความดันโลหิตเชิงกล (Sphygmomanometer Mechanical) และเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Sphygmomanometer Automated)

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการสอบเทียบ

การตรวจและการรับรอง

บริการตรวจรับรอง

บริการของหน่วยตรวจและรับรอง

สามารถดูบริการของหน่วยตรวจและรับรองได้ที่ การตรวจและการรับรอง

ประโยชน์จากการได้รับการรับรอง

สร้างความน่าเชื่อถือ ใช้ประโยชน์ในการส่งออก เพิ่มมูลค่าสินค้าในการขายเข้า Modern trade

ระยะเวลาในการตรวจประเมิน

1-2 วัน แล้วแต่ขนาดพื้นที่ของผู้ยื่นคำขอ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นกรณีไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหลักได้ภายในเวลาที่กำหนด

หากไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องหลัก (NC) ได้ภายในเวลาที่กำหนด จะไม่ได้รับใบรับรอง และต้องทำการตรวจประเมินใหม่

ระยะเวลาการออกใบรับรองหลังจากการตรวจประเมิน

45 วันทำการ

อายุใบรับรอง

  • GAP, GMP, GHPs และ HACCP มีอายุ 3 ปี
  • Organic มีอายุใบรับรองระยะปรับเปลี่ยน 1 ปี สำหรับการตรวจประเมินครั้ง และจะมีอายุใบรับรอง Organic 1 ปี

การตรวจติดตาม (Surveillance Audit)

หลังจากได้รับการรับรอง จะมีการตรวจติดตามอย่างน้อยปีละหนึ่งตลอดระยะเวลาของใบรับรอง หากไม่ยินยอมให้เข้าตรวจติดตาม จะไม่สามารถใช้ใบรับรองต่อได้ เนื่องจากไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรอง

การต่ออายุการรับรอง

สามารถยื่นเอกสารก่อนใบรับรองหมดอายุ 180 วัน

ขอบข่ายที่ได้รับการรับรองด้านการตรวจรับรอง

พืชและพืชอินทรีย์

  • GAP
    • มกษ. 4400-2552 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย
    • มกษ. 4401-2551 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว
    • มกษ. 4402-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง
    • มกษ. 5901-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง
    • มกษ. 5902-2553 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน
    • มกษ. 9001-2556 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร
    • มกษ. 3502-2561 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร
  • ORG
    • มกษ. 9000 เล่ม 1-2552: มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
    • มกษ. 9000 เล่ม 4-2553: มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ เล่ม 4 : ข้าวอินทรีย์

สัตว์น้ำ

    • มกษ. 7401-2562 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
    • มกษ. 7417-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
    • มกษ. 7421-2561 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด
    • มกษ. 7422-2561 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
    • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ.2553 กรมประมง (กุ้งทะเล และสัตว์น้ำจืด)
    • มกษ. 7429-2559 : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล
    • มกษ. 7436-2563 : การปฎิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค

ความปลอดภัยอาหาร

    • มกษ. 9023-2550 : หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร
    • มกษ. 9024-2550 : ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้
    • มกษ. 1004-2557 : หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
    • มกษ. 4403-2553 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว
    • มกษ. 6401-2558 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ
    • มกษ. 7420-2552 : การปฏิบัติที่ดีด้านสุขลักษณะสำหรับการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น
    • มกษ. 9035-2553 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด
    • มกษ. 9039-2556 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตผักและผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค
    • มกษ. 9041-2557 : หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรแช่เยือกแข็ง
    • มกษ. 9046-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง
    • มกษ. 9047-2560 : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด
    • The General Principles of Food Hygiene : Good Hygiene Practices (GHPs) and the Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1-1969), Revised in 2020

สิ่งแวดล้อม

  • Carbon Footprint
    • อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
    • การเกษตร ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
    • กิจกรรมการบริการทั่วไป (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
    • มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว
    • กิจกรรมดำน้ำ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
    • สถานพักตากอากาศ (รีสอร์ท) ระดับ 1-4 ดาว (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม

ระบบการบริหารคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการ

การปรับปรุงระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Process Improvement: CPI) สำหรับห้องปฏิบัติการ

ห้องปฎิบัติการจำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนา แล้วกำหนดเป็นแผนปรับปรุง ห้องปฏิบัติการสามารถปรับปรุงประสิทธิผลของระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ผลการตรวจติดตามคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติการแก้ไข การปฏิบัติการป้องกัน และการทบทวนการบริหาร

จุดประสงค์การขอการรับรอง ISO/IEC 17025

เพื่อเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าระบบการบริหารงานของห้องปฏิบัติการความน่าเชื่อถือเป็นไปตามสากล และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิชาการ

การตรวจติดตามคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

เอมาร์คให้บริการตรวจติดตามคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025:2017 ครอบคลุมทั้งด้านจุลชีววิทยาและเคมี

การควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพผลการทดสอบตาม ISO/IEC 17025

  • Internal quality control เช่น Sample blank, QC Sample, Internal control
  • External quality control เช่น เข้าร่วมกิจกรรม Interlab comparison และ PT Provider

การให้บริการด้านการอบรม

บริการฝึกอบรมด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ หรือวิชาการที่เกี่ยวข้อง

  • ISO/IEC 17025:2017
  • การจัดทำเอกสารตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025:2017
  • Method of Validation
  • Uncertainty of Measurement
  • การตรวจติดตามคุณภาพภายใน
  • การควบคุมคุณภาพของการทดสอบ
  • การจัดการเครื่องมือตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017
  • การตีความรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การฝึกอบรมกระบวนการทดสอบความปลอดภัยอาหาร

ให้บริการการฝึกอบรมกระบวนการทดสอบความปลอดภัยอาหาร โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอก

สินค้าของเรา

ทั่วไป

ผู้ผลิตชุดทดสอบ

ออกแบบและผลิตโดย EnviroTestKits® ภายใต้บริษัท Environmental Laboratories, Inc. ซึ่งเป็นหนึ่งในห้องแล็บทดสอบน้ำมาตรฐาน EPA ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ที่ 635 Green Road, Madison, IN 47250 US

วันหมดอายุของชุดทดสอบ

สามารถดูวันหมดอายุได้ที่ใต้กล่องผลิตภัณฑ์

ต้องการตรวจคุณภาพน้ำในพารามิเตอร์ที่มากกว่า หรือละเอียดกว่าที่ชุดทดสอบมีให้

สามารถส่งตัวอย่างน้ำมาเพื่อการทดสอบวิเคราะห์โดยละเอียดที่ห้องแล็บน้ำของ AMARC โดยมีรายการทดสอบตาม link ต่อไปนี้ หรือ ติดต่อ AMARC Contact Center นอกจากนี้ AMARC ยังมีบริการเก็บตัวอย่างน้ำถึงที่

การเก็บรักษาชุดทดสอบ

เมื่อไม่ใช้งาน เก็บชุดทดสอบให้มิดชิดในบรรจุภัณฑ์ เก็บในที่แห้ง ห่างจากความร้อนและแสงอาทิตย์ อุณหภูมิ 15 °C– 25 °C
และห้ามเปิดซองหรือหลอดทดสอบจนกว่าจะใช้งาน

หากสัมผัสกับสารที่ใช้ทดสอบ

หากท่านสัมผัสกับสารที่ใช้ทดสอบต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีและเกิดอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์

เหตุผลที่ผลทดสอบที่ไม่สามารถสรุปได้

ในบางกรณี เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่น การรบกวน ที่ไม่อาจควบคุมได้ อาจทำให้ผลทดสอบมีความเบี่ยงเบน หรือไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ชุดทดสอบด้วยตนเอง ไม่ว่าจะรูปแบบใด ต่างมีข้อจำกัดจากคุณสมบัติแฝงด้านกายภาพและ/หรือเคมีบางอย่างที่อาจอยู่ในแหล่งน้ำ ซึ่งอาจทำให้ผลทำทดสอบมีความไม่ชัดเจนหรือผิดพลาดได้ หากแผ่นทดสอบเกิดสีที่ไม่มีอยู่บนตารางสีหรือไม่เกิดสีขึ้น การรบกวนโดยพื้นฐานจากแหล่งน้ำ เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น
ไม่แนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมด้วยชุดทดสอบด้วยตนเองซ้ำหากเกิดผลที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เพราะคาดการณ์ว่าการรบกวนโดยพื้นฐานเดิมน่าจะยังอยู่ในแหล่งน้ำ และทำให้ผลทดสอบออกมาเป็นไม่สามารถหาข้อสรุปได้เช่นเดิม
เราเข้าใจว่าการได้รับผลทดสอบที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เป็นสิ่งที่ไม่คาดหวัง และน่าผิดหวัง เราอยากให้ท่านได้รับผลทดสอบที่เป็นประโยชน์ต่อท่าน หากท่านต้องการการทดสอบเพิ่มเติมที่ให้ผลลัพธ์เชิงปริมาณในแต่ละรายการทดสอบ สามารถส่งน้ำให้ห้องแล็บที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ดำเนินการได้ AMARC สามารถให้บริการทดสอบในห้องแล็บที่หลากหลาย ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.amarc.co.th หรือติดต่อเราได้ที่ 02-516-2422 หรือ Line ID: @AMARC

มาตรฐาน

มาตรฐานในไทยที่ใช้อ้างอิงในคู่มือของชุดทดสอบ Safe Home® City Water

ใช้ค่ามาตรฐานสำหรับน้ำดื่ม อ้างอิงตามประกาศ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563 ในรายการทดสอบที่มีการกำหนดค่าแบบเดียวกัน https://foodsan.anamai.moph.go.th/web-upload/13x34cba8a8c311038000343e8ab441d5ff/202105/m_news/33505/204437/file_download/fc7421effd6c78f605d6a19528701e8d.pdf

มาตรฐานในไทยที่ใช้อ้างอิงในคู่มือของชุดทดสอบ Safe Home® Well Water

ใช้ค่ามาตรฐานสำหรับน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภคได้ในประเทศไทย อ้างอิงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสําหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2551 ในรายการทดสอบที่มีการกำหนดค่าแบบเดียวกัน
https://web.mwa.co.th/ewt_dl_link.php?nid=33080

มาตรฐานในไทยที่ใช้อ้างอิงในคู่มือของชุดทดสอบแบคทีเรียด้วยตนเอง Safe Home® Bacteria

ใช้ค่ามาตรฐานสำหรับน้ำดื่ม อ้างอิงตามประกาศ กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563 ในรายการทดสอบที่มีการกำหนดค่าแบบเดียวกัน
https://foodsan.anamai.moph.go.th/web-upload/13x34cba8a8c311038000343e8ab441d5ff/202105/m_news/33505/204437/file_download/fc7421effd6c78f605d6a19528701e8d.pdf